svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

รู้เรื่อง! จุดหักเหวงการทีวีดิจิทัล บรรทัดฐานใหม่การ "คืนช่อง" ของช่องอื่น?

13 มีนาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัทไทยทีวี ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เนื่องจาก กสทช. ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ประกาศเชิญชวนไว้ ดังนั้นเมื่อคู่กรณีบอกเลิกสัญญาแล้ว จึงให้ กสทช. คืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรุงเทพ ที่ได้วางไว้คืนแก่บริษัทไทยทีวีด้วย ภายใน 60 วันนับแต่คดีถึงที่สุด ส่วนคำขออื่นศาลให้ยกทั้งหมด"


รู้เรื่อง! จุดหักเหวงการทีวีดิจิทัล บรรทัดฐานใหม่การ "คืนช่อง" ของช่องอื่น?



ด้านบนนี้คือวรรคทองของคำวินิจฉัยจาก ศาลปกครองกลางกรณีการคืนช่องโดยไม่ถูกริบเงินประกัน เมื่อศาลปกครองวินิจฉัยว่า บริษัท ไทยทีวี จำกัด ของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือรู้จักในชื่อ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล

อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เมื่อศาลปกครอง ตัดสินให้เอกชนผู้ชนะการประมูลช่องทีวีดิจิทัล สามารถคืนไลเซนส์ทีวีดิจิทัลได้ ในภาวะที่ธุรกิจทีวีดิจิทัลกำลังขาดทุนหนัก การประกาศ "จอดำ" ช่องข่าวไทยทีวี 17 พร้อมช่องเด็กโลกา โดยบริษัทไทยทีวี ของ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ "เจ๊ติ๋มทีวีพูล" ในปี 2558 คือดัชนีหนึ่งที่บ่งชี้ระดับอาการของช่องข่าวได้ดี ขณะที่ 6 ช่องข่าวที่เหลือ ผลประกอบการขาดทุนกันถ้วนหน้า สภาวะดังกล่าวตามมาด้วยการเลิกจ้างพนักงานจากช่องข่าวหลายช่อง เมื่อย้อนกลับไปดูผลประกอบการบริษัททีวีดิจิทัลในตลาดหุ้นระหว่างปี 2557-2560 เราจะพบว่า ช่องข่าวและช่องเนื้อหาทั่วไป (ที่ไม่มีจุดแข็งด้านบันเทิง) พบว่าสถานการณ์ตกต่ำมากกว่าช่องที่เน้นเนื้อหาบันเทิง

นับตั้งแต่เดือน พ.ค.2558 ที่ถึงกำหนดจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิทัล งวดที่ 2 ปรากฏสถานการณ์ช็อกวงการสื่อเพียงปีแรกของอายุใบอนุญาต 15 ปี เมื่อ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย์ หรือ"เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล" ในนามบริษัท ไทยทีวี จำกัด ผู้ชนะประมูลทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ส่งหนังสือขอคืนใบอนุญาตไม่ประกอบกิจการต่อ ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้อง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อยู่ที่ศาลปกครอง

รู้เรื่อง! จุดหักเหวงการทีวีดิจิทัล บรรทัดฐานใหม่การ "คืนช่อง" ของช่องอื่น?

รู้เรื่อง! จุดหักเหวงการทีวีดิจิทัล บรรทัดฐานใหม่การ "คืนช่อง" ของช่องอื่น?

ดังนั้นการที่เจ๊ติ๋มชนะคดีเรื่องคืนช่อง น่าจะเป็นจุดที่ทำให้อีกหลายช่องคงจะขอคืนด้วยเช่นกัน ส่วน กสทช.ก็เตรียมงานเข้ากันได้
ตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ปี ของกิจการทีวีดิจิทัลที่เปิดประมูล24 ช่องใหม่ มีเอกชนแห่เคาะประมูลมาด้วยมูลค่ารวม 50,862 ล้านบาท สูงกว่าราคาขั้นต้นเปิดประมูลที่ 15,190 ล้านบาท หรือมูลค่าพุ่งขึ้นกว่า 230% ได้ส่งสัญญาณที่แสดงถึงปัญหาของผู้ที่ประกอบการมาต่อเนื่อง จากรายได้ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ผู้ประกอบการทั้งรายเดิม รายใหม่ ต่างอยู่ในภาวะ ขาดทุนสาหัส

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจทีวีดิจิทัลไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง
1. ผู้ประมูลมองว่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลเป็นของหายากจึงเคาะราคาประมูลสูงมาก เนื่องจากที่ผ่านมาทีวีคือธุรกิจผูกขาดใบอนุญาตมีจำกัดจึงสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ได้รับสัมปทาน
2. ผู้ประมูลคาดการณ์เชิงบวก โดยเชื่อว่าจะสามารถช่วงชิงตลาดโฆษณาทีวีที่มีมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทต่อปีโดยเฉลี่ยได้บ้าง (ความคิดที่ว่า แค่ได้ส่วนแบ่งตลาด 3-5% ของมูลค่ารวมก็โอเคแล้วเป็นที่แพร่หลายมากในกลุ่มคนทำทีวีดิจิทัลเวลานั้น)
3. จำนวนทีวีดิจิทัลมีมากเกินไป ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาฯ กสทช.มองว่า จำนวนทีวีดิจิทัลที่เหมาะสมคือ 10-16 ช่อง
4. ทีวีดิจิทัลไม่สามารถสร้างฐานผู้ชมได้มากพอ
5. มีภาระจากค่าใบอนุญาตและค่าเช่าโครงข่าย
6. ได้รับผลกระทบจากช่วงเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจ และการขยายตัวของสื่อใหม่ที่แย่งชิงผู้ชมจำนวนหนึ่งไป
ที่ผ่านมาจึงเห็นการเรียกร้องให้ กสทช.และรัฐบาล หามาตรการ แก้ไขสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติของทีวีดิจิทัล แต่เสียงตอบรับกลับมาจากฝั่ง กสทช. คือติดข้อกฎหมาย ที่ไม่มีอำนาจกระทำการได้ โดยเฉพาะการคืนใบอนุญาต และไม่จ่ายเงินต่อ ดังนั้นแนวทางการช่วยเหลือในปี 2559 จึงใช้ คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ช่วยเหลือ ด้วยการขยายเวลาจ่ายเงินค่าใบอนุญาตจาก 6 งวด ออกไปเป็น 9 งวด แม้กระนั้นก็ยังมีข้อเรียกร้องให้พิจารณามาตรการเพิ่มเติม ด้วยการเปิดให้คืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล เปิดทางให้กลุ่มที่ไปไม่ไหว ออกจากตลาด โดยอาศัยอำนาจ ม.44 แต่แนวทางการแก้ปัญหา ยังต้องอาศัยข้อกฎหมายที่ถูกต้อง เมื่อเงินประมูล ทีวีดิจิทัล ได้ถูกกำหนดให้เป็นรายได้ของรัฐไปแล้ว หากช่องที่มีเรตติ้งน้อยๆ ยังแก้สถานการณ์ไม่ได้ ยังหาแคแร็กเตอร์ช่องไม่ได้ หากลุ่มคนดูไม่เจอ ก็ต้องอยู่ในภาวะที่เหนื่อยต่อไป แล้วช่องไหนจะเป็นรายต่อไป

รู้เรื่อง! จุดหักเหวงการทีวีดิจิทัล บรรทัดฐานใหม่การ "คืนช่อง" ของช่องอื่น?

logoline