svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

"PM2.5" ต้นเหตุ มะเร็งปอด คร่าชีวิต 4 อาจารย์ม.เชียงใหม่ จี้ประกาศเขตมลพิษ

06 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผยผลตรวจ "คณะบดีสถาปัตย์ฯ" มช. เสียชีวิตมะเร็งปอด ต้นตอจาก "PM2.5" ขณะภาคเหนือยังจม "ฝุ่นพิษPM2.5" เปิด 4 รายชื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากไปเพราะมะเร็งปอด จี้ประกาศเขตมลพิษได้แล้ว

6 เมษายน 2567 ค่าฝุ่นพิษ PM2.5 ภาคเหนือยังพุ่งเกินค่ามาตรฐาน ประเทศเพื่อนบ้านโหมเผาหนัก ล่าสุดฝุ่นพิษ PM2.5 คุณภาพอากาศ จังหวัดเชียงใหม่ วิกฤต ติดอันดับ 1 ของโลก คุณภาพอากาศแย่มาก พุ่งระดับสีม่วง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดย เว็บไซต์ IQAir เก็บข้อมูลและรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก รายงานสถานการณ์เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. พบว่า..

  • จังหวัดเขียงใหม่ อันดับ 1 ของโลก คุณภาพอากาศ 267 US AQI
  • กรุงเทพมหานคร อันดับ 21 ของโลก คุณภาพอากาศ 92 US AQI

\"PM2.5\" ต้นเหตุ มะเร็งปอด คร่าชีวิต 4 อาจารย์ม.เชียงใหม่ จี้ประกาศเขตมลพิษ
 

ขณะที่ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์เฟซบุ๊กเปิดเรื่องราวสุดเศร้า รายชื่ออาจารย์ 4 ท่านที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอด ที่เชื่อว่าได้ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5

นักวิชาการ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เครือข่ายผู้ฟ้องคดีฝุ่น แถลงการณ์ประกาศ เชียงใหม่เมืองมลพิษทางอากาศ พร้อมเรียกร้องประชาชนในภาคเหนือที่เผชิญฝุ่น PM2.5 ร่วมกันประกาศเขตมลพิษ หลังรัฐบาลเมินอ้างกลัวกระทบท่องเที่ยว ผ่านเพจ “Faculty of Architecture, Chiang Mai University” โดยมีข้อความระบุว่า 

ด้วยรักและอาลัยยิ่ง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ
ศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี
คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิธีสวดอภิธรรม
วันที่ 4-5 เมษายน พ.ศ.2567 เวลา 19.30 น
ณ ศาลาปฏิบัติธรรม วัดสวนดอก พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่

\"PM2.5\" ต้นเหตุ มะเร็งปอด คร่าชีวิต 4 อาจารย์ม.เชียงใหม่ จี้ประกาศเขตมลพิษ

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์อาภา พิศุทธ์เศรณี สำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า..

รายนามคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เสียชีวิตเพราะ มะเร็งปอด 
มีนาคม 2565 .. รองศาสตราจารย์.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
กันยายน 2566 .. รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล รายะนาคร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และท่านเป็นอดีตคณบดีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ..ท่านริเริ่มศึกษาฝุ่นพิษมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ยังไม่มีใครรู้จัก PM2.5 ในชื่อโครงการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เพื่อหามลพิษทางอากาศในอนุภาคฝุ่นในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ทุนวิจัยจาก สกว. 
ธันวาคม 2566 .. นพ.กฤตไท ธนกฤตสมบัติ อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เขียนหนังสือ "สู้ดิวะ"
เมษายน 2567 ..  ศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยังต้องรอให้สูญเสียอีกเท่าไร จึงจะแก้ปัญหาการเผาและ PM2.5 ???? 

🖤🖤🖤🖤🙏

\"PM2.5\" ต้นเหตุ มะเร็งปอด คร่าชีวิต 4 อาจารย์ม.เชียงใหม่ จี้ประกาศเขตมลพิษ
ขณะที่ นายจิตรกร โอฬารรัตน์มณี สามีของดร.ระวิวรรณ ได้เปิดเผยว่า ภรรยาได้เริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ตอนแรกคิดว่าภรรยาป่วยเป็นลองโควิด แต่ช่วงหนึ่ง อ.ระวิวรรณ ได้มีอาการไอ และมีเลือดติดออกมาจึงตัดสินใจเข้าตรวจสุขภาพที่คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดระยะที่ 4

" จากนั้นทางแพทย์เจ้าของไข้จึงได้วางแนวทางในการรักษา เริ่มจากการหาสาเหตุของการเกิดมะเร็งว่ามะเร็งปอดตัวนี้มันเกิดจากอะไร โดยการนำตัวอย่างเนื้อเยื้อไปตรวจพบว่าเป็นผลจาก PM 2.5 ทำให้เกิดยีนส์กลายพันธุ์เกิดขึ้น ซึ่งยีนส์กลายพันธุ์ตัวนี้มักจะเกิดผู้หญิงเอเชีย "

นายจิตรกร อยากจะฝากถึงรัฐบาลว่าจริงๆเราพบปัญหา PM 2.5 มานานแล้ว เพียงแต่ว่ามันไม่ได้เกิดผลกระทบกับเราอย่างชัดเจนเราจึงไม่ให้ความสำคัญกับเรา แต่เมื่อวันหนึ่งถ้าคนในครอบครัว หรือตัวเราเองป่วยเป็นมะเร็งปอด เราจะรู้ทันทีว่า PM 2.5 มันเป็นผลกระทบที่ร้ายแรงมาก

อย่างไรก็ตามอยากให้กรณีของ อ.ระวิวรรณ เป็นกรณีศึกษาว่า หลังจากนี้ ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าใส่ใจในการแก้ไขปัญหามากกว่านี้ อย่างน้อยที่สุดมันอาจจะไม่ทำให้ปัญหาหมอกควันหายไปแต่หวังว่าให้ลดความรุนแรงลงได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี 

ด้าน อ.นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ และที่ปรึกษาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดเผยว่า ช่วงนี้มีข่าวร้ายเกี่ยวกับการเสียชีวิตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด 4 ราย จากการตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็งปอดโดยที่ไม่มีประวัติการสูบบุหรี่ ซึ่งปกติจะมีสัดส่วนที่น้อย แต่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดเชียงใหม่ กลับพบผู้ป่วยโรคมะเร็งมีสัดส่วนที่สูงมากกว่าที่อื่น 

จากการศึกษาวิจัยจากต่างประเทศพบว่าการมาอยู่ในพื้นที่ ที่มี PM 2.5 ในระดับที่ไม่ปลอดภัยเป็นระยะเวลานานมีโอกาสกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ทำให้มีโอกาสที่เกิดมะเร็งปอดสูงขึ้นอย่างมากเป็นระยะเวลา 2-3 ปีก็มีความเสี่ยงแล้ว ซึ่งไม่ใช้เป็นการได้รับผลกระทบระยะสั้นหรือแค่แสบตา ตาแดง แสบจมูก หากเป็นการสะสมของพิษ และส่งผลกระทบกับสุขภาพอย่างรุนแรงทั้งโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นเรื่องซึ่งมันไม่ได้เกิดช่วงที่หมอกควันปกคลุมแต่เป็นการสะสมของพิษระยะยาว
\"PM2.5\" ต้นเหตุ มะเร็งปอด คร่าชีวิต 4 อาจารย์ม.เชียงใหม่ จี้ประกาศเขตมลพิษ

logoline