svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดประวัติ! "บิ๊กสุ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

เปิดประวัติ! "บิ๊กสุ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี คนที่ 19

10 มิถุนายน 2568 "บิ๊กสุ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร (6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2568) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 19 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด หนึ่งในสมาชิกคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก่อรัฐประหารใน พ.ศ. 2534

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

ประวัติ-ชีวิตส่วนตัว

 

พล.อ.สุจินดา เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ที่ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนเล็กของจวง กับสมพงษ์ คราประยูร มีพี่สาวสองคน โดยครอบครัวเป็นข้าราชการกรมรถไฟ สมรสกับคุณหญิงวรรณี คราประยูร (สกุลเดิม หนุนภักดี) มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่พลเอก เจิดวุธ คราประยูร ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย และ เจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

การศึกษา

 

พล.อ.สุจินดา เข้ารับการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนปิยะวิทยา แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนทวีธาภิเศก หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมปีที่ 4 – 5 ที่จังหวัดหนองคาย เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงต้องย้ายไปอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่จังหวัดหนองคาย ต่อมาได้กลับเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครจนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดราชบพิธ แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8 สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียงปีเดียวก็ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารและเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5 

 

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

 


มีเพื่อนร่วมรุ่นได้แก่

 

1.พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี
2.พล.อ. ศัลย์ ศรีเพ็ญ
3.พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร

หลักสูตรเวสท์ปอยต์ รุ่นที่ 5 ตามลำดับ ต่อมาได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากค่ายซิลส์ (Fort Sill’s) รัฐโอคลาโฮม่า ประเทศสหรัฐ สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐจากค่ายลีเวนเวิร์ธ (Fort Leavenworth)

 

 

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

 


การทำงาน ราชการทหาร

 

พล.อ.สุจินดา เริ่มเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานยศ "ว่าที่ร้อยตรี " เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 และก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ เช่น

- อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- เจ้ากรมยุทธการทหารบก
- ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
- รองเสนาธิการทหารบก
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- รองผู้บัญชาการทหารบก
- และวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อจากพล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ที่เกษียณอายุราชการ

 

 


ตำแหน่งราชการทหาร

 

พ.ศ. 2501 : ประจำกองร้อย กรมนักเรียนโรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ต่อมารักษาราชการ ผูช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองบังคับการทหารปืนใหญ่ กองพลที่ 4
พ.ศ. 2502 : รักษาราชการนายทหารสื่อสาร กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 และรับพระราชทานยศ"ร้อยตรี"
พ.ศ. 2503 : รักษาราชการผู้บังคับกองร้อยบังคับการและบริการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21
พ.ศ. 2504 : รับพระราชทานยศ"ร้อยโท"
พ.ศ. 2505 : ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 และรับพระราชทานยศ"ร้อยเอก"
พ.ศ. 2507 : ครูกองการศึกษา โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
พ.ศ. 2510 : รักษาราชการอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศ"พันตรี"
พ.ศ. 2513 : หัวหน้าฝ่ายยุทธการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
พ.ศ. 2514 : รองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และรับพระราชทานยศ"พันโท"
พ.ศ. 2517 : หัวหน้าแผนกกรมข่าวทหารบก
พ.ศ. 2518 : รักษาราชการนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรมข่าวทหารบกและรับพระราชทานยศ"พันเอก"
พ.ศ. 2522 : หัวหน้ากอง กรมข่าวทหารบก
พ.ศ. 2524 : รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2525 : เจ้ากรมยุทธการทหารบก และรับพระราชทานยศ"พลตรี"
พ.ศ. 2528 : ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ และรับพระราชทานยศ"พลโท"
พ.ศ. 2529 : รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2530 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรับพระราชทานยศ"พลเอก"
พ.ศ. 2532 : รองผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2533 : ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2534 : ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

 

 


ราชการพิเศษ

 

พ.ศ. 2512 - 2513 : ราชการสงครามเวียดนาม ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
พ.ศ. 2525 : ราชองครักษ์เวร
พ.ศ. 2526 : นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2528 : ราชองครักษ์เวร ต่อมาเป็นราชองครักษ์พิเศษ
พ.ศ. 2532 : นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบ ที่ 2 รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ กองพันที่ 21 รักษาพระองค์ และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันที่ 1 รักษาพระองค์

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19

 

 

ด้านการเมือง

 

พล.อ.สุจินดา เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้สุจินดาเป็นนายกรัฐมนตรี[4] ก่อนหน้านั้น พรรคร่วม 5 พรรคประกาศสนับสนุนณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลง ข่าวว่า ณรงค์ วงศ์วรรณ ติดบัญชีดำ ถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพัวพันกับขบวนการค้าสารเสพติด

 

 


ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

สุจินดาได้รับพระบรมราชโองการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกล่าวว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ สุจินดาได้แต่งตั้งพลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี เลขาธิการ รสช. ซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยาตน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม ร้อยตรี ฉลาด วรฉัตร อดอาหารประท้วง และพลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้สุจินดา ลาออกเนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช. 

จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ หรือพฤษภาทมิฬ ขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชิญสุจินดาและจำลอง เข้าพบและดำรับให้หันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ปัญหา[6] หลังจากนั้น สุจินดาจึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 ของรัฐบาลสุจินดาจึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ

 

 


ยศทางทหาร

 

25 มกราคม พ.ศ. 2501 ยศ "ว่าที่ร้อยตรี "
2 มกราคม พ.ศ. 2502 ยศ "ร้อยตรี"
1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ยศ "ร้อยเอก"
1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ยศ "พันตรี"
1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ยศ "พันเอก"
1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ยศ "พลตรี"
1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ยศ "พลเอก"
16 เมษายน พ.ศ. 2534 ยศ "พลเรือเอก"เเละ"พลอากาศเอก"

 

 


รางวัลและเกียรติยศ

 

พล.อ.สุจินดา ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2526[7]

 

 

ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

 

พ.ศ. 2532 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
พ.ศ. 2531 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
พ.ศ. 2535 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
พ.ศ. 2516 –  เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
พ.ศ. 2531 –  เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
พ.ศ. 2513 –  เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
พ.ศ. 2511 –  เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
พ.ศ. 2532 –  เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[15]
พ.ศ. 2534 –  เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[16]

 

 

 

เสียชีวิต

 

พล.อ.สุจินดา ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 91 ปี 10 เดือน 4 วัน

 

อ่านข่าวก่อนหน้านี้ : ด่วน! "บิ๊กสุ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 19 เสียชีวิตอย่างสงบ

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก "wikipedia

 

 

เปิดประวัติ!  \"บิ๊กสุ\" พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19