svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คูปองพัฒนาครู เติมความรู้ สู่ห้องเรียน

07 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คูปอง 1 หมื่นบาทเพื่อพัฒนาครูหรือโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจรของ ระทรวงศึกษาธิการ โครงการนี้เป็นนโยบายเร่งด่วนของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนกรกฏาคม 2560 ที่ผ่านมา ที่วาดฝันจะลดปัญหาการอบรมที่มีแต่ครูหน้าเดิมคนจัดคนเดิม มาเป็นให้ครูได้เติมอาวุธเติมความรู้ให้ตัวเอง แล้วนำกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน แต่กลับมีเสียงสะท้อนจากกลุ่มครูที่เข้าโครงการฯ ว่าไม่คุ้มไม่ได้คุณภาพ ด้านผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพค.)


ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ได้ลงพื้นที่ติดตามการจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครู หลังมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินการจัดการอบรมว่าจะเกิดประโยชน์แก่ครูและนักเรียนอย่างแท้จริงหรือไม่ มีความเหมาะสมคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่า เนื้อหาการอบรมส่วนใหญ่ยังเป็นไปตามที่สถาบันคุรุพัฒนาให้การรับรอง แต่จะสามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนได้จริงหรือไม่ ต้องผ่านการประเมินจากครูที่เข้าร่วมอบรมและผ่านการประเมินจากผู้อำนวยการโรงเรียนอีกชั้นหนึ่ง



ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ดูแลโครงการคูปองพัฒนาครูบอกว่า โครงการนี้เป็นดำริของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ได้มองถึงการปฎิรูปการศึกษา ต้องปฎิรูปที่ครูเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บอกว่าโจทย์ที่ต้องการคือลดความเหลื่อมล้ำ ครูทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีครูในสังกัดประมาณ 400,000 คน เมื่อก่อนพัฒนาอะไร พัฒนาอย่างไร ถึงจะทำให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนได้จริงๆ สำนักพัฒนาครูและบุคลากรขั้นพื้นฐานต้องทำการบ้าน แม้ในอดีตมีการพัฒนาแต่ไม่ทุกคน บางคนได้รับการพัฒนาแล้ว แต่เรื่องเดิมๆเป็นเรื่องที่ไม่ได้เอามาใช้จริง ควรให้ครูได้รับการพัฒนาด้วยตัวครูเอง ในการเลือกเพื่อเอาไปใช้กับผู้เรียนได้จริง บริบทของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน สิ่งที่ส่วนกลางหรือโครงการต่างๆจะตอบโจทย์ได้ไม่หมด แต่อยู่ประมาณ 400,000 คน อยู่ในสถานที่แตกต่างกัน รับผิดชอบนักเรียนที่แตกต่างกัน ดังนั้นคนที่เข้าใจมากที่สุดก็คือครู ครูจึงต้องมีการเลือกในสิ่งที่เขาคิดว่าคอร์สไหน หลักสูตรไหนที่เลือกแล้วนำไปใช้ได้จริง ก็น่าจะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาครูรูปแบบใหม่แบบครบวงจร

คูปองพัฒนาครู เติมความรู้ สู่ห้องเรียน


ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ดูแลโครงการคูปองพัฒนาครู บอกต่อว่า รมว.ศึกษาธิการ บอกว่าในเมื่อต้องมีการพัฒนาครู ต้องเข้าใจครูก่อนว่า ขณะนี้รับงานอะไรบ้าง ซึ่งมี 3 อย่างในการปฎิรูปการศึกษาโดยผ่านครูโดยตรง

