svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนักศึกษา จัดเสวนา-ประชามติจำลอง “สิทธิกำหนดอนาคตตนเองกับสันติภาพปาตานี“ 17 มี.ค. 68 ชี้เป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ

16 มีนาคม 2568  จากกรณีที่มีกลุ่มบุคคลจัดงานเปิดตัว ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Kebangsaan) เมื่อ 7 มิถุนายน 2566  ที่คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี และมีการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การกำหนดอนาคตตนเอง (Self Determination) กับสันติภาพปาตานี”  รวมทั้งได้มีการจัดพิมพ์บัตรเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อโซเชียลในประเด็น ”ให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย“ ซึ่งทำให้สังคมวิตกกังวลนั้น

พันเอก ปองพล สุทธิเบญจกุล รองโฆษก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า แถลงชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลเชิงลึกอย่างรอบด้าน พบว่า ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ ถือเป็นองค์กรเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และได้เคลื่อนไหวเรียกร้องในเรื่อง “สิทธิในการกำหนดใจตนเอง”

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อองค์กรเป็นขบวนนักศึกษาแห่งชาติ เมื่อ 31 พฤษภาคม 2566 โดยมี นายอิรฟาน อุมา เป็นประธานขบวนนักศึกษาแห่งชาติ สำหรับการจัดกิจกรรมเมื่อ 7 มิถุนายน 2566 พบว่าเป็นการเปิดตัวขบวนนักศึกษาแห่งชาติ โดยมีนักการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง และนักวิชาการรวมทั้งเครือข่ายนักศึกษาเข้าร่วมและสนับสนุนกิจกรรมจำนวนหนึ่ง

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ขอยืนยันว่า แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะ ผอ.รมน.ภาค 4 ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการจัดกิจกรรมหรือการแสดงความคิดเห็น ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสามารถแสดงออกในขอบเขตของกฎหมาย ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ยึดถือหลักสุจริตเป็นที่ตั้ง โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

รวมทั้งต้องเป็นการดำเนินการภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่ง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ยึดถือนโยบายดังกล่าว ให้ความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ ที่จัดกิจกรรมแสดงออกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ หากมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ที่จัดกิจกรรมหรือแสดงออกที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายแล้ว กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ที่จัดกิจกรรมหรือผู้ที่แสดงออก ได้รับโทษ ตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องปรามตามหลักทฤษฎียับยั้งป้องกัน โดยใช้มาตรการตามกฎหมาย เพราะหากไม่ดำเนินการ ก็อาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ

นอกจากนี้ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ตรวจสอบการจัดกิจกรรมและการแสดงออกของกลุ่มบุคคล เมื่อ 7 มิถุนายน 2566 อย่างรอบคอบทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย พบว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้ระบุไว้ว่า ”ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้”

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ
 

รวมทั้งเป็นการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือ ติชมโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116  , ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ตามมาตรา 209 ดังนั้น จึงได้มอบหมายผู้แทนเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีต่อแกนนำนักศึกษาทั้ง 5 คน ซึ่งจะมีการส่งตัวในวันที่ 17 มี.ค. 68

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจงปมนัดส่งตัว 5 แกนนำนศ. จัดเสวนาประชามติ

“ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม รวมทั้งผู้ที่ถูกดำเนินคดี ได้พยายามออกมาตอบโต้ และกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายฟ้องร้องเพื่อปิดปาก และคุกคาม ผู้จัดกิจกรรมและผู้ที่แสดงออกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีการร้องเรียนผ่านหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่ง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า"

พันเอก ปองพล สุทธิเบญจกุล รองโฆษก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า

"ขอยืนยันว่า การดำเนินการต่อขบวนนักศึกษาแห่งชาติที่ผ่านมา ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายต้องการฟ้องร้องเพื่อปิดปาก หรือคุกคามต่อนักจัดกิจกรรม แต่เกิดจากเหตุผลที่ได้พบเห็นการกระทำความผิด จึงต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในพื้นที่เกิดเหตุ และได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทุกประการ  โดยผลคดีจะออกมาแบบใด ก็อยู่ที่การสู้คดีในชั้นศาล ซึ่งเป็นไปตามหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม อันเป็นหลักการสากลทั่วไป”