svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ทำความรู้จัก "รถไฟEV" คันแรกของไทย เล็งเปิดใช้ระยะใกล้ ในขบวนชานเมือง

11 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงคมนาคม ร่วมกับ การรถไฟฯ-สลจ.-อีเอ ทอสอบความพร้อมใช้งาน รถไฟระบบ EV ต้นแบบคันแรกของไทย โดยเล็งนำมาใช้ในเส้นทางระยะใกล้ 30-50 กิโลเมตร ในขบวนชานเมือง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท พลังงานบริสุทธ์ จำกัด (มหาชน) หรืออีเอทำการทดสอบการใช้งานรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในการพัฒนา รถไฟระบบ EV on Train ในการลากจูงขบวนรถโดยสาร ขึ้นมาบนสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

โดยในระยะแรกการรถไฟฯ จะนำรถจักรดังกล่าวมาใช้ลากเป็นบริการรถสับเปลี่ยน (Shunting) ณ สถานีกลางบางซื่อ เพื่อลดมลพิษในอาคารสถานีชั้นที่ 2 จากขบวนรถโดยสารทางไกล ที่ยังเป็นรถไฟดีเซล ซึ่งจากผลการทดสอบ ของ รฟท. สามารถลากขบวนรถจากย่านสถานีกลางบางซื่อ ไปที่ชานชาลาสถานีที่ชั้น 2 ได้จำนวน 12 เที่ยว ต่อการชาร์จ  1 ครั้ง ระยะเวลาการชาร์จจนแบตเตอรี่เต็มประมาณ  1 ชั่วโมง 

ทำความรู้จัก "รถไฟEV" คันแรกของไทย เล็งเปิดใช้ระยะใกล้ ในขบวนชานเมือง

จากนั้นในระยะต่อไป จะทดลองวิ่งในระยะทางใกล้ เช่น ขบวนรถโดยสารชานเมือง ระยะทางประมาณ 30 – 50 กิโลเมตร และระยะทางที่ไกลมากขึ้น เช่น ขบวนรถข้ามจังหวัด ระยะทางประมาณ 100 - 200 กิโลเมตร และขบวนรถขนส่งสินค้า จาก ICD ลาดกระบัง ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น

ทำความรู้จัก "รถไฟEV" คันแรกของไทย เล็งเปิดใช้ระยะใกล้ ในขบวนชานเมือง

สำหรับจุดชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า ได้ดำเนินการติดตั้งที่บริเวณย่านบางซื่อ และ ในอนาคตมีแผนจะติดตั้งจุดชาร์จแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าที่สถานีอื่นๆ เพิ่มเพื่อชาร์จไฟตามแนวเส้นทางรถไฟต่อไป รองรับการใช้หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ที่จะพ่วงไปกับขบวนรถโดยสาร

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้ทำการทดสอบลากจูงขบวนรถในระยะใกล้ เส้นทาง วิหารแดง - องครักษ์ (ไป-กลับ) ระยะทาง 100 กิโลเมตรมาแล้ว นอกจากนี้ยังได้ทดสอบวิ่งรถจักร Battery ตัวเปล่าคันเดียว รวมทั้งการลากขบวนรถโดยสารขึ้น และ ลงสถานีกลางกลางบางซื้อ โดยใช้ความเร็วตลอดการทดสอบเฉลี่ย 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี

สำหรับจุดเด่นของรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ดังกล่าว ได้ถูกออกแบบ และ ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และในอนาคตจะใช้งานด้วยนวัตกรรมระบบชาร์จ Ultra Fast Charge ในเวลา 1 ชั่วโมง  ในระยะแรก และ Battery Swapping Station เพื่อการสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในเวลาไม่เกิน 10 นาที

ลดเวลาการรอชาร์จ และ นำมาขยายผลใช้งานในระบบขนส่งจริง ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการรถไฟฯ ในการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการทดสอบรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ EV on Train นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศไทย

ทำความรู้จัก "รถไฟEV" คันแรกของไทย เล็งเปิดใช้ระยะใกล้ ในขบวนชานเมือง
ทั้งนี้รถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ดังกล่าว เป็นไปตามมาตรการส่งเสริมให้มีการใช้งานยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (อีวี) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 20-25% ภายในปี 2573 รวมถึงผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลให้การส่งเสริม เพื่อให้สอดรับการกับเปลี่ยนแปลงทั้งทางการแข่งขันทางการค้าและการรักษาสิ่งแวดล้อม

ทำความรู้จัก "รถไฟEV" คันแรกของไทย เล็งเปิดใช้ระยะใกล้ ในขบวนชานเมือง

logoline