คูปองพัฒนาครู เติมความรู้ สู่ห้องเรียน


1.เคลียร์ภาระรับผิดชอบต่างๆของครู ที่อยู่กับหน้างานกับการสอนจริง คือลดภาระของการประเมิน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภายนอกและภายในโรงเรียน ภายในกระทรวงศึกษาธิการก็เช่นกัน โดยวิธีการชลอการประเมินรอบ 4 ของ สมศ.ที่จะต้องเข้าโรงเรียน เพื่อลดภาระในการทำเอกสารของครูเพื่อรอรับการประเมิน เป็นการบูรณาการโครงการต่างๆ ในสำนักทั้งหมด ของ สพฐ. ให้มีการติดตามเพียงสำนักเดียว หรือถ้าเป็นไปได้อันไหนที่มีการบูรณาการกันได้ ก็ให้หน่วยติดตามเพียงแค่หน่วยเดียว ก็จะไม่ต้องสร้างภาระในการทำเอกสารในการติดตาม หรืออยู่กับเด็กนักเรียนมากกว่า ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังดำเนินการ ซึ่งบางส่วนทำไปแล้ว 80 ถึง 90 เปอร์เซนต์

2.งานเติมอาวุธให้ครู คือให้ครูได้รับการพัฒนาตนเองโดยครูต้องเชื่อก่อนว่าถ้าครูเลือกคอร์สในการพัฒนาตนเองของเขา เขาต้องไปพัฒนาจริงได้ คือให้มองว่าต่อไปนี้สิ่งที่ต้องพัฒนา ไม่ใช่ตัวครูเองแต่เพื่อผู้เรียน จึงมีโครงการพัฒนาครูรูปแบบใหม่ครบวงจร และต้องมาดูหน่วยที่มีการพัฒนาครู มีหน่วยอะไรบ้างที่ครูต้องไปพัฒนา ก็ให้มาอยู่ในโครงการนี้ อันไหนที่เป็นเรื่องของการประชุมชี้แจงก็ให้สำนักต่างๆทำอยู่ อีกส่วนหนึ่งเรื่องของ กคศ.เป็นหน่วยที่ครูอยากจะไปยุ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับวิทยฐานะ ถือเป็นรางวัล ดังนั้นถ้า กคศ.กำหนดกรอบอะไรมา ครูจะต้องไปอบรมตามนั้น แล้วจะเป็นแนวโน้มสำคัญที่ครูจะต้องไปทำตามนั้นเพราะเป็นเรื่องของความก้าวหน้าของวิชาชีพเขา อีกหน่วยงานหนึ่งคือคุรุสภา เป็นหน่วยงานของการมีใบประกอบวิชาชีพ ดังนั้นเราเป็นวิชาชีพครูก็ต้องทำตามมาตราฐานตัวชี้วัดที่เขากำหนด ก็ต้องมีการอบรมแบบนั้น ในเมื่อมี 3 หน่วยงานมาพัฒนาครู จึงนำ 3 หน่วยงานมาคุยกัน แล้วให้ครูวิ่งในลู่เดียวกัน ก็จะไม่ต้องไปดึงครูออกจากห้องเรียน รมว.ศึกษาธิการ จึงดำเนินการอบรมพัฒนาครู เมื่อใครที่มาอบรมและพัฒนา แล้วนำไปใช้จริงกับผู้เรียน ตรงนี้ก็จะไปเชื่อมโยงเกี่ยวกับทั้ง กคศ.และคุรุสภา จึงเป็นการพัฒนาโดยผ่านทางนี้ ไม่ซ้ำซ้อนกับทางอื่น

