svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สหรัฐยื่นร่างมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือขั้นรุนแรงฉบับใหม่

07 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สหรัฐยื่นร่างมาตรการคว่ำบาตรขั้นรุนแรงฉบับใหม่ต่อเกาหลีเหนือ กับทางองค์การสหประชาชาติ ให้มีการอายัดทรัพย์สินและห้ามการเดินทางในต่างประเทศของคิม จองอึน รวมทั้งห้ามการขายน้ำมันของทั่วโลกต่อเกาหลีเหนือ และระงับการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสิ่ทอของเกาหลีเหนือ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีประกาศมาตรการแซงก์ชั่นนี้ในจันทร์ที่ 11 กันยายน ซึ่งแน่นอนว่าจีนและรัสเซียย่อมไม่เห็นด้วยกับการให้มีมาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้จีนมีความไม่สบายใจไปด้วย ขณะที่ประธานาธิบดีปูตินปฏิเสธข้อเสนอที่เรียกร้องให้ตัดการส่งน้ำมันไปยังเกาหลีเหนือ เพราะจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาล และประชาชนชาวเกาหลีเหนือ

ทางด้านประธานาธิบดีทรัมป์ เปิดเผยล่าสุดว่า การใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อเกาหลีเหนือไม่ใช่ทางเลือกอันดับแรก หลังจากที่ได้มีการหารืออย่างจริงจังกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งเห็นด้วยกัน 100% เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ โดยที่ผู้นำจีนต้องการที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง โดยสหรัฐจะดูว่าสามารถทำได้หรือไม่ หลังจากที่การประชุม UNSC เมื่อต้นสัปดาห์นี้ยังไม่มีข้อยุติในการลงมติคว่ำบาตรฉบับใหม่ดังกล่าว
นอกจากนี้ มีข่าวช็อคตลาดการเงินโลก เมื่อ Stanley Fischer ประกาศลาออกจากการเป็นรองประธานเฟด มีผล 13 ตุลาคมนี้อย่างไม่คาดคิด ทั้งที่วาระในตำแหน่งจะครบเทอมเดือนมิถุนายน 2018 จะเปิดโอกาสให้ประธานาธิบดีทรัมป์ส่งคนใกล้ชิดเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการของเฟด รวมถึงการไม่ต่ออายุให้กับเจเน็ต เยลเลนโดยในจดหมายลาออกระบุว่าเป็นเหตุผลส่วนตัว พร้อมกันนี้ได้ส่งคำเตือนภาวะตลาดมีความเสี่ยงสูงจากการที่ยังคงยึดติดกับความพึงพอใจของนักลงทุน จนส่งผลต่อราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง

1.สหรัฐยื่นร่างมาตรการคว่ำบาตรขั้นรุนแรงฉบับใหม่ต่อเกาหลีเหนือ ไปยังองค์การสหประชาชาติ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีการประกาศมาตรการแซงก์ชั่นนี้ในจันทร์ที่ 11 กันยายนนี้ หลังจากที่การประชุมคณะมนตรีความมั่นคง 15 ชาติ หรือ UNSC เมื่อต้นสัปดาห์นี้เกิดเสียงแตก จึงยังไม่มีข้อยุติในการลงมติคว่ำบาตรดังกล่าว
โดยมีรายงานว่าในร่างมาตรการคว่ำบาตรใหม่นี้ ทางการสหรัฐต้องการให้มีการอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลเกาหลีเหนือ และระงับการเดินทางของประธานาธิบดีคิม จองอึน การอานัดทรัพย์ของสายการบินแห่งชาติชื่อว่า North Koreas National Airline Air Koryo รวมทั้งห้ามการขายน้ำมันของทั่วโลกต่อเกาหลีเหนือ และแบนการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสิ่ทอจากเกาหลีเหนือ รวมถึงยุติว่าจ้างนักวิทยาศาสตร์ชาวเกาหลีเหนือไปทำงานในต่างประเทศด้วย

2.ทางด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยล่าสุดว่า การใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อเกาหลีเหนือไม่ใช่ทางเลือกอันดับแรก จากการที่ได้มีการหารืออย่างจริงใจกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งเห็นด้วยกัน 100% เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ โดยที่ผู้นำจีนต้องการที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งสหรัฐจะดูว่าสามารถทำได้หรือไม่
แน่นอนว่า ทั้งจีนและรัสเซียย่อมไม่เห็นด้วยกับการให้มีมาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้จีนมีความไม่สบายใจไปด้วย อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ปฏิเสธข้อเสนอที่เรียกร้องให้มีการตัดการส่งน้ำมันไปยังเกาหลีเหนือ เพื่อเพิ่มแรงกดดันให้เกาหลีเหนือยกเลิกโครงการทดสอบขีปนาวุธนิวเคลียร์
เนื่องจากมีความกังวลต่อการตัดน้ำมันที่ส่งไปยังเกาหลีเหนือจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาล และประชาชนชาวเกาหลีเหนือโดยทั่วไป ซึ่งรัสเซียมีการส่งน้ำมันให้เพียง 40,000 ตันต่อไตรมาสเท่านั้น โดยผู้นำรัสเซียเห็นว่า การแก้ไขความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับความมั่นคงในภูมิภาค


