svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

รู้จัก “กีรติ กิจมานะวัฒน์” ว่าที่กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ใหม่ป้ายแดง

19 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทำความรู้จัก “กีรติ กิจมานะวัฒน์” ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. คนใหม่ หลังมีมติไฟเขียว มาพร้อมคะแนนสูงลิ่ว มีผลเป็นทางการเดือนเมษายน 2566 นี้

ในที่สุดคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายกีรติ  กิจมานะวัฒน์ นั่งตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท .คนใหม่ แทน นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ที่ครบวาระในเดือนเมษายน 2566

ชวนคอข่าว เนชั่นออนไลน์ เนชั่นทีวี มาร่วมแสดงความยินดีและทำความรู้จัก เปิดประวัติ “กีรติ กิจมานะวัฒน์” ก่อนที่จะได้รับคัดเลือกนั่งตำแหน่งผู้อำนวยการ ทอท. “กรีติ” นั่งเก้าอี้รองกรรมการผู้อำนวจการใหญ่ คุมสายงานด้านวิศวกรรม 

“กรีติ กิจมานะวัฒน์” ขึ้นนั่งตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่ เมษายนนี้

เปิดประวัติ “กรีติ กิจมานะวัฒน์” บอร์ดไฟเขียวนั่งตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่ มีผลเป็นทางการในช่วงเดือนเมษายน 2566 

ประวัติส่วนตัว 
“กรีติ” เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2521

ประวัติการศึกษา

จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์เกียรตินิยม เหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ปริญญาโท และ ปริญญาเอก เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น  จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

“กรีติ กิจมานะวัฒน์” บอร์ดไฟเขียวนั่งตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่

ประสบการณ์ทำงาน

"นายกีรติ" เคยนั่งที่ปรึกษา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในหลายโครงการเมกะโปรเจ็กต์สำคัญๆ ไล่เลียงตั้งแต่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม. ,สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร  หรือ สนข. ในหลายโครงการ เช่น โครงการตั๋วร่วม, โครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาค, โครงการสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย, โครงการต่อสัญญาทางด่วน, โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว ,โครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต,โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองบุรีรัมย์ เป็นต้น ก่อนจะมานั่งเก้าอี้รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท.ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2563

“กรีติ กิจมานะวัฒน์” บอร์ดไฟเขียวนั่งตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่
จนล่า สุดบอร์ด ทอท.ไฟเขียวตลอดเส้นทาง แต่งตั้งให้ "กีรติ กิจมานะวัฒน์ " นั่งตำแหน่ง นั่งตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท .คนใหม่ แทน นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ที่ครบวาระในเดือนเมษายน 2566

รายงานข่าวจาก ทอท.ระบุว่าสำหรับผลการสรรหาสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ พบว่ารายชื่อที่เรียงจากคะแนนจากมากไปน้อย มีดังนี้ 

1.นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ คะแนนรวม 95 คะแนน

2.นางฉฎาณิศา ชำนาญเวช คะแนนรวม 91 คะแนน

3.นายวิทยา พันธุ์มงคล คะแนนรวมต่ำกว่า 90 คะแนน

4.นายพรประสิทธิ์ เด่นโมฬี คะแนนรวมต่ำกว่า 90 คะแนน

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กำลังจะมีเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหลังจากมีการเห็นชอบผู้มาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่ โดยที่ผ่านมา ทอท.หรือ AOT เคยมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่อันดับ 1 และปัจุบันขยับลงมาอยู่อันดับ 2 ที่ 1.04 ล้านล้านบาท (ณ วันที่ 17 ม.ค. 2566) รองจาก บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ขณะที่ผลดำเนินงานของ ทอท.ในช่วง 9 เดือน ปี 2565 บริษัทมีขาดทุนสุทธิ 11,087 ล้านบาท และมีรายได้ 16,992.50 ล้านบาท

รายงานข่าวจาก ทอท. ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท.ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท.ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ แทนนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. คนปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 24 เม.ย. 2566

โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะส่งรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพร้อมประวัติและคุณสมบัติให้คณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทนของผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ดำเนินการพิจารณากำหนดผลตอบแทน สิทธิประโยชน์ ร่างสัญญาจ้าง และเจรจาต่อรองผลตอบแทนกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก และเสนอผลการเจรจา พร้อมร่างสัญญาจ้างต่อคณะกรรมการ ทอท. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในเดือน ก.พ. 2566

โจทย์ใหญ่พัฒนาสุวรรณภูมิ

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยในฐานะประธานคณะกรรมการ ทอท.ว่า นโยบายสำคัญที่บอร์ด ทอท.จะมอบหมายให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่เข้ามาเร่งรัดดำเนินการ คือแผนการรองรับปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารที่จะเข้ามาอย่างเต็มพิกัด โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศ ภายหลังจากจีนได้ประกาศนโยบายเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ จึงเชื่อว่าหลังจากนี้จะเป็นช่วงของการฟื้นตัวทั้งในด้านปริมาณผู้โดยสาร และการดำเนินงานของ ทอท.

