svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"ป้าปุ้ม" ผู้นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างธุรกิจชุมชน

25 กันยายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดชีวิต"ป้าปุ้ม" ที่เกือบพิการจนเดินไม่ได้ ก่อนกลับมาเดินเหินปกติเพราะ"นวดไทย" จนตัดสินใจเรียนรู้และต่อยอดเป็นวิสาหธุรกิจชุมชม

ชีวิตของ"ป้าปุ้ม" เป็นเรื่องราวน่าสนใจและให้กำลังใจได้ดี"ป้าปุ้ม" อาภา ปรีชากูลย์ อดีตเเม่ค้าขายส้มตำ ที่สร้างชื่อในสถานะ"ปราชญ์ชาวบ้านผู้ชำนาญการนวดไทย" และมีชี่อเสียงระดับประเทศ ชนะเลิศการประกวดมากมายหลายเวที และเคยนวด"ลุงตู่"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในงานแสดงสินค้าโอทอปจนทุกคนพูดถึง"จุดเปลี่ยน"ของ"ป้าปุ้ม" เกิดขึ้นเมื่อลื่นล้มหลังกระแทกพื้นในสวนเพราะเจองู อาการจนต้องเข้าผ่าตัดสันหลังเเละเกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จนถึงขึ้นเดินไม่ได้ 

"ป้าปุ้ม" ผู้นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างธุรกิจชุมชน


"ตอนนั้นทำอะไรไม่ได้เลย ต้องรักษาตัวก่อน ขณะกำลังหัดเดินเเละทำกายภาพบำบัด ก็คิดเรื่องการรักษาทางเลือกอื่น ทำให้มาพบกับการนวดไทย อาการก็ดีขึ้นและเดินได้ จึงคิดว่านวดไทยนี่เป็นวิชาที่ดีมาก อยากต่อยอด  จึงตัดสินใจไปเรียนเเพทย์เเผนไทย เรียนทุกหลักสูตรกับกระทรวงสาธารณสุข เรียนนวดฝ่าเท้า นวดตัว เพื่อเเก้อาการต่างๆ อีกทั้งเรียนรู้การนวดเเบบคลายกล้ามเนื้อ โดยไแเรียนกับหมอจีนที่มีชื่อเสียงมากในกรุงเทพฯ ไปเรียนจัดกระดูกกับหมอจีน ค่าเรียนจะเเพงมาก วันละ 1,000 บาท ซึ่งเงินพันบาทในสมัยนั้นไม่ใช่น้อยๆ เเต่เป็นการเรียนที่คุ้มค่ามากที่สุด" ป้าปุ้มบอก 

"ป้าปุ้ม" ผู้นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างธุรกิจชุมชน

เมื่อร่ำเรียนจนคิดว่าพอที่จะใช้ประโยชน์ได้ "ป้าปุ้ม"ก็ตัดสินใจเลิกขายไก่ย่างส้มตำ แต่อยากเผยเเพร่"วิชานวด"ให้ชุมชน เพื่อขยายภูมิปัญญาไทย และ"สร้างอาชีพ"ให้ชุมชน ดังนั้น ป้าปุ้มจึงทำ"นวดไทย"ขึ้นเป็น"ธุรกิจชุมชน" คือ กลุ่มวิสาหกินชุมชนอาภานวดแผนไทย ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง "เมื่อเราหายจากโรคภัยไข้เจ็บเเล้ว ก็อยากรักษาคนอื่นด้วย แต่รู้ว่าทำคนเดียวไม่ได้ ต้องสอนวิชาให้คนอื่น เราเริ่มออกนวดตามชุมชน ตามจังหวัดต่างๆรายได้ดี อยากให้คนในชุมชนของเรามีชีวิตที่ดีขึ้นด้วย จึงรวมกลุ่มกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนอาภานวดเเผนไทยขึ้นเมื่อปี 2547 ด้วยสมาชิกเริ่มต้น 12 คน เป็นคนในหมู่ 6  ตำบลบางเจ้าฉ่า" ป้าปุ้มเล่า