3.นอกจากนี้ มีข่าวช็อคตลาดการเงินโลก เมื่อ Stanley Fischer ประกาศลาออกจากการเป็นรองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยมีผลวันที่ 13 ตุลาคมนี้อย่างไม่คาดคิด ทั้งที่วาระในตำแหน่งจะครบเทอมเดือนมิถุนายน 2018 โดยในจดหมายที่ยื่นต่อประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่าเป็นเหตุผลส่วนตัว
พร้อมกันนี้ Stanley Fischer ได้ส่งคำเตือนภาวะตลาดมีความเสี่ยงสูงจากการที่ยังคงยึดติดกับความพึงพอใจของนักลงทุน จนส่งผลต่อราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง ตามที่เฟดได้มีการประเมินเอาไว้ แต่เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีการจ้างงานในระดับสูง ขณะที่ระบบการเงินมีความแข็งแกร่ง
Stanley Fischer ในวัย 73 ปี ให้เหตุผลการลาออกเป็นเพราะเหตุผลส่วนตัว โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2014 ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาในตำแหน่งเขาอยู่ในกลุ่มแนวคิดสายเหยี่ยวที่ต้องการให้มีการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด รวมทั้งมาตรการในการงบดุล
นอกจากนี้ ตลาดยังมีการจับตาวันที่การลาออกของ Stanley Fischer คือวันที่ 13 ตุลาคม ตรงกับวันศุกร์ ถือเป็นวัน Black Friday ซึ่งตลาดเคยหวาดหวั่นต่อเหตุการณ์เมี่อปี 1987 ซึ่งในขณะนั้นตลาดหุ้นสหรัฐเกิดการตี่นขายหุ้นครั้งใหญ่ เนื่องจากเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้น จนนำไปสู่การปรับฐานของดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลง นำมาสู่เหตุการณ์ Black Monday โดยดาวโจนส์ดิ่งลงมากกว่า 500 จุดในวันนั้น


4.ในการลาออกของ Stanley Fischer จะเปิดโอกาสให้ประธานาธิบดีทรัมป์ส่งคนใกล้ชิดเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการของเฟด ในช่วงที่เฟดกำลังดำเนินการปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่ภาวะปกติที่เรียกว่า Normalization ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และปรับลดฐานะงบดุล หลังจากที่มีการอัดฉีดเม็ดเงิน QE ไนวนมหาศาลถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐตั้งแต่ปี 2008
โดยเฉพาะบุคคลที่จะมานั่งในตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ต่อจากเจเน็ต เยลเลน ในช่วงต้นปีหน้านี้ ซึ่งก่อนหน้านี้มีชื่อของแกรี่ โคห์น เคยเป็นซีอีโอโกลด์แมน แซคส์ มานั้น ถือเป็นตัวเต็งที่จะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดแทนเจเน็ต เยลเลน แต่ก็มีกระแสข่าวว่าประธานาธิบดีทรัมป์กลับลังเลที่จะแต่งตั้งแกรี่ โคห์น เนื่องจากไม่มั่นใจเขาจะยังคงเป็นทีมงานเดียวกันหรือเปล่า หลังจากที่แกรี่ โคห์น เป็นหนึ่งในทีมบริหารระดับสูงของทำเนียบข่วที่ไม่เห็นด้วยในกรณีที่ประธานาธิบดีไม่จุดยืนชัดเจนกรณีเกิดเหตุร้ายปะทะกันระหว่างคนผิวขาวและคนผิวสีเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ส่วนท่าทีล่าสุดของลอยด์ แบลงค์เฟน CEO ของโกลด์แมน แซคส์ ในปัจจุบันออกมาหนุนเต็มที่ให้แกรี่ โคห์น ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีทรัมป์ รวมทั้งเป็นผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ จะเข้ามาหน้าที่ได้ดี หากได้รับเลือกให้เป็นประธานเฟดคนใหม่ โดยย้ำว่า แกรี่ โคห์น เป็นคนที่มีความสามารถมาก แม้ไม่ได้เป็นนักวิชาการ แต่ก็ไม่มีใครที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดต่างๆ ได้มากกว่าเขา ซึ่งการไม่เน้นทฤษฎี แต่จะเน้นการปฏิบัติมากกว่าประธานเฟดคนก่อนๆ ก็จะสร้างความแตกต่างได้อย่างดี


5.ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกเมื่อคืนวันพุธ หลังจากกระแสข่าวประธานาธิบดีทรัมป์ และแกนนำในสภาคองเกรส ได้บรรลุข้อตกลงในการขยายเพดานหนี้ออกไปจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม รวมทั้งจะต้องอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใหม่ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐ หรือ Government Shutdown
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้หารือร่วมกับแกนนำพรรครีพับลิกัน และเดโมแครต ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันพุธ เนื่องจากความขัดแย้งเกี่ยวกับการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐ รวมทั้งชะตากรรมของผู้อพยพวัยเยาว์ราว 800,000 คนที่อาจต้องถูกเนรเทศออกจากสหรัฐ หลังมีการยกเลิกโครงการคุ้มครองผู้อพยพวัยเยาว์ที่เดินทางเข้ามาในสหรัฐ รวมทั้งหาทางอนุมัติงบให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยเฮอร์ริเคนฮาร์วีย์ ขณะที่พายุเฮอร์ริเคนเออร์มา ซึ่งเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งสหรัฐและคาดว่าจะสร้างความเสียหายรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ปิดที่ 21,807 เพิ่มขึ้น 54.33 จุด หรือ 0.25% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,465 เพิ่มขึ้น 0.31% และ Nasdaq ปิดที่ 6,393 เพิ่มขึ้น 0.28% ขณะที่ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์อ่อนค่าลงที่ระดับ 1.1923 ดอลลาร์ จาก 1.1905 ดอลลาร์ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะ 1.3049 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3027 ดอลลาร์ โดยดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนที่ 109.32 เยน จาก 108.79 เยน

logoline