svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน

31 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

MEA เผยค่าคาดการณ์ความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุดปี 2566 จำนวน 9,282 เมกะวัตต์ มีแนวโน้มหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าทั้งหมดเพิ่มขึ้น 0.2% พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี และระบบศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA พร้อมแนะนำการประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนโดยการ “ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน” และการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วันนี้ (31 มีนาคม 2566) นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยถึง สถิติการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งประกอบด้วย กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ว่า ตามที่ในช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงฤดูที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดในรอบปีนั้น สำหรับปี 2566 จากจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 4,191,299 คน MEA คาดการณ์ค่า Peak ในระบบจำหน่ายของ MEA ไว้ที่ 9,282 เมกะวัตต์ หรือลดลง 1.7% จากปีที่ผ่านมา โดยจะเกิดขึ้นในเดือน พฤษภาคม ในขณะที่หน่วยจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA ทั้งหมดของปี 2566 คาดว่าจะมีจำนวน 51,651 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 0.2% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้สถานการณ์ COVID-19 จะคลี่คลายแล้ว แต่เนื่องจากสาเหตุภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และของโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา รวมถึงเทรนด์การใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงทำให้การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้ามีความใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

 

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA

MEA รายการค่าพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า ปี 2566 MEA รายการความต้องการไฟฟ้าสูงสุดประจำปี

 

ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA มีความพร้อมรับมือกับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น MEA จึงมีการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า รวมถึงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้สนับสนุนระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง จากสถิติค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า SAIFI (System Average Interruption Frequency Index) หรือค่าเฉลี่ยความถี่ที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้องในปี 2565 มีค่าเท่ากับ 0.632 ครั้ง/ราย/ปี และ SAIDI (System Average Interruption Duration Index) หรือค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้องในปี 2565 มีค่าเท่ากับ 20.194 นาที/ราย/ปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. กำหนด (SAIFI ไม่มากกว่า 1 ครั้ง/ปี/ผู้ใช้ไฟฟ้า, SAIDI ไม่มากกว่า 30.24 นาที/ปี/ผู้ใช้ไฟฟ้า) รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เป็นหัวใจสำคัญอย่าง ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ทำหน้าที่เป็นระบบตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ในการตรวจสอบสถานะ ตลอดจนวิเคราะห์การทำงานของระบบควบคุมตรวจจับข้อมูล แล้วส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบอย่างรวดเร็วแบบ Realtime ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ MEA เริ่มใช้เป็นองค์กรแรกในประเทศไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการควบคุมแรงดันและการจ่ายกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย รองรับการปรับระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของ MEA ในโครงการระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Metro Grid สามารถสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า

MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน

 

 

โดยมีระบบสายส่งไฟฟ้าใต้ดินที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีต้นทาง รองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางเมืองที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าดับ ลดความเสี่ยงทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้นกับสายไฟฟ้าแรงสูงบนพื้นดิน

 

MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน

 

นอกจากนี้ MEA ยังมีแผนการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมช่วยการเตรียมความพร้อมในด้านระบบไฟฟ้าด้วยระบบ AI ในการบริหารงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบจำหน่ายไฟฟ้า ครอบคลุมทุกพื้นที่ การดูแลของการไฟฟ้านครหลวงทั้ง 18 เขต อีกทั้งยังมีการจัดตั้งทีมปฏิบัติการทางน้ำ Marine MEA เพื่อรองรับการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีพื้นที่ติดริมน้ำ และชายฝั่งทะเล ดูแลระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคง ปลอดภัย โดยมีการใช้เทคโนโลยี Thermovision สแกนตรวจจับความร้อนของอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้ Drone ตรวจสอบระบบสายส่งไฟฟ้าพร้อมรองรับทั้งในทุกสถานการณ์ โดยการเชื่อมโยงกับระบบปฏิบัติการ Field Force Management หรือ FFM เชื่อมโยงกับระบบแผนที่ GIS และเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ โดยใช้ MEA Smart Life Application ที่สามารถถ่ายภาพ แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องได้รวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงตรวจสอบทั้งระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า ตลอด 24 ชั่วโมง

 

MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน

 

ขณะเดียวกัน MEA แนะนำการประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สภาพอากาศ มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่งผลให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานมากขึ้น เป็นเหตุให้เสียค่าไฟมากขึ้น วิธีการที่จะช่วยให้ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย คือการหมั่นดูแล บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานและปลอดภัยอยู่เสมอ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ดี โดยยึดหลัก “ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน” โดยปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศมาอยู่ที่ระดับ 26-27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่ จะเป็นการช่วยให้ประหยัดพลังงาน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน เปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูง และหมั่นล้างเครื่องปรับอากาศ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน เปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ๆ พกกระติกน้ำแข็งไว้ดื่ม ไม่ควรกักตุนอาหารไว้ในตู้เย็นเกินความจำเป็น ตรวจขอบยางประตูตู้เย็นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า (เบอร์ 5) และควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ควรปิดสวิตช์และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทุกครั้ง เมื่อไม่ได้ใช้งาน หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ถ้าชำรุดต้องซ่อมแซมทันที ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งติดตั้งสายดิน พร้อมเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

 

MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน

 

ในช่วงนี้ที่มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อน มีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงนั้น MEA ขอแนะนำให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากพายุ รวมถึงป้ายโฆษณากลางแจ้ง ควรมีการตรวจสอบโครงสร้างป้ายให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงมั่นคงปลอดภัย และตรวจสอบระยะห่างของป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าให้มากขึ้น เพราะอาจส่งผลกระทบกับระบบไฟฟ้าอาจทำให้ไฟฟ้าดับ และขอให้ประชาชนอยู่ห่างจากป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงใกล้แนวสายไฟฟ้า เพราะกิ่งไม้อาจหักโค่นจากลมกระโชกแรงและพาดลงมาทำให้เสาไฟฟ้าล้ม หรือสายไฟฟ้าขาด เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งขอแนะนำให้ประชาชนตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าหากชำรุดเร่งซ่อมแซมแก้ไข และสำรวจต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณบ้านของตนเอง ให้กิ่งไม้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยไม่ระสายไฟฟ้าเพราะอาจทำให้ไฟฟ้าดับ รวมไปถึงอาจจะทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วมาตามกิ่งไม้ที่เปียกน้ำจากฝนฟ้าคะนองได้

 

หากประชาชนพบเห็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดหรือไม่ปลอดภัยสามารถแจ้งได้ที่ ช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect, Twitter: @mea_news, และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแจ้งผ่าน MEA Smart Life Application ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนระบบ iOS และ Android ดาวน์โหลดฟรี 

 

MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน MEA มั่นใจระบบจำหน่ายไฟฟ้า พร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อน

 

 

logoline