svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ไพบูลย์" ยุบ คกก.ปฏิรูปศาสนา ยอมรับมีแรงกดดัน

06 มีนาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่รัฐสภา - 6 มี.ค. 58 - ไพบูลย์ ประกาศ ยุบ คกก.ปฏิรูปศาสนา อ้าง ทำหน้าที่ลุล่วงแล้ว ยอมรับมีแรงกดดัน ระบุต้องให้เกียรติของประธาน สปช. ที่ถูกต่อว่าโดยไม่จำเป็น เตรียม ตั้งเครือข่าย ทำงานปฏิรูปศาสนา ต่อ

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงว่าตลอดระยะเวลากว่า 1 เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการฯชุดของตนนี้ได้ทำหน้าที่ เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาของพระพุทธศาสนา มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ผู้แทนจากสำนักงานศาสนา ผู้แทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)เพื่อมาให้ข้อมูลโดยทางคณะกรรมการฯเห็นว่ามีประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการปฏิรูปคือ 1.เรื่องศาสนสมบัติของวัดและพระภิกษุสงฆ์ 2. ปัญหาของสงฆ์ที่ไม่ปฏิบัติตามพระวินัยนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธานายไพบูลย์ กล่าวว่า 3. ทำให้พระธรรมวินัยวิปริต 4. เรื่องของฝ่ายอาณาจักร ปกป้องคุ้มครองกิจการของฝ่ายศาสนจักร ทั้งนี้ทางคณะกรรมการได้ส่งความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทำเป็นรายงานส่งไปยังนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ดังนั้นภารกิจของคณะกรรมการฯถือว่าได้บรรลุตามที่ตั้งไว้ คือการวิเคราะห์สภาพปัญหาต่อสังคม ทำให้พุทธศาสนิกชน พุทธบริษัทตื่นตัวต่อการปกป้องพระพุทธศาสนา ดังนั้นเมื่อภารกิจสมบูรณ์แล้ว ตนจึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นว่าจะต้องมีคณะกรรมการฯ ชุดนี้คอยปฏิบัติหน้าที่ต่อไปแล้ว จึงขอยุติการปฏิบัติหน้าที่แต่เพียงเท่านี้นายไพบูลย์ กล่าวว่า การทำงานต่อจากนี้จะเป็นในรูปแบบเครือข่ายเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา โดยจะมีพุทธศาสนิกชนที่สนใจ พุทธบริษัทต่างๆเข้ามาร่วมขับเคลื่อน ปฏิรูปศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งจะมีตนในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการฯเข้าไปร่วมด้วย แต่สำหรับชื่อของเครือข่ายนั้นยังไม่ได้คิดในขณะนี้ ส่วนงานที่จะทำต่อ อาทิ ติดตามในเรื่องของเงินที่ฝากไว้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งเป็นเรื่องนายศุภชัยยักยอกเงินไปให้พระธัมชโย และเครือข่ายของวัดพระธรรมกาย ทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก และทางเครือข่ายจะติดตามกรณีที่พระภิกษุถูกกลั่นแกล้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปกครองของสงฆ์ เช่นกรณีวัดพุทธปัญญาเป็นต้น อย่างไรก็ตามหากประชาชนมีความเห็น เรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนา หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนาสามารถส่งข้อมูลมาที่ตนหรือมาพบที่รัฐสภาได้เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การทำงานของคณะกรรมการชุดนี้มีระยะเวลาสั้น