svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

รวมเทคนิคฮีลใจให้หายจากอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว 

17 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เช็กลิสต์อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Blues) ภาวะที่สะท้อนความเครียด กระทบอารมณ์-ร่างกาย พร้อมเทคนิคฮีลใจปลุกไฟในการทำงาน

ฉลองใหญ่ช่วงวันหยุดยาวไปหลายวัน ทั้งได้พักผ่อน ได้ไปเที่ยว ได้นอนตื่นสาย หลุดจากพันธนาการที่เรียกว่า “งาน” ไปสักพักก็ต้องกลับมาเข้าสู่โหมดการทำงานอีกครั้ง ทำให้หลายคนเกิดอาการเบื่อ ไม่อยากทำงาน ซึ่งเป็นภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Blues) หรืออาการที่มักเกิดได้ทั้งชายและหญิงทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน

มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้เผยความรู้ที่มีทางจิตวิทยา ซึ่งบ่งชี้ว่าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นหลังวันหยุดพักผ่อน คืออคติทางปัญญา ที่เรียกว่าผลกระทบจากความต่าง ซึ่งเป็นกับดักทางความคิดที่เกิดเมื่อคนเราเปรียบเทียบประสบการณ์ในวันพักผ่อนกับประสบการณ์การกลับเข้าสู่โลกแห่งความจริง

สาเหตุของอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Blues) อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น

  • การปรับตัวกลับสู่กิจวัตรประจำวัน
  • ความรับผิดชอบในการทำงานหลังจากได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่
  • ความกังวลกับภาระงานที่รอคอยอยู่ทั้งงานค้างและงานใหม่ที่ท้าทาย
  • ความคิดถึงบรรยากาศสนุกสนานและเวลาแห่งความสุขระหว่างพักผ่อน
  • ความเหนื่อยล้าจากการเดินทางท่องเที่ยวที่อาจมีอุปสรรค
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ร่างกายและจิตใจยังไม่ฟื้นคืนสภาพเต็มที่
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่แตกต่างจากยามพักผ่อน

อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Blues)

อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Blues) จะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกที่กลับสู่ชีวิตทำงาน มีตั้งแต่มึนหัว หงุดหงิด นอนหลับได้ยาก และอาจรุนแรงขึ้นหากมีปัญหาอื่นๆ ในที่ทำงานร่วมด้วย ลองสังเกตดูว่า มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบข้างหรือไม่ 

ความผิดปกติทางอารมณ์ รู้สึกวิตกกังวล หงุดหงิด รู้สึกโหยหาอดีตช่วงที่ได้หยุดยาว รู้สึกไม่สบายใจ มีอาการเครียด

ความผิดปกติด้านร่างกาย ปวดตามเนื้อตัว ปวดหัว หายใจลำบาก ใจเต้นแรง ความดันสูงขึ้น

อาการแบบไหนต้องพบจิตแพทย์

โดยปกติอาการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะหายได้เอง แต่หากเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานกว่านั้น อาจดำเนินไปสู่ “โรคซึมเศร้า” ได้ เช่น

  • เช็กการนอนหลับ : มีพฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือนอนหลับมากเกินไป ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • เช็กอารมณ์ความรู้สึก : มีอารมณ์และนิสัยที่ต่างไปจากเดิมจนสังเกตได้ เช่น มีอารมณ์เศร้าง่าย หรือรู้สึกหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ จนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
  • เช็กความคิด : มีความคิดเชิงลบว่าตัวเองไร้ค่าหรือไม่ควรมีชีวิตอยู่ จากที่ไม่เคยระแวงอะไรมาก่อน ก็คิดว่าจะมีคนมาปองร้ายหรือทำร้าย มีอารมณ์ซึมเศร้าท้อแท้ ไม่มีความสุข คิดทำร้ายตัวเองหรืออยากตาย
  • เช็กการทำงานของสมอง : ความจำเปลี่ยนแปลงไป ความสามารถในการคิดอ่านและการตัดสินใจลดลง เหนื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของโรคทางจิตเวช
  • เช็กพฤติกรรม : จากเมื่อก่อนไม่ชอบออกไปข้างนอก ตอนนี้กลับออกไปข้างนอกตลอด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแบบไม่คิด หุนหันพลันแล่น ชอบทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงหรือจากที่เคยเป็นคนชอบเข้าสังคม อยู่ๆ ก็กลายเป็นคนเก็บตัว เบื่อไม่อยากทำอะไร

คนที่มีแนวโน้มเกิดอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Blues)

  1. ที่มีกดดันหรือเครียดสะสมอยู่ก่อนแล้ว
  2. คนที่มีอารมณ์ไม่ค่อยเสถียร เหวี่ยงง่ายอยู่แล้ว
  3. คนที่มีประสบการณ์วันหยุดพักผ่อนที่แตกต่างจากการใช้ชีวิตประจำวันปกติมาก ๆ

ฮีลใจยังไงให้หายซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Blues)

ตามหลักจิตวิทยาระบุว่า อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวจะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นอาการซึมเศร้าเหล่านี้ก็จะหายไปเอง แต่ถ้าเราอยากให้อาการนี้หายไปเร็วขึ้น ลองมาทำวิธีเหล่านี้กัน

นับถอยหลังวันหยุดครั้งหน้าในทริปต่อไป หากเรามีความสุขกับการไปเที่ยวในวันหยุด ให้เราตั้งเป้าสำหรับทริปถัดไป วางแผนว่าจะไปที่ไหน ไปกี่วัน เพื่อเป็นเป้าหมายในการทำงานต่อไป

ออกกำลังกาย ขณะที่เราออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอนโดรฟิน ให้เรามีความสุข ลืมความทุกข์ไปชั่วขณะ นอกจากนั้นยังทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

ฟื้นฟูร่างกายแต่เนิ่นๆ บางคนใช้ร่างกายอย่างหนักในช่วงวันหยุด ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ให้เลือกกินอาหารจำพวกโปรตีนปราศจากไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ผลไม้และผักสด จะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาพร้อมทำงานอีกครั้ง

 

 

logoline