svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

YSL Beauty ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สานต่อโครงการระดับโลก ‘Abuse is Not Love’ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของความรุนแรง เพื่อลดการเกิดปัญหาความรุนแรงในคู่รักในประเทศไทย

18 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

YSL Beauty ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สานต่อโครงการระดับโลก ‘Abuse is Not Love’ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของความรุนแรงเพื่อลดการเกิดปัญหาความรุนแรงในคู่รักในประเทศไทย

กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2565 – อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ โบเต้ (YSL Beauty) แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำภายใต้ ลอรีอัล ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ ‘Abuse is Not Love’  โดยร่วมมือกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของความรุนแรงในคู่รัก (Intimate Partner Violence) ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาความรุนแรงในคู่รักในประเทศไทยต่อไป

นิทรรศการ “Abuse is Not Love” เผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของความรุนแรงในคู่รัก (Intimate Partner Violence) โดย YSL Beauty ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ปัญหาความรุนแรงในคู่รัก (Intimate Partner Violence – IPV) ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของความรุนแรงที่พบเจอได้ง่ายที่สุดผ่านพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางร่างกาย วาจา จิตใจ และเพศ การทารุณกรรมทางการเงิน (Financial Abuse) รวมไปถึงการพยายามควบคุมพฤติกรรมของอีกฝ่าย ปัญหาความรุนแรงในคู่รักยังเป็นปัญหาสังคมหลักที่เกิดขึ้นในทุกสังคมและภูมิภาค โดยหนึ่งในสามของสตรีทั่วโลกล้วนมีประสบการณ์กับความรุนแรงในคู่รักในชีวิตและมีผู้ประสบปัญหานี้เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับความยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็น ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ทำทุกฝ่ายต้องอยู่ใช้เวลาในเคหะสถานร่วมกันมากขึ้น ทำให้อัตราความชุกความรุนแรงต่อสตรีและบุคคลในครอบครัวในหลายประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดมากที่สุดถึง 60% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

นิทรรศการ “Abuse is Not Love” เผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของความรุนแรงในคู่รัก (Intimate Partner Violence) โดย YSL Beauty ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

YSL Beauty ตระหนักดีว่ากลไกที่สำคัญที่จะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาความรุนแรงในคู่รักได้ คือการตระหนักถึงรูปแบบของความรุนแรงผ่านสัญญาณเชิงพฤติกรรมและการแสดงออก จึงเปิดตัวโครงการระดับโลก ‘Abuse is Not Love’  มุ่งส่งเสริมการตระหนักรู้ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับสัญญาณเตือนเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โครงการนี้เป็นหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อตอกย้ำเป้าหมายในการสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ของลอรีอัล กรุ๊ป ด้วยการ สร้างผลกระทบ เชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยภายใต้พันธกิจเพื่อสังคมและสตรีนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป ตั้งเป้าหมายในการ ให้ความ ช่วยเหลือ  ผู้หญิง 3 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2030 ผ่านโครงการต่างๆ ทั้งระดับ บริษัท และ ระดับแบรนด์

คุณทรงสมร ฮัทเท็ท ผู้จัดการทั่วไป แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด

สำหรับโครงการ ‘Abuse is Not Love’  โดย YSL Beauty นั้น มีแนวทางหลักในการดำเนินการ 3 แนวทาง

  1. การให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับงานวิจัยเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปัญหาความรุนแรงในคู่รัก
  2. การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ 9 สัญญาณของความรุนแรงในคู่รัก (Warning Signs) แก่ผู้คนอย่างน้อย 2 ล้านคนผ่านองค์กรพันธมิตรในหลากหลายประเทศ
  3. การอบรมพนักงาน YSL Beauty และ Beauty Advisor เกี่ยวกับความรุนแรงของคู่รักในสถานที่ทำงาน

โดยตลอดระยะเวลา 2 ปีตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2563 YSL Beauty ได้ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นแล้วใน 17 ประเทศทั่วโลก และได้ให้ความรู้แก่เยาวชนกว่า 100,000 คนในการเข้าใจถึงสัญญาณอันตรายของความรุนแรงในคู่รัก และภายในปี 2573 YSL Beauty มีเป้าหมายที่จะเผยแพร่ความรู้ให้กับคน 2 ล้านคนทั่วโลกผ่านความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นในหลายภูมิภาคทั่วโลก

คุณจูลี่ เฮซเซล ผู้จัดการทั่วไปของ YSL Beauty ประเทศไทย และคุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมพูดคุยถึงที่มาและความร่วมมือของโครงการ Abuse is Not Love และสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในคู่รักในประเทศไทย