อาจทำให้มองว่ามีปัจจัยภายนอกมากดดันหรือไม่ นายไพบูลย์ อ้ำอึ้งเล็กน้อยก่อน กล่าวว่า การทำงานของคณะกรรมการฯชุดนี้มีระยะเวลาประมาณเดือนกว่าแต่ผลงานเยอะ ให้ถือว่าเอาผลงานเป็นตัววัด เมื่อถามย้ำว่า ดูเหมือนการทำงานกำลังเดินอยู่ดีๆแล้วมาสะดุดลงอย่างนั้นหรือไม่ นายไพบูลย์กล่าวว่า ไม่ ตนคิดว่าคณะกรรมการฯทำผลงานได้ดีเกินคาดผู้สื่อข่าวถามว่า การยุติบทบาทครั้งนี้ไม่ได้เชื่อมโยงกับการที่ประธาน สปช. ออกมาท้วงติงว่าฆราวาสไม่ควรยุ่งกับกิจการของสงฆ์ใช่หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ประธานสปช.ให้การสนับสนุนคณะกรรมการฯชุดนี้อย่างยิ่ง แต่เห็นว่าคณะกรรมการฯควรจะทำในเรื่องของฆราวาส ส่วนเรื่องของสงฆ์ก็ให้คณะสงฆ์ว่าไปเนื่องจากมีแรงทักท้วงมาก ผมคิดว่าประธานสปช.ก็ยังดำริว่าอยากให้ดำเนินการต่อ แต่ผมในฐานะเป็นอดีตประธานคณะกรรมการฯชุดนี้ ผมเห็นว่าได้ทำหน้าที่ปรากฏผลงานบรรลุจนหมดแล้ว การจะทำหน้าที่ต่อไป ผลประโยชน์ที่จะได้รับ จะได้น้อยกว่า และจะทำให้ประธาน สปช. อาจจะถูกต่อว่าโดยไม่จำเป้น ดังนั้นเพื่อรักษาเกียรติของประธาน สปช. ผมจึงเป็นผู้ที่เสนอว่าเราได้ศึกษาครบสมบูรณ์แล้ว ละผลงานได้เปิดเผยต่อประชาชนให้ได้รับทราบและตื่นตัว จึงครบภารกิจ ผมจึงเสนอต่อประธาน สปช.ว่าจะสรุปรายงานเพื่อที่จะให้จบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ นายไพบูลย์กล่าวผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ายอมรับว่ามีการกดดันการทำงานหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ก็ต้องมี ปรากฏเป็นข่าวกันมากมาย แต่กระแสต่างๆตนคิดว่าเป็นเรื่องที่จะทำก็ทำ ซึ่งคงอยากเห็นว่าคณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่แล้วก็จบหน้าที่ไป ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่าตนจะจบหน้าที่ เพราะในส่วนของตนยังจะทำในฐานะที่เป็นสมาชิก สปช. ซึ่งจำทำงานได้กว้างขวางกว่า มีประโยชน์ต่อประชาชนและต่อพุทธศาสนิกชน ต่อพุทธบริษัทได้มากกว่าผู้สื่อข่าวถามว่า การทำงานของเครือข่ายนี่จะมีการแก้กฎหมายหรือไม่ นายไพบูลย์กล่าวว่ามี 2 ระดับคือ 1.นำกฎหมายที่เกี่ยวข้องและยังไม่ถูกบังคับใช้ให้มาบังคับใช้ เช่นกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ไปรับเงินหรือรับของขวัญ ห้ามให้มีมูลค่าเกิน 3,000 บาท ต้องนำมาใช้กับคนที่เป็นเจ้าพนักงาน ในส่วนนี้ก็ต้องไปปฏิบัติตาม ลำดับที่ 2 คือ ปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายให้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น การรับเงินของพระภิกษุบางรูปที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 42 อนุ 10 คือเป็นไปตามธรรมจรรยา โดยเงินจำนวนดังกล่าวนั้นมีขีดจำกัดเป็นเงินที่ให้ตามประเพณีเท่านั้น แต่ไม่หมายรวมเงินที่ให้เป็นจำนวนล้านๆ และเงินล้านๆดังกล่าวถ้านำไปให้วัดต่อ ก็ไม่มีปัญหาเพราะเป็นเงินให้กุศล แต่ถ้าเป็นเงินที่เก็บไว้ส่วนตัวน่าจะเป็นเงินได้พึงประเมิน โดยเรื่องนี้ตนจะติดตามจากกรมสรรพากรต่อไปว่าถึงเวลาหรือไม่ ที่จะต้องเรียกเงินเก็บจากภาษีของภิกษุที่รับเงินเกินกว่า เงินตามธรรมเนียมที่ควรจะเป็น

logoline