svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

Think Tank ของอังกฤษประเมินภาพเศรษฐกิจโลกในอีก 15 ปีข้างหน้า

27 ธันวาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Think Tank ของอังกฤษประเมินภาพเศรษฐกิจโลกในอีก 15 ปีข้างหน้า ประเทศพัฒนาแล้วในกลุ่ม G-7 จะเสียแชมป์ผู้นำโลกให้กับจีนและอินเดียในปี 2032

Think Tank ของอังกฤษประเมินภาพเศรษฐกิจโลกในอีก 15 ปีข้างหน้า ประเทศพัฒนาแล้วในกลุ่ม G-7 จะเสียแชมป์ผู้นำโลกให้กับจีนและอินเดีย โดยเฉพาะจีนที่จะก้าวขึ้นมามีขนาดของจีดีพเป็นเบอร์ 1 ของโลกแทนสหรัฐซึ่งตกไปเป็นเบอร์ 2 ในปี 2032 ขณะเดียวกับที่อินเดียจะก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 3 แทนที่ญี่ปุ่นซึ่งจะตกลงไปอยู่อันดับ 4ท่ามกลางคำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางสำคัญของโลกอาจต้องสูญเสียการควบคุมนโยบายการเงินในอนาคต หลังจากที่ได้อัดฉีดเม็ดเงินเสริมสภาพคล่องอย่างสุดโต่ง เป็นจำนวนมหาศาลถึง 15 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆ กับการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำใกล้ 0% ที่ทำให้เกิดการบิดเบือนของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ที่พุ่งขึ้นมาอย่างร้อนแรง รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวตามมา อาจจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดมากขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตที่ช้าลง1. The London-based Center for Economics and Business Research ซึ่งเป็น Think Tank องค์กรระดมสมองของอังกฤษ เปิดเผยในรายงานล่าสุดถึงมุมมองที่เชื่อว่า จีนจะก้าวขึ้นมากลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก แทนที่สหรัฐในปี 2032 หลังจากนโยบายการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้บูมขึ้น จนามารถชนะผ่านฐี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2011 ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในขณะนั้น โดยเบียดญี่ปุ่นตกลงไปอยู่เป็นอันดับ 3หลังจากนั้นจีนได้กลายเป็นโจทย์วำคัญที่ท้าทายเบอร์ 1 อย่างสหรัฐจนก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีการค้าขนาดใหญ่ที่สุดของโลก แต่ยังตามหลังด้วยขนาดของเศรษฐกิจอย่างไก็ตาม การถูกท้าทายของสหรัฐซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่พัฒนาแล้วในกลุ่ม G-7 (ที่ประกอบด้วยอังกกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐ) ถูกสั่นคลอนไปด้วย โดยมีการปรับเปลี่ยนอันดับที่ถอนร่นลดหลั่นลงไป และตั้งแต่ปี 2027 จะเริ่มเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของกลุ่ม G-72. Think Tank ของอังกฤษ ยังเชื่องว่า อินเดียที่โดดเด่นในทิศทางเศรษฐกิจจะก้าวขึ้นมาแทนที่ญี่ปุ่นที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 3 ของโลก จะตกลงไปอยู่ที่อันดับ 4 โดยที่สามารถมองเห็นแนวโน้มของการปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนนับตั้งแต่ปี 2027 ขณะที่เยอรมนีซึ่งอยู่ในอันดับ 4 จะตกลงไปเป็นอันดับ 5 ตั้งแต่ปี 2027 ส่วนอังกฤษที่ทรงตัวในอันดับ 6 ก็จะตกลงไปที่อันดับ 7 ในปี 2032 สำหรับฝั่งเศสที่ยืนในอันดับ 5 ในปี 2017 จะถอยร่นลงไปที่ 6 ในปี 2018 โดยตกต่อเนื่องลงที่ 7, 8 และ 9 ในปี 2022 ปี2027 และปี 2032 ตามลำดับ รวมถึงแคนาดาตกลงไปที่อันดับ 12 และอิตาลีจะมีขนาดจีดีพีร่วงลงไปที่ 13 ในปี 20323. สำหรับญี่ปุ่นจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ถอยร่นลงสู่อันดับ 4 ตั้งแต่ปี 2027 โดยเสียอันดับ 3 ให้กับอินเดียอย่างไรก็ตาม ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวได้ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2017-2018 แต่ญี่ปุ่นยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มผลิตภาพหรือ Productivity เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว4. ในปี 2032 ยังมีประเด็นที่ต้องจับตาดูบราซิลซึ่งอยู่กลุ่มที่เคยมีอัตราการเติบโตสูง แต่ต้องเผชิญกับวิกฤคิทางการเงินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะสามารถพลิกฟื้นกลับมาอยู่ที่อันดับ 6 ในปี 2032 โดยไต่จากอันดับ 8 หลังจากที่มีวามสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างแนบแน่นในกลุ่ม BRICS ซึ่งมีสมาชิกคีอ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้นอกจากนี้ ประเทศในเอเชียที่น่าจีบตามองคือ เกาหลีใต้จะขยับขึ้นเงียบๆ จากอันดับ 10 ในปี 2022 เป็นอันดับ 9 ในปี 2027 และอันดับ 8 ในปี 2032 รวมทั้งอินโดนีเซียของกลุ่มอาเซียนจะขยับขึ้นจาก 16 ในปี 2022 เป็น 13 ในปี 2027 เป็นอันดับ 10 ในปี 20325. ทั้งนี้ Think Tank 5ของอังกฤษไม่ได้อธิบายในเหตุผลที่ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงอันดับทางเศรษฐกิจของประเทศสำคัญๆ ครั้งนี้แต่ก็มีคำถามต่อเนื่อง เนื่องจากบทบาทของธนาคารกลางสำคัญของโลกอาจจะสูญเสียการควบคุมนโยบายการเงินในอนาคต หลังจากที่ได้อัดฉีดเม็ดเงินเสริมสภาพคล่องอย่างสุดโต่ง เป็นจำนวนมหาศาลถึง 15 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆ กับการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำใกล้ 0% ที่ทำให้เกิดการบิดเบือนของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ที่พุ่งขึ้นมาอย่างร้อนแรง รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวตามมาอาจจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดมากขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตที่ช้าลง โดยที่ธนาคารกลางชั่นนำของโลกทั้งในสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น จะพยายามพลิกทิศทางให้กลับมาใช้นโยบายการเงินที่เป็นกลาง และมีความเข้มงวดมากขึ้น อาจจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดมากขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตที่ชะลอตัวลงในอนาคต

logoline