svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ตรวจแถวการเมือง

เจาะตัวเลข"635 ล้านบาท" ปัจจัยสำหรับหาเสียง... แต่ละพรรคหาทุนจากไหน?

10 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บรรดา"พรรคการเมือง"ลงพื้นที่เปิดตัวผู้สมัครส.ส.อย่างคึกคัก ขณะที่บางพรรคจัดการควบรวมพรรคดูดบ้านเล็กบ้านใหญ่เข้าสังกัด การเลือกตั้งครั้งหน้าถือว่าเดิมพันสูง ท่ามกลางคำถามแต่ละพรรคระดมทุนหลักร้อยล้านตัวเลขนี้มีที่มาอย่างไร ติดตามได้จาก "เมฆา ในวายุ"

 

วรรคทองของประธานพรรคสร้างอนาคตไทย"สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" ที่บัญญัติไว้ในการเปิดตัว/ร่วมหัวจมท้ายกับพรรคสี่กุมารนี้นั้นน่าสนใจตรงวรรคทองช่วงหนึ่งชนิดที่ต้องขีดเส้นใต้ ว่า "คือการแข่งขันการเมืองที่สูง คือมีม้าแข่งที่ต้องซื้อ มีคอกเป็นเจ้าของ โดยคอกก็ต้องหาเงินมาเลี้ยงม้า ซึ่งมีมานาน แต่วันนี้มันโจ๋งครึ่มเกินไป ซึ่งไม่ดีกับการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย เพราะคนรุ่นใหม่จะหันหลังให้การเมืองจนไม่กล้าเข้ามา"

 

สมคิด  จาตุศรีพิทักษ์  ประธานพรรคสร้างอนาคตไทย

 

"ฉะนั้น ความกล้าหาญนี้ไม่ต้องคำนึงว่าจะได้กี่เสียง แต่ศรัทธาของประชาชนคือหัวใจ ถ้าคุณไม่มีโครงสร้างทางปัญญา ไม่สะสมคนที่มีความรู้ ความสามารถ เพราะพรรคการเมืองถ้าไม่มีโครงสร้างทางปัญญา มีแต่โครงสร้างอำนาจ ก็จะไปไม่รอด และพาประเทศชาติไปไม่รอดด้วย การที่ผมมานี้ไม่ได้มาเพราะเป็นแคนดิเดตนายกฯ แต่มาเพื่อสร้างการขับเคลื่อนประเทศไปในทางที่ถูกต้อง"

 

วรรคทองข้างต้นจากเจ้าของฉายา"ซาร์เศรษฐกิจไทย"นั้นน่าคิดไม่น้อยเพราะ"สมคิด"เคยเป็นฝ่ายบริหารพรรคไทยรักไทย และเคยแบ็คอัพ "พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา" รวมทั้งเป็นแกนตั้ง(ในทางลับ)ให้พรรคพลังประชารัฐ ( ปีกสามมิตร+สี่กุมาร )

 

แปลความได้ว่าการเมืองไทยนั้นคนการเมืองต้องมีสังกัด บางมุ้ง/บางคนต้องใช้กล้วยล่อตาล่อใจ และต้องจับตาว่าพรรคต้นสังกัดของ "สมคิด" นั้นจะไม่ดำเนินการตามที่เจ้าของวรรคทองนี้ลั่นวาจาไว้หรือไม่ 

 

แต่ปรากฏการณ์ที่แท้จริงของแวดวงการเมืองไทยในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมานั้น คนการเมืองเคยเป็นผู้แทนราษฎรอิสระ( ไม่สังกัดพรรค ) แต่ก็มีปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงการลงมติในรัฐสภาจนทำให้กฎหมายตราขึ้นเพื่อกำหนดว่าส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง และบนความเป็นจริงนั้น ผู้สมัครส.ส.หนึ่งคน พรรคต้นสังกัดต้องมีต้นทุนเท่าใดหากจะให้คนๆนั้นสอบได้

 

เจาะตัวเลข"635 ล้านบาท" ปัจจัยสำหรับหาเสียง... แต่ละพรรคหาทุนจากไหน?