"ป้าปุ้ม" ผู้นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างธุรกิจชุมชน

ไม่เพียงการ"นวด"เท่านั้นที่ป้าปุ้มคิด หากแต่ป้าปุ้มยังขยายโอกาสโดยผลิต"สินค้า"ด้วยการใช้ภูมิปัญญาไทยที่ได้เรียนรู้มาต่อยอด  ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ง่ายๆ เช่น ไม้นวดตัว ที่ป้าปุ้ม ได้แนวคิดมาจากไม้นวดเเป้งขนมเค้กของลูกสาว ที่กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการนวดจุดที่นวดเองไม่ถึง เช่น หลัง ต้นขาด้านหลัง ท้ายทอย โดยทำจากไม้สัก ไม้มะค่าเเละไม้กระท้อน ที่ป้าปุ้มบอกว่า ไม้สัก หมายถึง"ไม้ศักดิ์สิทธิ์" ไม้มะค่า หมายถึง ไม้ที่จะฆ่าสิ่งเลวร้าย และไม้กระท้อน หมายถึง โรคภัยที่มีอยู่กระท้อนออกไปจากตัวเรา และดีเด่นดังจนคว้ารางวัลสินค้าโอทอประดับ 3 ดาว เมื่อทำและทดลองขายจนถึงขั้น"ติดอันดับ"และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย "ป้าปุ้ม"ก็ตัดสินใจใช้การสนับสนุนของภาครัฐ เพื่อขยายกิจการ ด้วยการขอกู้เงินทุนสินเชื่อจาก SMEs Bank วงเงิน 500,000 บาท โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเต็มวงเงินทั้งหมด รวมทั้งให้การสนับสนุน ชี้เเนะเเละช่วยประชาสัมพันธ์ "วิสาหกิจชุมชนอาภานวดเเผนไทย" จนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ สำหรับการนวดนั้น กลุ่มวิสาหกินชุมชนอาภานวดแผนไทย แบ่งการนวดเป็น 2 แบบ คือ เเบบ "เชลยศักดิ์" ซึ่งเป็นการนวดเเบบพื้นบ้านที่นิยมกัน โดยผู้นวดใช้มือ เท้า เข่า ศอกในการนวด กับเเบบ "ราชสำนัก" ที่ใช้เพียงมือเเละนิ้วในการกดจุด ไม่ใช่การนวดคลึงที่ใช้ทุกส่วนของร่างกาย นอกจากการนวดเเล้ว "กลุ่มวิสาหกินชุมชนอาภานวดแผนไทย"ของป้าปุ้ม ยังมีการนวดสมุนไพร โดยการใช้ลูกประคบที่ทำมาจากสมุนไพรไทย เช่น ไพล ตะไคร้ มะกรูด การบูร เพื่อให้กลิ่นหอม ทำให้ผ่อนคลาย โดยความร้อนจากสมุนไพรจะช่วยให้กล้ามเนื้อเเละเส้นเอ็นที่ติดอยู่ขยายตัว เลือดลมเดินสะดวก และลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ 

"ป้าปุ้ม" ผู้นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างธุรกิจชุมชน

ไม่เพียงในประเทศเท่านั้นที่รู้จัก"ป้าปุ้ม" แต่ต่างประเทศก็รู้จัก โดยทุกเดือนจะมีลูกค้านานาชาติมาหา ทั้งจากยุโรป อเมริกา"มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมียไทยพาผัวเยอรมันมาหาป้าปุ้ม เขาเดินไม่ได้ ป้าปุ้มนวด 30 นาทีเดินได้ เขาบอกป้า อะไรกัน หนูเสียค่าตั๋วมา 4 หมื่น กลัเยอนมันอีก 4 หมื่น ป้านวด 10-20 นาทีผัวหนูหาย ไม่คุ้มเลย" ป้าปุ้มเล่า และบอกว่า เมื่อบอกว่าค่านวด 300 บาท เธอคนนั้นก็ให้ป้าปุ้มมา 1 พันบาททุกวันนี้ "กลุ่มวิสาหกินชุมชนอาภานวดแผนไทย"ของป้าปุ้ม แม้อาจจะอยู่ในช่วง"เริ่มต้น" แต่กานสนับสนุนของ บสย. ทำให้สามารถขยายงานได้ โดยพื้นที่ของชุมชนประมาณ 4 ไร่ ถูกใช้เพื่อปลูกสมุนไพรสำหรับนำมาผลิตสินค้า แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ยังต้องซื้อสมุนไพรต่างๆจากชาวบ้านในพื้นที่โดยนอกจากการนวดที่"กลุ่มวิสาหกินชุมชนอาภานวดแผนไทย" เปิดให้บริการ และมีผู้ป้วยอัมพฤกษ์จากหลายจังหวัดมารักษาแล้ว วันนี้ "ป้าปุ้ม"ยังมีสินค้าหลากหลายที่เริ่มเป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะ น้ำมันนวดสมุนไพรป้าปุ้ม ที่มีการสั่งซื้อจากทั่วประเทศ เดือนละกว่า 2,000 ขวด หรือแชมพูสมุนไพร รวมทั้งสินค้าอื่นๆวันนี้ "ป้าปุ้ม"ในวัย 68 ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำภูมิปัญญาไทยพื้นบ้านมาทำธุรกิจและขยายเป็นธุรกิจชุมชน โดยมีหน่วยงานภาครัฐอย่าง บสย.เป็นพี่เลี้ยงที่ดูแลอย่างดี

"ป้าปุ้ม" ผู้นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างธุรกิจชุมชน

logoline