25 กุมภาพันธ์ 2567 จากการที่ "นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผ่านทางไปรษณีย์ เพื่อขอให้ตรวจสอบ "น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล" รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กรณียื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งรายได้ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
จากกรณีเข้ารับตำแหน่ง สส. เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 โดยแจ้งรายการซื้อขายหุ้นแต่ยังไม่ได้รับเงินไว้ ดังนี้
มีรายได้จากการขายหุ้นแต่ยังไม่ได้รับเงิน 459,364,000 บาท มีเงินให้กู้ยืมเป็นลูกหนี้สัญญาซื้อขายหุ้น5รายรวม 459,364,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2566 น.ส.สุดาวรรณ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งไม่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ในฐานะรัฐมนตรีอีก
ทั้งนี้ กรณีจึงควรใช้บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินรวมทั้งรายได้ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตําแหน่ง สส. มาเป็นข้อมูลในการตรวจสอบรายได้จากการขายหุ้น แต่ยังไม่ได้รับเงิน แต่ตั้งเป็นลูกหนี้ไว้ ว่า น.ส.สุดาวรรณ ในตำแหน่ง รมว.ท่องเที่ยวฯ มีการขายหุ้นดังกล่าวจริงหรือไม่ เหตุใดการขายหุ้นจึงไม่ได้รับชําระเงินเลย และทําไมจึงแจ้งเป็นเงินให้กู้ยืม (ลูกหนี้สัญญาซื้อขายหุ้น) ด้วยจำนวนที่เท่ากัน คือ 459,364,000 บาท
อย่างไรก็ตาม หาก กกต.ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วมีเหตุอันควรสงสัยว่า ณ วันดํารงตำแหน่งรมว.ท่องเที่ยวฯ การซื้อขายหุ้นดังกล่าวยังไม่ได้ชำระเงิน ซึ่งมีจำนวนสูงมากนั้น จะเข้าข่ายเป็นการทํานิติกรรมอําพราง การถือหุ้นไว้ให้อยู่ในความครอบครอง หรือดูแลของบุคลอื่นไม่ว่าในทางใดๆ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 วรรคสี่ หรือไม่
นายเรืองไกร ระบุว่า จะถือได้ว่า น.ส.สุดาวรรณ ในฐานะรมว.ท่องเที่ยวฯ ยังคงไว้ซึ่งความเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งหากถือเกินร้อยละ 5 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ก็ต้องตรวจสอบต่อไปว่า เข้าข่ายกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 วรรคหนึ่งหรือไม่ อันจะเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่
ขณะเดียวกัน เนื่องจาก น.ส.สุดาวรรณ ได้แสดงรายการหนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือไว้ด้วย รวมเป็นเงิน 193,725,000บาท โดยมี 3ร ายการ ซึ่งกู้จาก "นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล" ผู้เป็นบิดา อดีต รมช.คมนาคม 2 รายการ และกู้จากนางยลดา หวังศุภกิจโกศล ผู้เป็นมารดา และนายก อบจ.นครราชสีมา 1 รายการ มีคำอธิบายระบุไว้ว่า เป็นเจ้าหนี้สัญญาซื้อขายหุ้นวันที่ทำสัญญา คือ วันที่ 17 ก.ค. 2562
"เพื่อให้การตรวจสอบครบถ้วนรอบด้าน จึงขอให้ กกต.นําข้อมูลบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายวีรศักดิ์ และนางยลดา ที่ยื่นไว้ต่อ ป.ป.ช. ทุกครั้ง มาประกอบการตรวจสอบ เพื่อให้ทราบถึงรายการเคลื่อนไหวทางเดบิต หรือเครดิตทางบัญชี หรือรายการรับจ่ายทางการเงิน (ถ้ามี) เกี่ยวกับการการซื้อขายหุ้นหรือจําหน่ายจ่ายโอนหุ้น หรือเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นดังกล่าวด้วยว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นรัฐมนตรีของวีรศักดิ์ มาก่อนด้วยหรือไม่" นายเรืองไกร ระบุ
อนึ่ง เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566 ป.ป.ช. ได้มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ "น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กรณีเข้ารับตำแหน่ง สส. โดยแจ้งบัญชีทรัพย์สินทั้งสิ้น 805,400,298 บาท
มีรายการขายหุ้นแต่ยังไม่ได้รับเงินไม่ครบ จากมูลค่าทั้งหมด 459,304,000 บาท โดยขายหุ้นให้
- น.ส.วีรียา หวังศุภกิจโกศล มูลค่า 375,900,000 บาท มียอดหนี้คงเหลือ 372,900,000 บาท
- นายชาคริต หวังศุภกิจโกศล มูลค่า 63,535,000 บาท มียอดหนี้คงเหลือ 30,995,000 บาท
- นายศิลป์ อุบลแย้ม มูลค่า 16,200,000 บาท มียอดหนี้คงเหลือ 3,844,000 บาท
- นายบัณฑิต ยลถวิล มูลค่า 21,525,000 บาท มียอดหนี้คงเหลือ 11,685,000 บาท
- นายประสาท รัตนศรี มูลค่า 60,770,000 บาท มียอดหนี้คงเหลือ 39,940,000 บาท
ทรัพย์สินอื่นอีก 11 รายการ มูลค่า 7,555,000 บาท ประกอบด้วย