 

ที่ผ่านมาในแวดวงสังคมการเมือง พูดกันหนาหูว่า  ระบบเลือกตั้งส.ส.เขตนั้น (1ส.ส.1เขต ) หากเป็นเขตเลือกตั้ง "บิ๊กแมทช์" กระสุนดินดำที่แต่ละฝ่ายใช้จูงใจชาวบ้านให้ไปลงคะแนนให้นั้น ว่ากันว่าตัวเลขแปดหลัก-เก้าหลัก ที่แต่ละฝ่ายงัดมาใช้เพื่อชัยชนะก็เคยเป็นข่าวฮือฮากันแล้วสำหรับคนการเมือง

 

ดังนั้นหากพรรคการเมืองไทยจะไม่เหมือนคอกม้า นักการเมืองจะไม่เหมือนม้าแข่งที่เจ้าของคอกม้าต้องดูแลนั้นมันปฏิเสธความจริงไปแบบหักมุม

 

โดยข้อเท็จจริง กฎหมายยังอนุญาตให้นักการเมืองใช้งบหาเสียงได้ สมมติฐานการเมืองจากนี้ไป ขอตั้งไว้ที่หกเดือนนับจากนี้จะมีการเลือกตั้ง พรรค/ว่าที่ผู้สมัครส.ส.ต้องเตรียมงบ( บนดิน ) ไว้ใช้โปรโมทกี่บาท...  ข้อมูลศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุไว้เมื่อวันที่ 30 พ.ย.61  คาดการณ์ว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปีหน้าทั้ง เลือกตั้ง ส.ส. และ ระดับท้องถิ่น จะมีเงินสะพัดช่วงเลือกตั้งกว่า 80,000 ล้านบาท โดยเป็นการเลือกตั้งส.ส. 4 หมื่นล้านบาท เลือกตั้งท้องถิ่น 4 หมื่นล้านบาท )


นั่นหมายความว่า สี่หมื่นล้านบาทคือเม็ดเงินที่สะพัดทั่ว 77 จังหวัดสำหรับเลือกตั้งหนึ่งครั้ง

 

เจาะตัวเลข"635 ล้านบาท" ปัจจัยสำหรับหาเสียง... แต่ละพรรคหาทุนจากไหน?

 

แต่ตัวเลขดังกล่าว หากถอดความจากการเลือกตั้งส.ส. 24 มีนาคม 2562  พบว่า กกต.จำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายอย่างเป็นทางการ (รวมผู้สมัคร ส.ส.และพรรคการเมือง ) ไว้ไม่เกิน พรรคละ  560 ล้านบาท ( 350 ส.ส.เขต + 150 ส.ส.บัญชีรายชื่อ ) แสดงให้เห็นว่า ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ใช้จ่ายในการเลือกตั้งได้ไม่เกินคนละ 1,500,000 บาท   ขณะที่พรรคการเมืองใช้จ่ายในการเลือกตั้งได้ไม่เกินพรรคละ 35 ล้านบาท 

 

4 หมื่นล้านบาท กับ 560 ล้านบาท( ตัวเลขเดิมเมื่อปี2562 )- 635 ล้านบาท( ตัวเลขคาดการณ์เลือกตั้ง ปี 2566 )แตกต่างกันลิบลับ (หากให้สิบพรรคใหญ่ทางการเมืองในวันนี้ส่งผู้สมัครส.ส.ครบห้าร้อยคน ตัวเลขสูงสุดที่กำหนดไว้ในกฎหมายจะแตะ 6,350 ล้านบาท หากรวมพรรคอื่นด้วยตัวเลขน่าจะแตะ 7-8 พันล้านบาท เป็นอย่างสูง และเม็ดเงินที่เหลือราว 3.2 หมื่นล้านบาท กระจายอยู่ที่ใด? ตรงนี้น่าคิด)
แปลว่าสี่หมื่นล้านบาทนั้นเป็นการคาดคะเนภาวะทางเศรษฐกิจในช่วง1-2 ไตรมาสที่จะมีการเลือกตั้ง เม็ดเงินจะกระจายไปทุกภาคส่วน โดยน่าจะมาจากแรงกระตุ้นทางการเมืองเป็นปัจจัยหลัก
 