3.สิ่งที่ครูมีความรู้แบบเต็มรายบุคคล จำทำอย่างไรให้การทำงานเกิดเป็นจริง จึงมีโครงการอีกหนึ่งโครงการที่เชื่อมโยงสร้างเครือข่าย PLC :Professional Learning Community ซึ่ง สพค.รับผิดชอบ เป็นโครงการที่รวมกลุ่มครูที่คุยกันทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนแล้วมาแชร์ประสบการณ์กัน ตรงนี้ก็จะเกิดขึ้นที่โรงเรียน เพราะหน้างานคือนักเรียนแล้วฐานคือโรงเรียน โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนจะรับทราบว่าครูแต่ละคนไปอบรมแล้วได้ความรู้อะไรมาแล้วผู้อำนวยการโรงเรียนจะเป็นเหมือน นวยการที่จะให้ทุกคนมีโอกาสที่จะแชร์ความรู้ที่อบรมมากับความรู้ใหม่ๆแล้วมาคุยกัน เพื่อพัฒนาผู้เรียน จึงมีการประชุมติดตามการขับเคลื่อน เพื่อให้งานทุกงานไปตามสิ่งที่มุ่งหวัง ซึ่งทีมที่มาร่วมประชุม เข้มแข็งมาก คงพบข่าวดีในเรื่องของการปฎิรูปการศึกษา เพราะการเปลี่ยนแปลงที่ตรงห้องเรียนคือตรงที่สุดแล้ว

คูปองพัฒนาครู เติมความรู้ สู่ห้องเรียน


ส่วนโครงการคูปองพัฒนาครูจากข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน มีครูเข้ามาประมาณ 312,000 กว่าคนเป็นตัวชี้วัดหนึ่งว่า ครูมีความสนใจในการพัฒนา อีกหนึ่งตัวชี้วัดคือครูสนใจคอร์สที่จะลงในการพัฒนายังมีอีกประมาณ 600,000 กว่าที่นั่ง ที่ครูใน 300,000 กว่าคนมาเลือกลงหลักสูตรและอีกหนึ่งตัวชี้วัดคือการเลือกลง แต่ยังไม่ได้รับการอบรม หลังจากอบรมเสร็จ จะมีแบบประเมินความพึงพอใจของหลักสูตร หลักสูตรนั้นมีประโยชน์อย่างไร มีเนื้อหาหลักสูตรคืออะไรจากนั้นจึงเข้ารับการอบรม สิ่งที่ครูจะประเมินด่านแรก คือตรงกับสิ่งที่ครูอ่านหรือไม่ จะมีลิ้งค์จากระบบส่งเข้าไปให้ เพื่อประเมินความพึงพอใจของหลักสูตร ซึ่งถ้าตามนัยยะสิ่งที่อ่านกับสิ่งที่ไปเจอตรงกันหรือไม่ จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาจากครูประมาณ 30,000 กว่าคนที่ส่งข้อมูลมา มีทั้งชมและไม่ชม โดยเริ่มอบรมมาตั้งแต่ 20 กรกฎาคม 2560 จนถึงปัจจุบันมีประมาณกว่า 2,000 กว่าหลักสูตร 2,000 รุ่น ที่ครูเข้าอบรม มีการประเมินมาแล้วประมาณ 30,000 กว่าคน ผลการประเมินโดยเฉลี่ยเต็ม 5 ได้ 4.98 ต่ำสุด 2.1 ในส่วนที่ต่ำก็ต้องดูว่าใครที่จัด หน่วยงานไหน การคุมหลักสูตรในเนื้อหา มีสถาบันที่ตั้งเอาไว้เรียกว่า approve หรือรับรองหลักสูตร ก่อนที่หน่วยงานต่างๆจะจัดส่งเข้ามา เริ่มต้นการตั้งเกณฑ์ เกณฑ์อะไร มาจาก สพฐ. ปัญหาของ สพฐ.ครูไม่เอาความรู้ไปใช้กับผู้เรียน ดังนั้นเราต้องการจะตอบโจทย์ ตรงนี้จึงเป็นเกณฑ์ 1 ข้อ ที่ สพฐ.บอกว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้หน่วยจัดต้องสนับสนุนครูจนถึงห้องเรียนเพื่อเอาไปใช้กับผู้เรียน จึงเป็น 1 เกณฑ์ที่เราโยนให้กับทางคุรุพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ และอีก 1 เกณฑ์ต้องเป็นเกณฑ์จาก กคส.เพราะครูไปเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ เกณฑ์ต่างๆเมื่อมารวมกันแล้วได้ประกาศไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา หน่วยจัดก็จะต้องส่งมาตามเกณฑ์ หน่วยที่จะ approve หรือรับรองก็คือคุรุพัฒนาซึ่งอยู่ภายใต้คุรุสภา จะไม่ได้อยู่แท่งเดียวกับ สพฐ. แต่สถาบันคุรุพัฒนาจะไม่มีผลประโยชน์ใดๆเพราะไม่มีงบประมาณ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานจัดใดๆเป็นหน้าที่ส่วนกลางที่จะดูแค่ว่า หลักสุตรนี้มีคุณภาพหรือไม่ พอหลักสูตรได้รับการรับรองก็จะส่งมาที่ สพค.ที่อยู่ภายใต้ สพฐ.

