svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"พท."ชงญัตติขอมติรัฐสภาส่งศาลรธน.วินิจฉัย แก้ รธน. ม.256

"เพือ่ไทย"ชงญัตติขอมติรัฐสภาส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย "แก้รธน. ม.256" ตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ยกร่างใหม่

19 กุมภาพันธ์ 2568 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า พรรคเพื่อไทยได้เสนอญัตติด่วน เรื่องขอรัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา210 วรรคหนึ่ง (2) แล้ว โดยนายวิสุทธิ์ เป็นผู้เสนอญัตติ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568

โดยเนื้อหา  ระบุอ้างอิงถึงร่างแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และ เพิ่มหมวด 15/1 ตั้ง ส.ส.ร. เพื่อจัดทำร่างฉบับใหม่ของร่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ซึ่งมีหลักการทำนองเดียวกัน และประธานรัฐสภาบรรจุระเบียบวาระในการประชุมเมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาปรากฏว่า เกิดความขัดแย้งและความเห็นที่แตกต่างกันของสมาชิกรัฐสภาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล

โดยฝ่ายหนึ่ง เห็นว่า รัฐสภาไม่มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 2 ฉบับ เนื่องจากยังมีการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ว่าประชาชนประสงค์ที่จะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับฉบับใหม่หรือไม่เสียก่อน ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 จึงได้แสดงออกด้วยการประกาศไม่เข้าร่วมประชุมและมีการอภิปรายแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง

\"พท.\"ชงญัตติขอมติรัฐสภาส่งศาลรธน.วินิจฉัย แก้ รธน. ม.256

\"พท.\"ชงญัตติขอมติรัฐสภาส่งศาลรธน.วินิจฉัย แก้ รธน. ม.256

ขณะที่ สมาชิกรัฐสภาส่วนหนึ่ง เห็นว่า รัฐสภามีหน้าที่ทำหน้าที่พิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการเพิ่มเติมหมวด 15/1 เท่านั้น ซึ่งภายหลังเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงไปดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ โดยทำพร้อมกับประชามติว่า ประชาชนเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการทำประชามติก่อนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เช่นกัน ซึ่งฝ่ายนี้เห็นว่าเป็นการสอดคล้องและเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่  4/2564 

ดังนั้น เมื่อสมาชิกรัฐสภามีความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในข้างต้น จึงทำให้รัฐสภา ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหน้าที่และอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่และถือว่าเป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปัญหาดังกล่าว จึงเสนอญัตติด่วนตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่