svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

28 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คุณสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ทางกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีการส่งเสริมการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 94,940 กลุ่ม/ราย และมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 212,387 ผลิตภัณฑ์

     โดยมีการแบ่งตามประเภทต่างๆ คือ 

     - ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP  ประกอบด้วย 1. ประเภทกลุ่ม  2. ประเภทรายเดี่ยว 3. ประเภทSME 

     - แบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์ มี 5 ประเภท ประกอบด้วย 1. ประเภทอาหาร 2.ประเภทเครื่องดื่ม 3. ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย 4. ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก 5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

     - แบ่งตาม Quadrant ABCD ประกอบด้วย 1. Quadrant A (กลุ่มดาวเด่นสู่สากล) 2. Quadrant B (กลุ่มอนุรักษ์สร้างคุณค่า) 3. Quadrant C (กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน) 4. Quadrant D (กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา) ซึ่งกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ รูปแบบ บรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงามโดดเด่น และยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาด   

“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

     ดังนั้นทางกรมฯ จึงได้จัดทำโครงการขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีศักยภาพทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความรู้ช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ในการใช้ประโยชน์ และมีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำในการพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมถึงการเผยแพร่การประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมทดสอบตลาดออนไลน์และออฟไลน์ ตามประเภทของผลิตภัณฑ์  เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยได้ดำเนินการแยกผลิตภัณฑ์เป็น 4 คลัสเตอร์ ดังนี้ 1.คลัสเตอร์อาหาร 2. คลัสเตอร์ผ้าและเครื่องแต่งกาย 3.คลัสเตอร์ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก และ 4.คลัสเตอร์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

     สำหรับรายละเอียดของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D)ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ได้มีการจัดกิจกรรม 3 กิจกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะต่างๆ กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการในระบบออนไลน์ ฯ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ค้นหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ศักยภาพและจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ หรือฉลาก หรือช่องทางการจำหน่ายของกลุ่มเป้าหมาย 

     กิจกรรมที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP  โดยดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีการดำเนินการจัดกลุ่มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์เบื้องต้น 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์โดดเด่น มีโอกาสเข้าสู่ช่องทางการตลาดที่หลากหลาย และ 

     กิจกรรมที่ 3 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมทดสอบตลาดออนไลน์และออฟไลน์ 1) จัดกิจกรรมทดสอบตลาด (ออนไลน์) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่ได้รับการพัฒนาของกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 224 ผลิตภัณฑ์ ผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ ในรูปแบบออนไลน์ในสื่อที่ได้รับความนิยม อย่างน้อย 3 ช่องทาง ประกอบด้วย Otoptoday Shopee และ Lazada สินค้าขายดี  5  ลำดับประกอบไปด้วย น้ำมันสมุนไพรขาไก่ดำ, น้ำยาล้างผักและผลไม้, เจลสมุนไพร ตรากาขาวคู่, สบู่สมุนไพรหัวไชเท้า และแชมพูอัญชันสวนสุขใจ 2) จัดกิจกรรมทดสอบตลาด (ออฟไลน์) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์โดดเด่น มีโอกาสเข้าสู่ช่องทางการตลาดที่หลากหลาย

“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

     สำหรับเป้าหมายและความคาดหวังของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D)ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีกลยุทธ์ทางการตลาด มีการสร้างแบรนด์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ในช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย

“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

     คุณสุรศักดิ์ ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ OTOP ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เนื่องจากโครงการนี้ ในปีงบประมาณ 2565 กรมการพัฒนาชุมชน มีเป้าหมายที่จะพัฒนา อีกจำนวน 1,900 ผลิตภัณฑ์ แต่สำหรับบุคคลทั่วไป ถ้ามีผลิตภัณฑ์แล้วสนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องไปลงทะเบียน OTOP ก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทั่วประเทศ

“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” สู่โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “OTOP” ปรับตัวสู่การพัฒนา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

logoline