กระทรวงการคลังก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยในปี 2475 มีเหตุการณ์ด้านเศรษฐกิจ เกิดขึ้นมากมาย แบ่งออกเป็น 4 ข้อ ได้แก่
จากนั้นไทยก็เกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินตก ค่าครองชีพสูงขึ้น ประชาชนลำบาก จากการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ โดยรัฐบาลพยายามแก้ปัญหา แต่ปัญหาเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้น จนเกิดการปฏิวัติสยาม 2475
ปี 2476 มีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็น กระทรวงการคลัง และแบ่งส่วนราชการย่อย อีก 8 หน่วยงาน โดยมีกรมที่เกี่ยวกับการเงินโดยตรงอยู่ 6 หน่วยงาน ได้แก่
ราวๆ ปี 2479 ไทยได้แก้ไขสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ไทยมีอธิปไตยทางการคลัง และเข้าสู่เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเต็มตัว
ปี 2482 มีการจัดตั้ง “สำนักงานธนาคารแห่งชาติ” โดยปรีดี พนมยงค์ ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง เพื่อจัดการเรื่องเงินกู้โดยเฉพาะ สำนักงานนี้อยู่ในสังกัดกระทรวงการคลัง นำไปสู่การจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเวลาต่อมา
ปี 2484 ยุบกรมพัศดุ และปี 2495 มีการเปลี่ยนชื่อกรมคลังเป็นกรมธนารักษ์
ปี 2496 เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย เนื่องจากมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กำหนดให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งองค์การของรัฐบาลที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยใช้เงินทุนจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงการคลังมี 10 หน่วยงาน ได้แก่
และในปี 2504 ได้จัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังโดยมีฐานะเทียบเท่ากรม ยุบกองเศรษฐกิจการคลังและกองสถิติในสำนักงานปลัดกระทรวง เพื่อรวมอยู่ในสำนักงานแห่งใหม่นี้ โดยมี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการคลัง มาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคนแรกจากการแต่งตั้ง โดย ผอ. ต้องมีเจ้าหน้าที่มาคำแนะนำและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการวางนโยบายในกระทรวงการคลัง ตลอดจนเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งทางประวัติศาสตร์ จุดใหญ่ๆ การคลัง ที่เนชั่นทีวีได้หยิบยกขึ้นมาเล่ากล่าวอีกครั้ง