svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชาวบ้านพื้นที่ทุ่งรับน้ำ – แก้มลิงเผย ปี 2554 "ยิ่งลักษณ์" จ่ายหลังละ 5 พัน รอค่าชดเชยจาก "คสช."

31 ตุลาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นอกจากจะเปรียบเทียบการบริหารจัดการน้ำระหว่างปี 2554 กับ ปี 2560 แล้ว ชาวบ้านยังเปรียบเทียบการให้ความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลจากทั้ง 2 ยุคด้วย ที่แน่นๆ "ยิ่งลักษณ์" จ่ายชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่แก้มลิง หลังละ 5 พันบาท

วันนี้ไปดูสถานการณ์น้ำค้างทุ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสุพรรณบุรี ยังทรงตัว โดยชาวบ้านต่างเฝ้าดูระดับน้ำว่าจะลดลงหรือไม่ หลังกรมชลประทาน จะเริ่มระบายน้ำออกจากทุ่ง วันที่ 1 พฤศจิกายน นี้ ขณะที่จังหวัดสุพรรณบุรี น้ำท่วมใกล้เคียงปี 2554 ห่างกันเพียง. 20 เซนติเมตร 


เมื่อก่อนนี้ "สุพรรณบุรี" บังคับน้ำด้วยบารมีนักการเมือง ?
จังหวัดสุพรรณบุรีกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกจับตา และนำมาเปรียบเทียบ ให้เห็นภาพ การบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากปี 2554 ข่าวบอกว่า ไม่มีน้ำเข้าทุ่งที่ อ.เดิมบางนางบวช ศรีประจันต์ ดอนเจดีย์ และอ.เมืองสุพรรณบุรี รวมกันเนื้อที่ประมาณ 800 ล้านตารางเมตร 
วิเคราะห์กันตอนนั้นว่า ถ้ายอมให้น้ำเข้าไปขังในทุ่งสูง 1.5 เมตร จะรับน้ำได้ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ด้วยบารมีของนักการเมืองในพื้นที่ใหญ่ ในสุพรรณฯ ที่คุณก็รู้ว่าใคร ไม่ยอมให้น้ำท่วม ทั้งยังมีการบังคับน้ำให้ไหลไปท้องที่อื่น น้ำจึงไหลผิดรูป ที่สุดควบคุมไม่ได้ 
มาดูกันในปีนี้ 2560 ภาพถ่ายดาวเทียมจีสด้า วันนี้ (31 ต.ค. 2560) แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ของอำเภอเดิมบางนางบวชมีน้ำท่วมกระจายอยู่ในจุดสีฟ้า อย่างที่เห็น 

ชาวบ้านพื้นที่ทุ่งรับน้ำ – แก้มลิงเผย ปี 2554 "ยิ่งลักษณ์" จ่ายหลังละ 5 พัน รอค่าชดเชยจาก "คสช."


ชาวบ้านสนใจปากท้อง เผย ยิ่งลักษณ์ จ่ายหลังละ 5000 บาท
อย่างไรก็ตามทีมข่าวได้ลงพื้นที่พูดคุยกับชาวจังหวัดสุพรรณบุรี พวกเขาบอกว่าเมื่อปี 2554 น้ำท่วมทั่วถึงกันหมด แต่มีการกันน้ำไม่ให้เข้าเขตเมืองสุพรรณบุรี จริง แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือเอาตอนนี้ในปีนี้ก็คือ ... การช่วยเหลือที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด 
ปี 2554 ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้น ชาวบ้านในพื้นที่ทุ่งรับน้ำ แก้มลิง ได้เงินช่วยเหลือเยียวหลังละ 5,000 บาท ในขณะที่ คสช. ยังไร้ความชัดเจน เรื่องค่าชดเชย นี่ถ้ามาฟังจากมุมของชาวบ้าน บอกแบบนี้ 

ชาวบ้านพื้นที่ทุ่งรับน้ำ – แก้มลิงเผย ปี 2554 "ยิ่งลักษณ์" จ่ายหลังละ 5 พัน รอค่าชดเชยจาก "คสช."


