กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯมักเรียกมาตรการคว่ำบาตรวีซ่าว่า “ข้อจำกัดด้านวีซ่า” หรือ “การระงับการเข้าเมือง “ และ จะหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “การลงโทษด้านวีซ่า”
มาตรการนี้ถูกใช้โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิหรือลงโทษบุคคลหรือกลุ่มที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือคอรัปชั่น หรือเป็นบ่อนทำลายประชาธิปไตย
เป็นการส่งสัญญาณเตือนให้กับประเทศในเป้าหมายและประเทศอื่นๆที่สหรัฐฯต้องการป้องปราม
รัฐบาลสหรัฐฯ มักเลือกใช้วิธีไม่เปิดเผยชื่อบุคคลที่ถูกคว่ำบาตรวีซ่า เก็บไว้เป็นความลับของกระทรวงต่างประเทศ confidential sanctions เพื่อใช้ปฏิเสธการออกวีซ่าให้กับบุคคลเหล่านั้นและสมาชิกในครอบครัวเมื่อยื่นขอวีซ่าที่กงสุลสหรัฐฯ หรือยกเลิกวีซ่าที่เขามีแล้วเมื่อเดินทางถึงด่านขาเข้าของสหรัฐฯ
เหตุผลที่เลือกใช้มาตรการคว่ำบาตรวีซ่าแบบลับ
แม้ว่าการคว่ำบาตรวีซ่าจะจำกัดภายในกระทรวงต่างประเทศ ภายในกระทรวงต่างประเทศ แต่การที่รักษาเป็นความลับก็เพื่อต้องการให้จินตนาการว่าบุคคลเหล่านั้นอาจถูกลงโทษทางการเงิน ซึ่งหมายถึงการอายัดทรัพย์สินและห้ามทำธุรกรรมทางการเงินการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกาด้วย
ซึ่งเรื่องนี้มีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้ขู่ปรามและลงโทษนักการเมืองหรือนักธุรกิจผู้ใกล้ชิดกับผู้นำของประเทศที่มีพฤติกรรมคอรัปชั่นต่างๆ และถูกใช้บ่อยครั้งกับคนใกล้ชิดของประธานาธิบดีปูตินหลังจากการยึดครองใครมีอันในปีค.ศ. 2014
แม้นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและสมาชิกรัฐสภาของสหรัฐได้เรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศทำเรื่องนี้โดยโปร่งใสโดยการระบุชื่อตัวบุคคลอย่างชัดเจนต่อสาธารณะ แต่ในทางปฏิบัติแล้วรัฐบาลอเมริกันยังเลือกวิธีการเก็บรายชื่อไว้เป็นความลับ
สำหรับผู้ที่ถูกคว่ำบาตรวีซ่าบางคนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เนื่องจากไม่มีแผนการจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว หรือไม่คิดจะทำธุรกรรมทางการเงินการธนาคารกับชาวสหรัฐหรือธนาคารของสหรัฐ
หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2025 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นาย มาร์โก รูบิโอ ได้ประกาศข้อจำกัดด้านวีซ่าที่จะบังคับใช้กับ "เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยในปัจจุบันและอดีตผู้รับผิดชอบหรือร่วมมือในการส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนจากประเทศไทยโดยการบังคับ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์" นายรูบิโออ้างถึง INA 212(a)(3)(C) เป็นอำนาจทางกฎหมายในการดำเนินการนี้ >> คลิกที่นี่
กฤษฎา บุญเรือง
14 มีนาคม ค.ศ. 2025
ชมคลิปข่าว