และภาวะตอนนี้ไม่รู้ว่า วันใดการประกาศยุบสภา...แต่ที่แน่ๆ หลังจากนี้หลากพรรคที่ประสงค์ส่งสมาชิกพรรคลงแข่งขันเลือกตั้งส.ส.บนกติกา 400 เขต +100บัญชีรายชื่อนั้น ต้องระดมทุนกันล่วงหน้าเพราะ ค่าใช้จ่ายกลมๆ ( อาจเปลี่ยนแปลงตัวเลขขึ้น/ลงได้) หากพรรคนั้นๆจะส่งผู้สมัครส.ส.สองระบบ ( 500คน/พรรค) กฎหมายเลือกตั้งน่าจะวางงบสูงสุดไว้ที่ 635 ล้านบาท/พรรค/ครั้ง ( 400เขต x 1.5ล้านบาท เท่ากับ 600 ล้านบาท บวกกับ35 ล้านบาท สำหรับพรรคและผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ )  

 

เจาะตัวเลข"635 ล้านบาท" ปัจจัยสำหรับหาเสียง... แต่ละพรรคหาทุนจากไหน?

 

ตัวเลขดังกล่าว  ถอดความจากการเลือกตั้งส.ส. 24 มีนาคม 2562 โดยพบว่า กกต.จำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายรวมผู้สมัคร ส.ส.และพรรคการเมืองไว้ไม่เกิน 560 ล้านบาท( 350 ส.ส.เขต + 150 ส.ส.บัญชีรายชื่อ ) แปลว่า ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ใช้จ่ายในการเลือกตั้งได้ไม่เกินคนละ 1,500,000 บาท  ขณะที่พรรคการเมืองใช้จ่ายในการเลือกตั้งได้ไม่เกินพรรคละ 35 ล้านบาท 

 

สมมติฐานในวันนี้ ตั้งไว้ว่า เมืองไทยจะมี 400 ส.ส.เขตและ 100 ส.ส.บัญชีรายชื่อ  ดังนั้น ผู้สมัครส.ส.เขต สามารถใช้งบได้คนละ 1,500,000 บาท (1.5 ล้านบาท x 400 เขต  เท่ากับ 6 ร้อยล้านบาท )และบวก 35 ล้านบาทสำหรับ 1 พรรคที่มีงบหาเสียงได้(ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ100 คนและน่าจะรวมงบประชาสัมพันธ์พรรคในทุกสื่อ)  
  
สรุป"635 ล้านบาท" คือ ตัวเลขอย่างเป็นทางการที่แต่ละพรรคจะมีเพดานการใช้จ่ายหาเสียงในงวดหน้า

 

ดังนั้นจะพบว่า เร็ววันนี้จะมีการจัดงานระดมทุนสู้ศึกเลือกตั้งของแต่ละพรรค แล้วจะพบว่านายทุนคนใดหนุนพรรคไหนบ้าง(การบริจาคเงิน/การซื้อโต๊ะจีนร่วมกิจกรรมกับพรรคนั้นๆ ) แต่ถามว่าเม็ดเงินสนับสนุนอย่างเป็นทางการเหล่านี้จะพอเพียงหรือ (ไม่นับเงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่กกต.จัดสรรให้ในแต่ละปี-เงินภาษีที่ประชาชนบริจาคให้พรรคที่ตัวเองชื่นชอบ-เงินสนับสนุน/เงินบริจาคจากสมาชิกพรรค)

 

หันมองข้อกฎหมายกันบ้าง....ระยะเวลาในการคำนวณค่าใช้จ่ายให้นับแต่วันที่พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ( พ.ร.ฎ. เลือกตั้ง ส.ส.) มีผลบังคับใช้ถึงวันเลือกตั้ง หากผู้สมัครส.ส./พรรคใดใช้งบเกินพบว่า  บทลงโทษตราไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 152  กำหนดว่า ผู้สมัคร ส.ส. เขต รายใดใช้เงินในการเลือกตั้งเกิน 1,500,000 บาท มีโทษจำคุก 1 ปี ถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือปรับ 3 เท่าของจำนวนเงินที่เกินมา แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่ากัน หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้สมัคร ส.ส. รายนั้นจะถูกศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 20 ปี


เจาะตัวเลข"635 ล้านบาท" ปัจจัยสำหรับหาเสียง... แต่ละพรรคหาทุนจากไหน?

