svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

“ปตท.” เปิดผังสร้าง “นิเวศอีวี” นำอนาคตสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

26 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความท้าทายและความพยายามต่อเป้าหมายแห่งอนาคตเป็นเรื่องที่ต้องมีแผน และ ผังการทำงานที่ชัดเจน ในส่วนของนโยบายภาครัฐได้กำหนดเป้าหมายสู่สังคมคาร์บอนต่ำ แต่ภาครัฐฝ่ายเดียวคงบรรลุเป้าหมายได้ยาก ความร่วมมือจากภาคเอกชนจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะการเกิดขึ้นของธุรกิจใหม่ ว่าด้วยพลังงานทดแทน ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และธุรกิจแบตเตอรี่

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของการสนับสนุนนโยบายภาครัฐให้บรรลุเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ ได้กำหนดธุรกิจใหม่ ที่จะเน้นการลงทุนพลังงานทดแทน ผ่านการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ธุรกิจแบตเตอรี่ เพื่อสนับสนุนให้เปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปไปสู่อีวี

ทั้งนี้ ปตท.ได้กำหนดแผนที่จะสร้าง “นิเวศอีวี” เริ่มจากการผลิตโดยความร่วมมือระหว่างบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ร่วมมือกับ ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ตั้ง บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) เพื่อเดินหน้าธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร (EV Value Chain) จะเริ่มการก่อสร้างโรงงานได้ในช่วงประมาณไตรมาส​3/2565 บน​พื้นที่ประมาณ​300-400 ไร่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ในส่วนของการส่งเสริมการใช้งานจริง กลุ่มปตท. โดย บริษัท ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ นอกจากจะให้บริการน้ำมันแก่ลูกค้าแล้ว ยังให้ความสำคัญเรื่องของ Mobility & Lifestyle โดยเรื่องของ Mobility นั้น โออาร์จะเร่งการติดตั้ง สถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ภายในสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น โดยตั้งเป้าหมายสิ้นปีจะติดตั้งที่ 450 แห่ง

นอกจากนี้ เพื่อสร้างการเรียนรู้และสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้ที่อยากจะทดลองขับรถอีวี กลุ่ม ปตท. ได้เปิดบริการเช่ารถอีวี ผ่านแอปพลิเคชั่น EVme ที่จะมีรถอีวีให้เลือกเบื้องต้นหลายรุ่น อาทิ Tesla Model 3 Long Range, MG EP, Nissan Leaf,ปัจจุบันมีอยู่ 200 คัน จะเพิ่มอีก 500 คันในสิ้นปีนี้ โดยปัจจุบันมียอดจองเช่ากว่า 90%

“ปตท.” เปิดผังสร้าง “นิเวศอีวี” นำอนาคตสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของยานยนต์อีวี คือ แหล่งกำเนิดพลังงาน ผ่านแผนพัฒนาแบตเตอรี่ โดยบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC มีเป้าหมายที่จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อยู่ที่ 8,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 ตามนโยบายของบริษัทแม่ คือ ปตท. เพื่อสนับสนุนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero)

สำหรับขีดความสามารถผลิตแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงานได้ใน 3 ระดับ คือ 1. G-Cell ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นพื้นฐานในรูปแบบ Battery Pouch Cell 2. ผลิตภัณฑ์ G-Pack ที่มีการนำ Battery Pouch Cell มาเชื่อมต่อกันในรูปแบบ Battery Module และ Pack พร้อมทั้งติดตั้งระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ หรือ Battery Management System (BMS) ร่วมด้วย

3. กลุ่ม G-Box ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งาน สำหรับระบบสำรองไฟฟ้า (Uninterruptible Power Supply หรือ UPS) และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System หรือ ESS) ที่มีขนาดตั้งแต่ 10-1,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ขึ้นไป ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) AI (ระบบปัญญาประดิษฐ์) และ Block-chain เข้ามาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการกับกลุ่มลูกค้า

ในส่วนของเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยังมีโครงการ Carbon capture and storage (CCS) นำโดย ปตท.สผ. การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยและพื้นที่ใกล้ฝั่งในภาคตะวันออกเป็นรายแรกของประเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการ pilot project ที่แหล่งก๊าซฯ อาทิตย์ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่แรกของประเทศไทยคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและมีกำหนดดำเนินการโครงการภายในช่วงปี 2570 (2027)

“ภายในกลุ่ม ปตท. เพื่อร่วมกันศึกษา PTT Group CCS Hub Model โครงการสำรวจและดักจับ CO2 ภายในกลุ่ม ปตท. การขนส่ง CO2 เพื่อไปยังแหล่งกักเก็บใกล้พื้นที่ชายฝั่ง รวมถึงพัฒนาระเบียบที่เกี่ยวข้องและดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีกำหนดดำเนินการโครงการภายในช่วงปี 2573”

ส่วนเทคโนโลยีการนำไฮโดรเจนผสมในเชื้อเพลิงเครื่อง Turbine เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่ม ปตท. โดยอยู่ในขั้นทดลองศึกษาโดย GC นำไฮโดรเจนที่ได้จากการผลิตในกระบวนการโรงกลั่น มาใช้ในกับเครื่อง turbine ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 0.12 MtCO2e/ปี

จากความพยายามต่างๆ กำลังชี้ถึงความเอาจริงเอาจังของ  กลุ่ม ปตท. ที่ตระหนักถึงความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของโลกในปัจจุบัน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์กลุ่ม ปตท. PTT Group Net Zero Task Force หรือ G-NET ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจาก ปตท. และ 6 บริษัท Flagship ของกลุ่ม ปตท. ได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และผลักดันการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องของกลุ่ม ปตท. ทั้งในและต่างประเทศ มุ่งสู่ Net Zero Emission

โดยนำมาสู่การประกาศเป้าหมายของ ปตท. ให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2050

logoline