เช่นเดียวกับพื้นที่ทุ่งรับน้ำแก้มลิง ที่ทุ่งผักไห่ เป็น 1 ใน 12 ทุ่ง ที่ต้องรับน้ำเหนือ ชาวบ้านบอกว่า ชินชา จากน้ำท่วม ที่ท่วมมากท่วมน้อยบ้าง เป็นประจำทุกปี แต่อยากให้ ปีที่มีน้ำท่วมมาก ซึ่งหมายถึงว่าความเสียหายจะมากตามไปด้วยนั้น ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม
2560 ฝนมากเท่าปี 2554 เพราะไปรวมเอาฝนที่ตกทางอีสานมาด้วย 
การบริหารจัดการในปีนี้รัฐบาล คสช. บอกถึงแตกต่างของความเสียหายที่ลดลง แม้ปริมาณน้ำฝนจะใกล้เคียงปี 2554 ว่า ... เพราะการบริหารจัดน้ำให้สัมพันธ์กับกิจกรรมการผลิตพืชเกษตร คือปลูกข้าวเร็วเหลื่อมฤดู เพื่อเว้นที่ตัดยอดน้ำเข้าทุ่ง และ การระดมสร้างแก้มลิงที่ ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ช่วยได้มาก และจะให้การเยียวยากับชาวบ้านผู้เสียสละอย่างเหมาะสม 
แม้ปริมาณฝนปีนี้ จะไกลเคียง กับ ปี 2554 แต่ ปริมาณน้ำฝนที่ว่าใกล้เคียง ปี 2554 คือรวมฝนที่ตก ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ที่ปีนี้มากกว่าปีอื่นๆ ส่วนเมื่อเทียบปริมาณมวลน้ำรวม  ปี 2554 อยู่ที่  8000 ล้านลบ.ม แต่ปีนี้มวลน้ำ อยู่ที่ 1500 ล้านลบ.ม. เท่านั้น ยังห่างกันเยอะ 

ชาวบ้านพื้นที่ทุ่งรับน้ำ – แก้มลิงเผย ปี 2554 "ยิ่งลักษณ์" จ่ายหลังละ 5 พัน รอค่าชดเชยจาก "คสช."


อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน จะทยอยระบายน้ำออกจากทุ่งแก้มลิงทั้ง 12 แห่ง ปริมาณ 1,340 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะใช้เวลาเกือบ 2 เดือน โดยจะค่อยๆ ทยอยระบายน้ำใน 12 ทุ่ง รวมปริมาณกว่า 139.2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ไปจนถึงวันที่ 4 มกราคม 2561 เริ่มจาก ทุ่งบางระกำ ทุ่งเชียงราก  ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก  ทุ่งบางบาล- บ้านแพน ทุ่งผักไห่ และโครงการฯ โพธิ์พระยาตาม ลำดับ
3 โครงการแก้น้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยา จากกึ๋น คสช 
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเสนอ 3 โครงการแก้น้ำท่วม ลุ่มเจ้าพระยา 3 โครงการ ต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา  คือ โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร ความยาว 22.5 กิโลเมตร  จะช่วยแก้ปัญหาการระบายน้ำให้เร็วขึ้นเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยใช้งบประมาณ 1 หมื่น 7 พันล้านบาท 
โครงการคลองระบายน้ำควบคู่ถนนวงแหวนที่ 3 ซึ่งกระทรวงคมนาคมทำแผนงานไว้แล้ว และโครงการขยายคลองแม่น้ำชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย เพื่อเป็นการตัดน้ำก่อนเข้าเขื่อนเจ้าพระยา ระยะทาง 134 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันจุน้ำได้ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะขยายเป็น 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ต้องจับตาดูว่าโครงการเหล่านี้ จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในอนาคต ได้มากน้อยแค่ไหน .

logoline