สพค.มีหน้าที่ทำระบบแล้วนำหลักฐานทั้งหมดมาใส่ใน 1,460 หลักสูตรที่มีประมาณ 3,000 กว่ารุ่น จากนั้นครูก็จะแก้ระบบ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ก็จะมีประมาณ 30,000 กว่าคน สพค.เปรียบเสมือนห้างสรรพสินค้า เพื่อให้ครูมาเลือก อันไหนที่เหมาะกับเขา สิ่งที่ขาดๆอะไร ก็สามารถหยิบตรงนั้นมาแล้วนำมาใช้

ส่วนปัญหาที่ครูหลายคนกลัวว่าโครงการนี้จะไม่คุ้มหรือครูนำเงินไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ตรงนี้เป็นระเบียนราชการอยู่แล้ว จะต้องมีการรายงานผลทางราชการภายใน 60 วัน เมื่อครูกลับมาจากอบรมสัปดาห์แรก สัปดาห์ที่สอง สัปดาห์ที่สาม สัปดาห์ที่สี่ ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องติดตามแล้วกระตุ้น จนสัปดาห์ที่สี่ ลิ้งค์จะถูกส่งมาให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนประเมินว่า ครูเอาความรู้ที่ไปอบรมมาครั้งนั้น นำมาใช้กับผู้เรียนหรือไม่ อีกส่วนหนึ่งคือหน่วยจัด เมื่อมีครูไปจัดอบรม เขาติดตามครูหรือไม่ในการช่วยเหลือและสนับสนุนครู เมื่อผู้อำนวยการโรงเรียนประเมินเสร็จในระบบออนไลน์ คนที่เห็นคือส่วนกลางจะรับรู้ข้อมูล ถ้าครูไม่ได้นำไปใช้ก็จะไม่ได้สะสมชั่วโมงในการเลื่อนวิทยฐานะ แต่ถ้าผู้จัดไม่ติดตามครูหรือไม่ช่วยเหลือครูเลย ผู้อำนวยการโรงเรียนก็จะติว่าไม่มีการมาช่วยเหลือ เมื่อ สพค.ทราบ ก็จะถูกขึ้นแบล็คลิสต์ แล้วส่งให้สถาบันคุรุพัฒนา

คูปองพัฒนาครู เติมความรู้ สู่ห้องเรียน


ท้ายนี้ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ดูแลโครงการคูปองพัฒนาครูบอกว่า ความคุ้มค่าของโครงการนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้กับผู้เรียน ทำอย่างไรก็ได้ ครูเมื่อเลือกอบรมในสิ่งที่บอกว่าครูจะนำไปใช้ได้จริง ขอให้นำไปใช้และพัฒนาผู้เรียนได้จริง ก็จะเกิดขึ้นพร้อมๆกันทั่วประเทศที่ลงทะเบียนสำเร็จแล้วประมาณ 200,000 กว่าคน ดังนั้นนักเรียนที่จะได้รับโอกาสตรงนี้จะไม่รู้กี่เท่าของ 200,000 คน ดร.เกศทิพย์ กล่าว

logoline