svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทุบสถิติ! เหมยขาบ 9 วันติด เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก

05 ธันวาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มีการประเมินว่าตั้งแต่กลางธ.ค.นี้ อุณหภูมิความหนาวเย็นจะทวีขึ้นอีก ไปจนถึงกลาง ม.ค.ปี 60 จะได้สัมผัสความหนาวเย็นที่สุด แต่ปีนี้อุณหภูมิต่ำสุดยอดดอย ยอดภู จะทุบสถิติลบ 4 องศา เหมือนปีก่อนหรือไม่ กรุงเทพฯจะมีโอกาสลดฮวบ ต่ำสุด 15 องศา เหมือนปี58 หรือไม่ ต้องรอลุ้น...กันครับ


ปรากฎการณ์ที่มาพร้อมความหนาวเย็น หนาวยะเยือก คือ การเกิดน้ำค้างแข็ง หรือ "เหมยขาบ"ทางภาคเหนือ ทางอีสานก็คือ "แม่คะนิ้ง" ที่จะปรากฎในช่วงยามเช้า เวลาที่หนาวยะเยือก

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก


"แม่คะนิ้ง" แรกของปีนี้ ยังไม่เกิด ส่วน "เหมยขาบ " แรกของฤดูหนาว ปี60 เกิดขึ้นแล้วที่ยอดดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ เมื่อ 27 พ.ย.อุณหภูมิ จุดชมวิวกิ่วแม่ปาน 3 องศา นับเป็นอุณหภูมิที่ต่ำสุดตั้งแต่เข้าฤดูหนาว และ เกิดต่อเนื่อง 9 วันติดต่อกัน จนถึงเช้านี้( 5 ธ.ค. ) เรียกว่าทุบสถิติยาวนานในรอบหลายปี ที่ไม่เคยปรากฏการเกิดน้ำค้างแข็งติดต่อกันยาวนานเกินหนึ่งสัปดาห์ ที่ยาวนานราว 4-5 วัน ก็เห็นได้เมื่อปี 2558 ในปีนั้นหนาวจัด หนาวผิดปกติ อย่างอุณหภูมิในกรุงเทพก็ลดต่ำลดฮวบ 6-9 องศา ภาคพื้นเหลือ 15 องศา และยังมีลมตะวันตกปกคลุมเป็นระยะ

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก


นาย เมธี มหายศนันท์ ผ.อ. ศูนย์อุตุนิยยมวิทยาภาคเหนือ บอกว่า ปีนี้ "เหมยขาบ" เกิดขึ้นเร็ว ปรากฏติดต่อกันหลายวัน มาจากปัจจัยที่มวลอากาศเย็นลงมาต่อเนื่อง แช่นาน เมื่ออากาศเย็นแช่นาน ก็ทำให้เกิดเหมยขาบได้ทุกวัน อีกปัจจัยสูงสุดแดนสยาม สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 2565 เมตร นอกจากอากาศเย็นทั้งปี สาเหตุที่เกิด น้ำค้างแข็ง หรือ "เหมยขาบ" ได้บ่อย เพราะมีคลื่นลมกระแสฝ่ายตะวันตก มาช่วยทำให้เพิ่มความหนาว โดยไม่ต้องรอมวลอากาศเย็นจากจีนเพียงปัจจัยเดียว

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก


คาดดว่าช่วงที่หนาวสุด คือ ปลายเดือนธันวาคม โดยจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ปีนี้ภาคเหนือจะหนาวต่อเนื่องมากกว่าปีก่อน ๆ ส่วนการเกิด"เหมยขาบ" บนดอยอ่างขาง คาดว่า จะเกิดในช่วงของปลายเดือนธันวาคม

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก


"แม่คะนิ้ง" ในภาษาอีสาน หรือ "เหมยขาบ" ในภาษาพื้นเมืองเหนือ เกิดจากไอน้ำในอากาศที่ใกล้ๆ กับพื้นผิวดินลดอุณหภูมิลง จนถึงจุดน้ำค้าง จากนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ โดยอุณหภูมิยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงจุดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะเกิดการแข็งตัวกลายเป็นน้ำค้างแข็ง เกาะอวดโฉมตามยอดไม้ใบหญ้า

การเกิดแม่คะนิ้ง ไม่ใช่พอหนาวแล้ว จะเกิดกันง่ายๆ แม่คะนิ้งจะเกิดก็ต่อเมื่อมีอากาศหนาวจัดจนน้ำค้างยอดหญ้า หรือ ยอดไม้แข็งตัว อุณหภูมิประมาณศูนย์องศาเซลเซียสหรือติดลบเล็กน้อย

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก


น้ำค้างแข็ง สร้างความตื่นเต้น ตืนตา ให้นักท่องเที่ยว แต่การเกิดแม่คะนิ้งถือสร้างความเสียหายให้แก่ พืชผักต่างๆ หากเกิดติดต่อกันยาวนาน ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนเดือดร้อน "แม่คะนิ้ง"- "เหมยขาบ" ที่พบได้บ่อยๆ คือ ดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ ภูเรือ จ.เลย ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก


สถิติการเกิด เหมยขาบ - แม่คะนิ้ง
อุณหภูมิต่ำสุด ฤดูหนาวปี 59-60
ดอยอ่างขาง เชียงใหม่ ปี 2559 อุณหภูมิต่ำสุด 2 องศา
ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ปี2560 อุณหภูมิต่ำสุด ลบ 2 องศา
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องหล้า พิษณุโลก อุณหภูมิ 2560 ลบ 4 องศา

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก

ทุบสถิติ! เหมยขาบ  9 วันติด
เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง ปรากฏการณ์ที่มากับความหนาวยะเยือก

logoline