ส่วนการบริหารงานทั่วไป ต้องยอมรับว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาภายใต้การบริหารงานของนายนิตินัยได้ผ่านช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุด และเผชิญวิกฤติในช่วงขาลงที่สุดจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิดข19 ระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา แต่งานทุกอย่างก็ยังเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้นผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่ ก็ควรต้องกำกับการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่ตั้งไว้ และทำให้ ทอท.กลับมามีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง

รองรับผู้โดยสารเพิ่ม 60 ล้านคน

นอกจากนี้ แผนการลงทุนเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานภายใต้การกำกับดูแลของ ทอท.ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่ต้องเร่งรัด โดยเฉพาะแผนท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 และแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีส่วนประกอบงานก่อสร้าง 3 โครงการใหญ่ประกอบไปด้วย

1.อาคารส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออก (East Expansion) รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคนต่อปี งบประมาณลงทุน 7,830 ล้านบาท เพิ่มพื้นที่ 66,000 ตารางเมตร

2.อาคารส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันตก (West Expansion) รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคนต่อปี งบประมาณลงทุน 7,830 ล้านบาทเพิ่มพื้นที่ 66,000 ตารางเมตร

ทั้งนี้ เมื่อรวมส่วนต่อขยาย East Expansion และ West Expansion จะมีพื้นที่รวม 132,000 ตารางเมตร รวมทั้งมีช่องตรวจ ตม. (ขาเข้า/ขาออก) 40/34 เลน , สายพานรับกระเป๋า 12 สายพาน

3.โครงการส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) รองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคนต่อปี และขยายได้ถึง 40 ล้านคนต่อปี งบประมาณลงทุน 41,260 ล้านบาท การพัฒนาโครงการนี้จะครอบคลุมพื้นที่อาคาร 348,000 ตารางเมตร , ถนน Curbside ความยาว 1,710 เมตร , ช่องตรวจ ตม. (ขาเข้า/ขาออก) 82/66 เลน , สายพานรับกระเป๋า 17 สายพาน , อาคารจอดรถ 3,000 คัน , Contact Gate 14 Gate และ Entertainment and Retail Complex (Mixed-use)

เร่งโอนย้าย 3 สนามบิน

นอกจากนี้ ต้องเร่งดำเนินงานในส่วนของงานรับโอนบริหาร 3 ท่าอากาศยานภูมิภาคจากกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ประกอบด้วย ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ขอความเห็นเพิ่มเติม คาดว่า ทอท.น่าจะสามารถสรุปส่งกลับ ครม.ได้ภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้ ดังนั้นบทบาทสำคัญของผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.คนใหม่ จะต้องวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานเหล่านี้ และจัดทำแผนหารายได้จากการรับโอนบริหารท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ ทอท.กำหนดวงเงินลงทุนการพัฒนา 3 สนามบินที่จะรับโอนวงเงิน 9,199-10,471 ล้านบาท โดยกรณีสนามบินพังงาเปิดบริการปี 2574 จะใช้วงเงินลงทุน 9,199 ล้านบาท และกรณีสนามบินพังงาไม่เปิดบริการ จะใช้วงเงินลงทุน10,471 ล้านบาท แบ่งได้ดังนี้

1.สนามบินอุดรธานี วงเงินลงทุน 3,523 ล้านบาท

2.สนามบินบุรีรัมย์ วงเงินลงทุน 460 ล้านบาท

3.สนามบินกระบี่ กรณีสนามบินพังงาเปิดบริการปี 2574 จะใช้วงเงินลงทุน 5,216 ล้านบาท และกรณีสนามบินพังงาไม่เปิดบริการ จะใช้วงเงินลงทุน 6,487 ล้านบาท

เสียงค้านพัฒนาสุวรรณภูมิ

รายงานข่าวจากสื่อดัง กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า การผลักดันโครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ และการรับโอน 3 สนามบิน ได้มีเสียงคัดค้านจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดย

มีการคัดค้านจากข้าราชการกรมท่าอากาศยานหลายฝ่ายที่ตั้งคำถามว่าเมื่อกรมท่าอากาศยานบริหารสนามบินกระบี่มีกำไรแล้วมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องโอนให้ ทอท. ซึ่งสนามบินกระบี่สร้างรายได้หลักให้กรมท่าอากาศยานมาก โดยก่อนมีโควิด-19 มีผลดำเนินงานปี 2562 สร้างกำไรสูงเป็นอันดับ 1 ราว 374.66 ล้านบาท

ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิได้รับเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเห็นว่าควรพัฒนาส่วนต่อขยาย East Expansion และ West Expansion ก่อนที่จะพัฒนาโครงการ North Expansion


ขอขอบคุณที่มา: ฐานเศรษฐกิจ / กรุงเทพธุรกิจ

logoline