 

หากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการเลือกตั้งเกิน 35,000,000 บาท มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 - 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับหรือปรับเป็นจำนวน 3 เท่าของจำนวนเงินที่เกินมา แล้วแต่จำนวนใดมากกว่ากัน และถ้าหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรค หรือเหรัญญิกพรรครู้เห็นเป็นใจด้วยต้องรับโทษและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 20 ปี  ข้อมูลข้างต้นคือตัวเลขที่พรรค/ผู้สมัครส.ส.ต้องชี้แจงต่อกกต.อย่างเป็นทางการ

 

เอาเข้าจริงแล้ว ตัวเลขที่ใช้จ่ายในการเลือกตั้งแบบใต้ดินนั้น น่าจะมากกว่านี้ เพราะข้อมูลที่คนการเมืองหล่นให้ฟังมาหลากวงสนทนาพบว่า การเตรียมระดมทุน"ต้องมีไม่ต่ำกว่า1พันล้านบาท/พรรค/1การเลือกตั้งส.ส.ทั่วประเทศ"  แม้กฎหมายจะให้ใช้งบได้ตามเพดานที่แจ้งไว้ในข้างต้นก็ตาม แต่เอาเข้าจริงแล้ว "เชื่อหรือว่า หลากพรรคจะใช้งบตามเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้...."

 

หากใครไม่เชื่อไปค้นหาข้อมูลจากงานวิจัยของหลากสถาบันวิชาการที่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางการเมืองในแต่ละการเลือกตั้งได้เลย ( ส.ส./อบจ./เทศบาล/อบต./กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ) หรือจะค้นจากคำพิพากษาเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้งในทุกระดับชั้นก็ได้   เพราะคำตัดสินของฝ่ายยุติธรรมด้านคดีเลือกตั้งนั้น นับเป็นที่สิ้นสุดว่าคดีใดสุจริต/ทุจริตบ้าง...

 

หากไล่เรียงข้อมูลเชิงลึกการเลือกตั้งล่าสุด( อบจ./เทศบาล/อบต.)นั้นพบว่า ราคาสตาร์ทสำหรับเบอร์ 1 (นายกอบจ./นายกเทศมนตรี/นายกอบต.) เริ่ม 1 พันบาท/1 คะแนนเสียง ส่วนลำดับอื่นๆลดหลั่นตามกันไป  และราคาจะทวีขึ้นหากพื้นที่นั้นๆเจอศึกช้างชนช้าง ไม่รวมกับค่าเดินทาง( หากมาใช้สิทธิจากต่างพื้นที่ ) ค่าหัวคิว+ค่าล็อบบี้+ค่าหัวคะเเนน

 

ล่าสุดแว่วมาไกลๆว่าพรรคใหญ่เบอร์ต้นๆของเมืองไทยบางพรรคพบว่า เจ้าของพรรคอนุมัติงบแค่ "กระแสพรรคและป้ายหาเสียง"ในงวดนี้เพราะมั่นใจแนวทางพรรคว่าสังคมจะเทใจให้เกินครึ่ง

 

ส่วน"กระสุน"นั้นผู้สมัครส.ส.ในเขตนั้นๆหากหวังเข้าวินคงต้องดูแลตัวเอง ส่วนพรรคอื่นๆนั้น ต้องเช็กอาการทุกระยะเพราะการเปลี่ยนขั้ว/ย้ายค่าย/ปั่นค่าตัวของคนการเมืองในยามนี้เกิดขึ้นได้เสมอ

 

ฉะนั้นตัวเลข 635 ล้านบาท/พรรคในการหาเสียงจึงเป็นตัวเลขในกระดาษที่ไว้ใช้ชี้แจงตามกฎหมายเท่านั้น

 

แต่ตัวเลขค่าใช้จ่ายจริง-แอบแฝงเพื่อหวังผลทางการเมือง น่าจะมากกว่านั้นหลายสิบเท่า  หากใครไม่เชื่อก็ติดตามการเมืองไทยจากนี้ไปดูว่าตัวเลขจะสูง-ต่ำกว่าที่คอลัมน์นี้ประเมินไว้หรือไม่.....
 

logoline