ภายหลังกลุ่ม สว.สำรอง ออกมาแฉเรื่องโพย ฮั้วเลือก สว. จนนำไปสู่คดีพิเศษ ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน คณะที่ 26 ที่ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) อยู่ระหว่างการสอบสวน โดยล่าสุด มีการเรียก สว.ล็อตแรกเข้าไปชี้แจงแล้ว
"เชื่อว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่หลายคนกำลังจับตาดูว่า สุดท้ายแล้ว "คดี ฮั้วเลือก สว." จะจบลงอย่างไร ?"
แน่นอนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะบทบาทหน้าที่วุฒิสภามีความสำคัญมากกับการบริหารประเทศ หลักๆ คือ มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
และจากการตรวจสอบข้อมูลของ "ทีมข่าวเนชั่นทีวี" เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของ สว.ตั้งแต่กระบวนการสรรหา และค่าใช้จ่ายระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง พบว่าต้องใช้งบประมาณมหาศาล ยกตัวอย่าง
สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดปัจจบุัน หรือ ชุดที่ 13 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งวิธีการได้มาของ สว.ชุดนี้ จำนวน 200 คน คือเลือกกันเองของผู้สมัคร 20 กลุ่มอาชีพ
สรุปค่าใช้จ่ายการได้มาซึ่ง สว. 1 คน ของชุดปัจจุบัน = 7.58 ล้านบาท เทียบกับชุดก่อน สว.1 คน = 5.21 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจาก สว.ชุดก่อน = 2.36 ล้านบาท/คน
เพิ่มขึ้นคิดเป็น = ร้อยละ 45.47 ของงบรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่ง สว. 1 คน ในปี 2562
สำหรับที่มาของงบ
ทั้งนี้ เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายในการสรรหา สว.เมื่อปี 2562 คือ สว.ชุด คสช. ที่มีมากกว่า 250 คน แต่กลับใช้งบที่น้อยกว่า
หลังจากสรรหาได้ สว. เป็นที่เรียบร้อย มาดูค่าใช้จ่าย “ต่อเดือน” สำหรับ สว. และผู้ที่ สว.แต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยปฏิบัติงาน (กรณีตั้งครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด สว. 1 คน ตั้งได้ 8 คน สว. 200 คน ตั้งได้ 1,600 คน)
ประธานวุฒิสภา = 248,920 บาท
มาจาก ค่าตอบแทนของประธานวุฒิสภา 119,920 บาท + ค่าตอบแทนผู้ช่วยปฏิบัติงาน 129,000 บาท
รองประธานวุฒิสภา 1 คน = 244,740 บาท (2 คน = 489,480 บาท)
มาจาก ค่าตอบแทนของรองประธานวุฒิสภา 115,740 บาท + ค่าตอบแทนผู้ช่วยปฏิบัติงาน 129,000 บาท
สมาชิกวุฒิสภา 1 คน = 242,560 บาท (197 คน = 47,784,320)
มาจาก ค่าตอบแทน สว. 113,560 บาท + ค่าตอบแทนผู้ช่วยปฏิบัติงาน 129,000 บาท
ประธานวุฒิสภา = ค่าตอบแทนต่อเดือน 119,920 บาท
รองประธานวุฒิสภา = ค่าตอบแทนต่อเดือน 115,740 บาท/คน
สมาชิกวุฒิสภา = ค่าตอบแทนต่อเดือน 113,560 บาทต่อคน
ค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
งบประมาณรายจ่ายต่อคน = ประธานวุฒิสภา x 1 / รองประธานวุฒิสภา x 2 / สมาชิกวุฒิสภา x 197
งบประมาณรายจ่ายต่อเดือน = 119,920 บาท / 231,480 บาท / 22,371,320 บาท = รวม 22,722,720 บาท
งบประมาณรายจ่ายต่อปี = 1,439,040 บาท / 2,777,760 บาท / 268,455,840 บาท = รวม 272,672,640 บาท
งบประมาณรายจ่าย 5 ปี (กรณีอยู่ครบวาระ) = 7,195,200 บาท / 13,888,800 บาท / 1,342,279,200 บาท
= รวม 1,363,363,200 บาท
ทั้งนี้ เมื่อสมาชิกภาพของ สว.สิ้นสุดลงตามวาระ ทั้งประธาน รองประธาน และ สว. ยังคงได้รับค่าตอบแทนต่อไปจนกว่าจะมี สว.ชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
เมื่อมี สว. แล้ว ตามระเบียบ สว. สามารถแต่งตั้งผู้ช่วยและทีมงานได้ โดยได้รับเงินตอบแทน ดังนี้
สว. 1 คน มีผู้เชี่ยวชาญ (ประจำตัว) 1 คน / ผู้ชำนาญการ 2 คน / ผู้ช่วยดำเนินงาน 5 คน
งบรายจ่ายต่อเดือน = 24,000 บาท / 15,000 x 2 = 30,000 บาท / 15,000 x 5 = 75,000 บาท / รวม 129,000 บาท
งบรายจ่ายต่อปี = 288,000 บาท / 360,000 บาท / 900,000 บาท = รวม 1,548,000 บาท
งบรายจ่ายกรณีอยู่ครบวาระ 5 ปี = 1,440,000 บาท / 1,800,000 บาท / 4,500,000 บาท = รวม 7,740,000 บาท
สรุปงบประมาณรายจ่ายที่ใช้เป็นค่าตอบแทนสำหรับผู้ช่วย สว.และทีมงาน สว. คือ สว. 1 คน แต่งตั้งได้ทีมงานได้ 8 คน เท่ากับว่า สว. 200 จะมีทีมงาน 1,600 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อปี 2,476,800,000 บาท หากอยู่ครบวาระ 5 ปี จะใช้งบประมาณในส่วนนี้อยู่ที่ 12,384,000,000 บาท
ชมคลิปข่าว