svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ภารกิจกลับโลก ของลูกหนี้บัตรเครดิต

24 ธันวาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหาหนี้สินไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาเก่าที่อยู่กับสังคมไทยมานาน นับว่าเป็นเรื่องเล็กระดับบุคคล แต่ส่งผลต่อการเติบโตของเศรฐกิจระดับชาติ รายงานชุดนี้ มีขึ้นในยุคเศรษฐกิจผืด หนี้ครัวเรือนพุ่งไม่หยุด



(1)

เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทีเดียว หากจะกล่าวว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหาหนี้สิน เป็นหนี้เพราะความจำเป็น หรือเป็นหนี้เพราะความฟุ่มเฟือย คงเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่คน แต่สำหรับคนมีหนี้แล้วล้วนมีคำถามเดียวกันว่าจะแก้ปัญหาของตัวเองอย่างไร 

สุเมธ เจตธำรงชัย อดีตลูกหนี้บัตรเครดิต ที่ยอดรวมแล้วสูงถึง 1 ล้าน 5 แสนบาท หนี้ก้อนโตก้อนนี้ เขาก่อขึ้นหลังได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ ในตำแหน่งวิศวกร ซึ่งมีเงินเดือนสูงถึง 6 หมื่นบาทต่อเดือน

สุเมธในวัย 30 ปีต้อง ผ่านการขึ้นศาลมาหลายครั้งโดนอายัดเงินเดือน และเกือบถูกยึดบ้าน เพราะถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง เนื่องจากมีเงินไม่พอใช้หนี้  

ชายวัย 30 ปีคนนี้ ตัดสินใจเปิดเผยเรื่องราวของตัวเองกับนักข่าวของเรา เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์ กับลคนอื่นๆ และนี่ก็คือ บัตรเครดิต จำนวน 15 ใบ ซึ่งมีวงเงินไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นบาท คำถามคือ สุเมธ ก่อหนี้ได้สูงมากขนาดนี้ ทั้งๆที่มีเงินเดือนที่สูงอยู่แล้วได้อย่างไร  

สุเมธ ยอมรับว่าปัญหาหนี้สินซ้ำซ้อน มาจากความพยายาม หาแหล่งเงินกู้ก้อนใหม่มา กลบหนี้ก้อนเดิม อีกทั้งวินัยทางการเงินที่หย่อนยาน ขาดความยับยั่งชั่งใจ เมื่อมีเงินอยู่ในมือก็มีความรู้สึกอยากใช้จ่าย

(2) 

ข้อมูลจากเครดิตบูโร พบว่าคนไทย เป็นหนี้จำนวน 21 คนล้านคน จากประชากร 70 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 3 ล้านคน ที่หยุดจ่าย ไม่สามารถชำระหนี้ ให้กับบัตรเครดิตและสินเชื่อต่อไปได้แล้ว ดูเหมือนว่าจำนวนคนที่จ่ายหนี้ต่อไปไม่ไหวจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในภาวะเศรษฐกิจิอย่างนี้ด้วย 

โดยเฉพาะ กับ กลุ่ม GEN Y ช่วงวัย 19-36ปี ที่เป็นหนี้เยอะที่สุด เป็นกลุ่มที่มีการขอสินเชื่อรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกประเภท  ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล 

(3) 

ลูกหนี้บัตรเครดิตแทบทุกคนมีความพยายามใช้หนี้ให้หมดเร็วๆ แต่ปัญหาก็คือธนาคารผู้ปล่อยสินเชื้อเก็บดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ทำให้ต้องใช้หนี้นานมากขึ้น และเมื่อผิดชำระ ดอกเบี้ยก็ยิ่งสูงขึ้นๆ มูลนิธิผู้บริโภคจึงถามหาความเป็นธรรมต่อเรื่องนี้ 

เป็นที่รู้กันดีว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อจะคิดดอกเบี้ยต่ำ และดอกเบี้ยบัตรเครดิต บัตรกดสินเชื่อบางแห่งอาจสูงเกินตามที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี 

