svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

จริงหรือไม่? บรรจุภัณฑ์อาหารแบบไหนก็ "ทำร้ายโลก"

25 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เวลาเลือกซื้ออาหารตามร้านค้าต่างๆ ล้วนมีบรรจุภัณฑ์หลายชนิดที่ร้านเลือกใช้เพื่อรักษาคุณภาพอาหารให้สะอาด แต่บรรจุภัณฑ์พลาสติกมักถูกมองว่าเป็นตัวร้ายที่ทำให้โลกร้อนอยู่เสมอ มันเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่?

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในสาเหตุโลกร้อน หลายหน่วยงานทั่วโลกต่างก็รณรงค์ให้เลิกใช้ คำถามคือการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นจะดีต่อโลกมากกว่าจริงหรือ? 

มาลองเปรียบเทียบกันดูว่าบรรจุภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่ใช้วัสดุอะไรบ้าง

  • พลาสติก 

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมานานแล้ว เพราะมีราคาถูก น้ำหนักเบา บรรจุอาหารได้หลากหลายประเภททั้งร้อนและเย็น และช่วยให้อาหารยังคงความสะอาดอยู่ตลอด โดยเฉพาะอาหารสดที่ต้องการการปกป้องแบบมิดชิด แต่ปัญหาคือการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในปริมาณสูงมาก การผลิตพลาสติกทุก 1 กิโลกรัม มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศสูงถึง 3.5 กิโลกรัม และปลายทางสุดท้ายของบรรจุภัณฑ์พลาสติกมักจะกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก กลายเป็นไมโครพลาสติกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ระดับโลกในตอนนี้

  • แก้ว 

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง เหมาะสำหรับรักษาความชื้นในอาหาร นำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่าย แต่ไม่ได้รับความนิยมเหมือนพลาสติก เพราะมีน้ำหนักเยอะ เทอะทะ แตกหักง่าย และมีต้นทุนการขนส่งแพงกว่า ทำให้พลาสติกยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าแก้ว

จริงหรือไม่? บรรจุภัณฑ์อาหารแบบไหนก็ "ทำร้ายโลก"

  • อะลูมิเนียม 

อีกหนึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ปกป้องอาหารได้ดี อย่างเช่นกระดาษฟอยล์  มีน้ำหนักเบา แต่ใช้เวลาย่อยสลายนานหลายร้อยปี และรีไซเคิลได้ยากมาก เพราะการรีไซเคิลอลูมิเนียมต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน ส่วนใหญ่นิยมเอามาทำถุงขนมขบเคี้ยวมากกว่าบรรจุภัณฑ์อาหารพร้อมทาน

จริงหรือไม่? บรรจุภัณฑ์อาหารแบบไหนก็ "ทำร้ายโลก"

  • กระดาษ

เมื่อก่อนไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม จนกระทั่งกระแสรักโลกเริ่มได้รับการตระหนักรู้ในสังคม ร้านค้าหลายร้านโดยเฉพาะร้านอาหารก็หันมาใช้ถ้วยกระดาษมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่ย่อยสลายง่ายกว่าพลาสติก ต่อให้ถูกทิ้งเป็นขยะก็มีผลกระทบน้อยกว่า แต่น่าเสียดายที่กระดาษเหล่านี้ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ และไม่ควรเด็ดขาด เพราะมีโอกาสที่จะทำให้สารเคมีจากกระดาษไปปนเปื้อนในอาหารได้ ในบางครั้งบรรจุภัณฑ์กระดาษก็ใช้พลังงานในการผลิตมากกว่าพลาสติกได้ถึง 3 เท่า และมีน้ำเสียปล่อยทิ้งเป็นจำนวนมาก แต่เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถนำน้ำเสียเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้แล้ว 

จริงหรือไม่? บรรจุภัณฑ์อาหารแบบไหนก็ "ทำร้ายโลก"

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า แบบนี้จะใช้อะไรใส่อาหารได้บ้าง 

ปัญหาที่แท้จริงของวัสดุแต่ละชนิด ไม่ใช่เพราะมันถูกนำมาใส่อาหาร แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมันกลายเป็นขยะทั้งๆที่เพิ่งถูกใช้งานไปได้แค่ครั้งเดียว 

เพราะฉะนั้นทางออกของเรื่องนี้ คือการหลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่หากมันยุ่งยากต่อชีวิตเกินไป ก็ลองทำให้วัสดุเหล่านั้นมันกลายเป็นขยะให้ช้าที่สุด อย่างถุงพลาสติกหรือกล่องพลาสติกบางชนิดสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ในบางจุดประสงค์ หรือถ้าถึงเวลาต้องทิ้ง ก็แยกทิ้งให้ถูกถัง โดยเฉพาะชิ้นที่ควรจะใส่ถังรีไซเคิลเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมได้นำไปวนกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เท่านี้ก็ถือว่ามีความรับผิดชอบต่อโลกนี้เท่าที่จะพอทำได้แล้ว 

จริงหรือไม่? บรรจุภัณฑ์อาหารแบบไหนก็ "ทำร้ายโลก"

logoline