svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กทม.เล็งขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย

12 กรกฎาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กทม.เล็งขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ตั้งเป้ากู้รายได้ติดลบฟื้นปี 61 "สุขุมพันธุ์" โยนสจส.กำหนดวันดีเดย์

- 12 ก.ค. 59 - รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) แจ้งว่า สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ได้เสนอการปรับอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สายสีเขียว ในส่วนต่อขยายจากสถานีตากสินถึงสถานีบางหว้า และจากสถานีอ่อนนุชถึงสถานีแบริ่ง เข้าสู่ที่ประชุมคณะผู้บริหาร ซึ่งมีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานการประชุมเมื่อต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา
โดยสจส.ได้รายงานว่า สำหรับอัตราค่าโดยสารปัจจุบันของระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว ส่วนต่อขยายจากสถานีวงเวียนใหญ่-สถานีบางหว้า และจากสถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง อยู่ในอัตรา 10 บาทตลอดสาย แต่อัตราค่าโดยสารใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งไม่เคยมีการปรับราคาตั้งแต่เปิดให้บริการ จึงมีความจำเป็นต้องปรับอัตราค่าโดยสารให้เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบด้วย โดยที่สถานีวงเวียนใหญ่-สถานีตลาดพลู และจากสถานีอ่อนนุช-สถานีอุดมสุข จะปรับมาอยู่ที่ 15 บาทตลอดสาย ส่วนจากสถานีวงเวียนใหญ่-สถานีบางหว้า และจากสถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง จะปรับมาอยู่ที่ 20 บาทตลอดสาย

กทม.เล็งขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย


รายงานข่าวระบุต่อว่า นอกจากนี้ สจส.ได้ประมาณการรายได้เมื่อลบรายจ่ายของค่าโดยสาร หากใช่ค่าโดยสารในอัตราเดิมในปี 2561 จากสถานีกรุงธนบุรี-สถานีวงเวียนใหญ่ จะบวกอยู่ที่ 109.73 ล้านบาท และจากสถานีโพธิ์นิมิตร-สถานีบางหว้า จะติดลบอยู่ที่ 279.21 ล้านบาท ส่วนจากสถานีบางจาก-สถานีแบริ่ง จะติดลบอยู่ที่ 344.54 ล้านบาท ทำให้การประมาณการรายได้เมื่อลบรายจ่ายของค่าโดยสารในปี 2561 จะส่งผลให้กทม.ติดลบ 514.02 ล้านบาท แต่เมื่อมีอัตราค่าโดยสารใหม่ที่เกิดขึ้น สจส.ได้ประมาณการรายได้ลบรายจ่ายค่าโดยสาร จะพบว่าในปี 2560 การเดินทางจากสถานีกรุงธนบุรี-สถานีวงเวียนใหญ่ จะอยู่ที่ 75.37 ล้านบาท และสถานีโพธิ์นิมิตร-สถานีบางหว้า จะติดลบอยู่ที่ 108.78 ล้านบาท ส่วนสถานีบางจาก-สถานีแบริ่ง จะติดลบอยู่ที่ 62.47 ล้านบาท ทำให้การประมาณการรายได้เมื่อลบรายจ่ายของค่าโดยสารในปี 2560 จะส่งผลให้กทม.ติดลบน้อยลงมาอยู่ที่ 95.88 ล้านบาท

กทม.เล็งขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย


"จากนั้นในปี 2561 เมื่อได้ประมาณการรายได้ลบรายจ่าย ค่าโดยสารในอัตราใหม่ จากสถานีกรุงธนบุรี-สถานีวงเวียนใหญ่ จะอยู่ที่ 109.72 ล้านบาท และสถานีโพธิ์นิมิตร-สถานีบางหว้า ยังติดลบอยู่ที่ 66.07 ล้านบาท ส่วนสถานีบางจาก-สถานีแบริ่ง จะติดลบที่ 27.59 ล้านบาท ทำให้การประมาณการรายได้เมื่อลบรายจ่ายของค่าโดยสารในปี 2561 จะส่งผลให้กทม.กลับมามีรายได้ 16.06 ล้านบาท"รายงานข่าวระบุ
รายงานข่าวระบุด้วยว่า ทั้งนี้ ปัจจุบันกทม.ได้ประเมินการรายได้ ในอัตราค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย 3 เส้นทางที่กทม.ดำเนินในส่วนต่อขยาย 1.สถานีสะพานตากสิน-สถานีวงเวียนใหญ่ ประจำปี 2558 มีรายได้อยู่ที่ 325.17 ล้านบาท รายจ่ายอยู่ที่ 301.35 ล้านบาท ส่งผลให้มีรายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่ที่ 23.82 ล้านบาท ส่วนในปี 2557 มีรายได้อยู่ที่ 295.71 ล้านบาท รายจ่ายอยู่ที่ 289.66 ล้านบาท ส่งผลให้มีรายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่ที่ 6.05 ล้านบาท
2.ส่วนต่อขยายสถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง ประจำปี 2558 มีรายได้อยู่ที่ 433.56 ล้านบาท รายจ่ายอยู่ที่ 882.17 ล้านบาท ส่งผลให้มีรายจ่ายมากกว่ารายได้อยู่ที่ติดลบอยู่ที่ 448.62 ล้านบาท ส่วนปี 2557 มีรายได้อยู่ที่ 399.28 ล้านบาท รายจ่ายอยู่ที่ 860.52 ล้านบาท ส่งผลให้มีรายจ่ายมากกว่ารายได้อยู่ที่ติดลบอยู่ที่ 461.24 ล้านบาท
และ 3.ส่วนต่อขยายวงเวียนใหญ่-บางหว้า ในปี 2558 มีรายได้อยู่ที่ 244.63 ล้านบาท รายจ่ายอยู่ที่ 591.46 ล้านบาท ส่งผลให้มีรายจ่ายมากกว่ารายได้อยู่ที่ติดลบอยู่ที่ 346.82 ล้านบาท ส่วนปี 2557 มีรายได้อยู่ที่ 204.06 ล้านบาท รายจ่ายอยู่ที่ 563.95 ล้านบาท ส่งผลให้มีรายจ่ายมากกว่ารายได้อยู่ที่ติดลบอยู่ที่ 359.89 ล้านบาท

กทม.เล็งขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย


"อย่างไรก็ตามม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้มอบหมายให้สจส.กลับไปกำหนดวันในการปรับอัตราค่าโดยสารใหม่ พร้อมปรับระบบซอฟแวร์ทีใช้ในการตั้งค่าระบบอัตราค่าโดยสาร จากนั้นเมื่อสจส.กำหนดวันในการปรับอัตราค่าโดยสารใหม่ รวมทั้งขั้นตอนปรับระบบซอฟแวร์แล้วเสร็จ ให้เสนอกลับเข้าที่ประชุมคณะผู้บริหารกทม.อีกครั้ง เพื่อพิจารณาแนวทางก่อนจะประกาศอัตราค่าโดยสารใหม่ต่อไป"รายงายข่าวระบุ

ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สจส.ไปศึกษาเวลาที่เหมาะสมในการปรับราคาค่าโดยสาร โดยตนได้ย้ำให้ทุกอย่างมีความพร้อมก่อนที่จะประกาศขึ้นอัตราค่าโดยสารใหม่ ซึ่งไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็จะต้องปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารอยู่แล้ว

logoline