เรากลับมาที่เรื่องราวของสุเมธ ในที่สุดเขาแก้ปัญหาด้วยการลาออกจากงาน (เป็นการแก้ปัญหาส่วนบุคคล) และหยุดชำระหนี้ 

ทุกวันนี้ สุเมธ ทยอยใช้หนี้จนเกือบหมดแล้ว หลังจากที่ยอมรับความจริง และไม่เขินอายที่จะบอกเจ้าหนี้ว่าไม่มีเงินใช้หนี้  เขาลาออกจากงานประจำ มาเป็นวิศวกรอิสระ รับตรวจงานจากผู้รับเหมา พยายามเก็บเงินก้อน และขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ เท่าที่จะตกลงกันได้ 

(4)
การก่อหนี้จำนวนมากของสุเมธ อาจไม่ได้เป็นความผิดของสุเมธเพียงคนเดียว เพราะปัจจุบัน บริษัท บัตรเครดิต พยายามปล่อยสินเชื่อให้กับพนักงานใหม่ ที่มีเงินเดือนประจำและไม่เคยเสียประวัติการชำระหนี้มาก่อน (เพราะยังไม่เคยเป็นหนี้)



ความพยายามปล่อยสินเชื่อ ให้กับลูกค้ารายย่อยจำนวนมากๆ ก็นำมาซึ่ง ผลประกอบการอย่างงาม จากดอกเบี้ย ที่ลูกหนี้ต้องจ่ายทุกคน  เมื่อการขอสินเชื่อง่ายขึ้น หนี้ต่อหัวของคนไทยก็เพิ่มขึ้นเท่าตัว จากคนละ 70,000 บาท เมื่อปี 2552 มาเป็น 150,000 บาทในปี 2559

ชมรมหนี้บัตรเครดิต จัดอันดับบัตรเครดิตที่กลุ่มคน GEN Y เป็นหนี้เยอะที่สุดคือ อันดับที่ 1 UMAYPLUS 2. บัตรอิออน 3. บัตร KTC และ 4.บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อย จะเห็นได้ว่าส่วนมากเป็นหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดในแบบ NON BANK  มากกว่าบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารทั่วไป ซึ่งมีดอกเบี้ยสูงมากเกินตามที่กฎหมาย แต่มีวิธีเลี่ยงบาลี ให้การเก็บดอกเบี้ยสูงๆ เป็นสิ่งถูกกฎหมาย 

(5)

หากผิดชำระหนี้บัตรเครดิต ผลกระทบอย่างแรกคือจะถูกขึ้นบัญชีดำ หรือแบล็กลิส ซึ่งมีผลให้ไม่สามารถขอสินเชื้อใดๆ ได้อีก แต่ลูกหนี้บัตรเครดิต เมื่อไม่มีเงินเพียงพอใช้หนี้แล้ว  การยอมติดแบล็กลิส เป็นทางออกหนึ่งเพื่อไม่ต้องก่อหนี้เพิ่ม

ไม่นานนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งลดวงเงินไม่เงินกู้ของ  กลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อเดือน เหลือ1.5 เท่าของรายได้ และเปิดคลีนิคแก้หนี้เพื่อแก้ปํญหาลูกหนี้ แต่ ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิต มูลนิธิผู้บริโภค บอกว่าโครงการคลินิกแก้หนี้ นั้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา เพราะว่า ลูกหนี้ ส่วนใหญ่ไม่ผ่านคุณสมบัติ  




(6)

กลไกของรัฐไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของลูกหนี้มากนัก ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิต ฝากถึง ลูกหนี้ ที่กำลังเจอกับหมายศาล หรือสถาบันการเงินที่โทรมาทวงหนี้ ว่าต้องตั้งสติ และคำนึงถึงปากท้อง ประจำวันก่อน จากนั้นก็วางแผนเก็บเงินก้อนที่ใช้หนี้ทีเดียว หรือหากไม่มี ก็ต้องยอมถูกฟ้อง เพราะคดีบัตรเครดิต ไม่ใช่คดีอาญา และยังมีคนที่เป็นหนี้อีกหลายล้านคนในประเทศไทย ที่กำลังเจอปัญหาเหล่านี้เหมือนกัน  

ในเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่ตั้งกระทู้เรื่องหนี้บัตรเครดิต บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าการขึ้นศาลไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และนั่นคือการได้รับความเป็นธรรม แต่เป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ โดยหลังจากที่บริษัท ทวงหนี้ได้ระยะหนึ่งแล้ว หลังจากนี้ ต่อไปนี้คือ หลักการฟ้องศาล 

1. เจ้าหนี้ต้องฟ้องศาลก่อน
2. พอศาลรับฟ้องแล้วจะมีหมายศาลมาแปะหน้าบ้าน
3. จะมีขั้นตอนเจรจาไกล่เกลี่ย ขั้นตอนนี้นาน 2 เดือน
4. ไกล่เกลี่ยกันก่อนขึ้นศาลไม่ได้ ไม่ตกลง ถึงจะขึ้นศาลครับ
ขั้นตอนพิจารณคดีประมาณ 1 ปีครึ่ง  นานหน่อยก็ 2 ปี
5. เมื่อเจ้าหนี้+ลูกหนี้ตกลงกันได้ว่าชำระหนี้กันแค่ไหนอย่างไร กี่ปี ก็จะเป็น "คำสั่งศาล" คือคำพิพากษาออกมา เช่น ต้องชำระหนี้หมดสิ้นภายใน 3 ปี 5 ปีว่ากันไป
6. คุณผิดนัดชำระหนี้อีกที คราวนี้เจ้าหนี้ถึงจะยื่นคำร้องต่อศาลขอยึดทรัพย์
(ขอบคุณข้อมูลจาก pantip.com) 

ในยุคนี้เพื่อความเป็นธรรมในการทวงหนี้ ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติของเจ้าหนี้ และลูกหนี้สามารถร้องเรียนได้ ถ้าเจ้าหนี้ทวงหนี้อย่างผิดกฎหมาย 

1.ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้
2.ต้องแสดงตัวทุกครั้งในการไปทวงหนี้
3.ห้ามเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้
4.ห้ามหลอกลวงเพื่อให้ได้ข้อมูลของลูกหนี้
5.ติดต่อลูกหนี้จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น. วันหยุด 08.00-18.00 น.
6.ติดต่อลูกหนี้ในจำนวนครั้งที่เหมาะสม
7.หากรับอำนาจให้มาทวงหนี้ ต้องแสดงหลักฐานด้วย
และลูกหนี้ร้องเรียนได้ หาก 
1.ปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
2.ข่มขู่ใช้ความรุนแรง
3.ดูหมิ่นหรือพูดจาไม่สุภาพ
4.ส่งเอกสารระบุข้อความแสดงการทวงหนี้ชัดเจน
5.เปิดเผยความลับการเป็นหนี้ของตน
6.หลอกให้เข้าใจผิด
7.เรียกค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้เกินอัตรา
8.เสนอให้จ่ายเช็คแทน ทั้งที่รู้ว่าไม่มีเงินชำระ

*ลูกหนี้ร้องเรียนได้ที่คณะกรรมการกำกับการทวงหนี้ประจำจังหวัด
*ทวงนอกเวลา  ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
*ข่มขู่ใช้ความรุนแรง  จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท


สำหรับ แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สิน ในมุมมองของ เครดิตบูโร คือ คนไทยต้องมีวินัยทางการเงินที่มากขึ้น ซื้อของมาใช้เพื่อจำเป็นเท่านั้น ควบคุมตัวเองไม่ให้จ่ายหนี้ทั้งหมดเกินร้อยละ  40 ของเงินเดือน แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตให้ใช้ 100 จ่าย 100 เพื่อใม่ให้เกิดดอกเบี้ยตามมาจนกลายมาเป็นหนี้เสียที่ไม่สามารถจ่ายไหวในที่สุด  

บทเรียนเรื่องนี้ นอกจากหนี้นอกระบบที่ควรระวังแล้ว หนี้ในระบบอย่างบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ไม่ควรทำบัตรเหล่าเลยไม่ว่าด้วยผลประโยชน์ได้ เพราะไม่คุ้มค่าจริงๆ หนี้ที่เป็นธรรม มากที่สุด คือ "หนี้สหกรณ์"  

logoline