svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กฟผ.เลื่อนคืนหนี้ อุ้มภาคธุรกิจ"ขึ้นค่าไฟ" เพียง 5.33 บาทต่อหน่วย

29 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บอร์ดกกพ. เคาะค่าเอฟที งวดเดือน ม.ค.-เม.ย.66 สำหรับภาคธุรกิจลดลงจากอัตราเดิมอีก 35.52 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย จากที่ต้องจ่าย 5.69 บาทต่อหน่วย  มาอยู่ที่ 5.33 บาทต่อหน่วย หลังกฟผ.ยอมเลื่อนคืนหนี้

รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงานแจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ( กกพ.) มีมติทบทวนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 ประเภทอื่น ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ  และโรงแรม เป็นต้น

ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน ที่เดิมจะต้องปรับไปอยู่ 190.44 สตางค์ (สต.) ต่อหน่วย หรือจ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 5.69 บาทต่อหน่วย

โดยบอร์ดกกพ.ได้ทบทวนค่าเอฟทีใหม่เหลือ 154.92 ต่อหน่วย หรือลดลง 35.52 สต.ต่อหน่วย ทำให้เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานแล้วค่าไฟฟ้าเฉลี่ยกลุ่มดังกล่าว จึงลดลงเหลือ ประมาณ 5.33 บาทต่อหน่วย

สำหรับสาเหตุที่บอร์ด กกพ.มีมติลดค่าไฟฟ้าดังกล่าวได้ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) ยอมเลื่อนการคืนหนี้ ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่จ่ายล่วงหน้าให้ประชาชนไปก่อนหน้ารวม 160,000 ล้านบาท

จากเดิมขอให้ชำระหนี้ภายใน 2 ปีก็ขอให้พิจารณาเลื่อนเป็น 3 ปี ทำให้ต้นทุนส่วนนี้ลดลงจากงวดนี้ (ม.ค.-เม.ย. 2566)รวม 33 สต.ต่อหน่วย เหลือ 22 สต.ต่อหน่วย

ขณะเดียวกันได้ปรับสูตรคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ จากทิศทางเงินบาทแข็งค่า ทำให้ช่วยลดอัตราคำนวณจาก 37 บาทเหลือ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติเหลือ 466 บาทต่อล้านบีทียู จากอัตราเดิมอยู่ที่ 506 บาทต่อล้านบีทียู

อีกส่วนหนึ่งมาจากการนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย แบ่งมาใช้คำนวณในระบบแก่กลุ่มนี้ได้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ มีการนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ไปคำนวณเฉพาะการใช้ผลิตไฟฟ้าให้กับกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยเท่านั้น

ส่วนค่าไฟฟ้ากลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยยังคงเดิมที่ 93.43 สต.ต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานแล้วค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับเท่าเดิมที่อัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย
 

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกพ. มีติเห็นชอบปรับลดค่าไฟให้ผู้ใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเหลือต้องจ่าย  5.33 บาทต่อหน่วย  จากเดิมที่ต้องจ่าย 5.69 บาทต่อหน่วย 

ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติผันแปร หรือค่าเอฟที (FT) เหลือ 154.02 สตางค์ต่อหน่วยจากเดิมที่ต้องจ่ายค่าเอฟที 190.44 สตางค์ต่อหน่วย

ขณะที่ กฟผ. ได้ดำเนินการคำนวณกรณีศึกษาเพิ่มเติม โดยจัดสรรก๊าซอ่าวไทยเพื่อการผลิตไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ราคา 237 บาทต่อล้านบีทียู ในปริมาณที่ไม่เพิ่มภาระอัตราค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน (รวมการทยอยคืนค่า AF ให้กับ กฟผ. 22.22 สตางค์ต่อหน่วย)

ตามมติ กพช. ในสัดส่วนประมาณ 28.16% จากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด หรือประมาณ 64,980 ล้านบีทียู ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2566 ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้ใช้ก๊าซรายอื่นเพิ่มขึ้นเป็น 496 บาทต่อล้านบีทียู

จากการปรับเปลี่ยนสมมุติฐานดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคงต้องจ่ายค่า Ft ในอัตรา 93.43 สตางค์ต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่นๆ ต้องจ่ายค่า Ft ในอัตรา 154.92 สตางค์ต่อหน่วย 

"ค่า Ft ดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคงจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เช่น ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย"

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนม.ค. 66 เป็นต้นไป ผู้ใช้ไฟฟ้า 3 ประเภท จะได้รับการปรับลดอัตราค่าบริการรายเดือน ดังนี้ 

- ประเภทบ้านอยู่อาศัย ใช้มากกว่า 150 หน่วย จากเดิมต้องจ่าย 38.22 บาทต่อเดือน เหลือ 24.62 บาทต่อเดือน

- ประเภทบ้านอยู่อาศัย แรงดันต่ำ อัตรา TOU จากเดิมต้องจ่าย 38.22 บาทต่อเดือน เหลือ 24.62 บาทต่อเดือน

- กิจการขนาดเล็ก แรงดันต่ำ จากเดิมต้องจ่าย 46.16 บาทต่อเดือน เหลือ 33.29 บาทต่อเดือน


- กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร อัตรา TOU จากเดิมต้องจ่าย 228.17 บาทต่อเดือน เหลือ    204.07 บาทต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม  จากการประชุมรอบใหม่ มีการพิจารณาผลการคำนวณค่าเอฟทีเพิ่มเติมอีกครั้งหลังจากที่ กฟผ. และ ปตท. ทบทวนประมาณการราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาน้ำมันดีเซล อัตราแลกเปลี่ยน และภาระหนี้คงค้างของ กฟผ. สำหรับการคำนวณอัตราค่าเอฟที (Ft) ตามที่ กกพ. ได้พิจารณาไปแล้ว โดยมีสมมุติฐานที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
 

กฟผ.เลื่อนคืนหนี้ อุ้มภาคธุรกิจ"ขึ้นค่าไฟ" เพียง 5.33 บาทต่อหน่วย

 

logoline