สำหรับการดำเนินการโครงการ ‘Abuse is Not Love’ ในประเทศไทยจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2566 โดยเป็นการร่วมมือระหว่าง YSL Beauty และมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล องค์กรพัฒนาเอกชนที่ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึง 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รักให้แก่คนไทยต่อไป โดยตั้งเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องความรุนแรงในคู่รักให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ 800 คนภายในปีแรกของโครงการผ่านการอบรม  นอกจากนี้ยังจะมีกิจกรรมรูปแบบต่างๆ อาทิ โร้ดโชว์ตามมหาวิทยาลัย การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสัญญาณความรุนแรงในความสัมพันธ์ในวงกว้าง

ทีมงาน YSL Beauty ประเทศไทย

“การสนับสนุนผู้หญิง โดยเฉพาะอิสรภาพของพวกเธอ เป็นความเชื่อหลักที่แบรนด์เรายึดมั่นมาโดยตลอด ความรุนแรงจากคู่รักทำให้พวกเธอไม่ได้รับความปลอดภัย ความเป็นอยู่ที่ดี และอิสรภาพ เราจึงริเริ่มการทำงานที่ช่วยแก้ปัญหาที่ยับยั้งและเป็นอุปสรรคในการมีอิสระภาพตามคุณค่าและความเชื่อหลักของแบรนด์” จูลี่ เฮซเซล ผู้จัดการทั่วไปของ YSL Beauty ประเทศไทยกล่าว

สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทยนั้น จากสถิติของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าข่าวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวยังคงถูกตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน  โดยในปี 2563 มีข่าวฆาตกรรมในคู่รัก ถูกตีพิมพ์มากถึง 323 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 54.5 จากข่าวความรุนแรงในครอบครัวทั้งหมด  แต่เมื่อวิเคราะห์ลงมาที่ข่าวฆาตกรรมในคู่รัก  น่าตกใจว่าวัยรุ่นช่วงอายุไม่เกิน 30 ปีเป็นกลุ่มที่ถูกกระทำมากที่สุด  สูงถึงร้อยละ 54.1  ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความหึงหวง ขาดสติเนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด และความขัดแย้งเรื่องหนี้สิน ยิ่งไปกว่านั้น จากรายงานสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในปี 2564 พบว่ามีผู้หญิงไทยที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจไม่ต่ำกว่า 7 คนต่อวัน และมีผู้ที่เข้าแจ้งความมากถึงปีละ 30,000 ราย

คุณปิยาพัชร คูตระกูล Social Manager และ คุณจูลี่ เฮซเซล ผู้จัดการทั่วไปของ YSL Beauty ประเทศไทย, คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล, คุณทรงสมร ฮัทเท็ท ผู้จัดการทั่วไป แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง และคุณอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสื่อสารองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด

 “ในแต่ละวันมีผู้หญิงไม่ต่ำกว่า 7 คนที่ต้องเจอปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงระหว่างสามี-ภรรยาก็ยังมีให้เห็นทั่วไป ทางมูลนิธิมีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดกับผู้ที่ประสบปัญหาและพบว่า หลายๆ ครั้ง เราสามารถป้องกันไม่ให้ปัญหาความรุนแรงบานปลายใหญ่โตได้ หากผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณของความรุนแรงเหล่านี้แต่เนิ่นๆ  ผมหวังว่าโครงการนี้จะทำให้ผู้หญิง หรือผู้ถูกกระทำความรุนแรงไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม ได้ตระหนักเรื่องความรุนแรงในคู่รักได้มากขึ้น และส่งเสริมให้สังคมมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น” นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลกล่าว

9 สัญญาณอันตราย ที่อาจะนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รัก

9 สัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รัก

  1. ‘หมางเมิน’ ในวันที่พวกเขาโกรธ    
  2. ‘แบล็กเมล์’ ถ้าคุณปฏิเสธที่จะทำบางอย่าง
  3. ‘ทำให้อับอายขายหน้า’ จนคุณรู้สึกไม่ดีกับตนเอง
  4. ‘พยายามปั่นหัว’ เพื่อบังคับให้คุณทำหรือพูดบางอย่าง
  5. ‘หึงหวง’ ในทุกอย่างที่คุณทำ
  6. ‘ควบคุม’ ว่าคุณจะไปไหนและแต่งตัวแบบใด
  7. ‘รุกราน’ ด้วยการตรวจโทรศัพท์หรือติดตามที่อยู่ของคุณ
  8. ‘ตัดขาด’ ให้คุณออกจากเพื่อนและครอบครัว
  9. ‘ข่มขู่’ ด้วยการบอกว่าคุณไม่ปกติและปลูกฝังความกลัว
logoline