เพื่อนซี้-เพื่อนรัก
"สมเด็จฮุน เซน" และ "ทักษิณ" ถือว่ามาความสนิทสนามกันเป็นอย่างมากจากสมัยที่ทั้งคู่ได้เป็นผู้นำประเทศเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สะท้อนจากภาพสำคัญที่ครั้งหนึ่ง "ทักษิณ" ควงน้องสาว "ยิ่งลักษณ์" ไปรวมงานวันคล้ายวันเกิด "สมเด็จฮุน เซน" ถึงกัมพูชา เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2566
ขณะเดียวกัน "ทักษิณ" ก็ยังถึงขั้นทวีตประกาศขอเลื่อนเดินทางกลับไทย จากวันที่ 10 ส.ค. ไปอีก 2 สัปดาห์ ส่วน "สมเด็จฮุน เซน" ก็มีการโพสต์คลิปความยาว 1 นาที ลงใน tiktok โดยมีภาพ "ทักษิณ" และ "ยิ่งลักษณ์" มาร่วมงานถึงบ้านพัก ณ กรุงพนมเปญ
นอกจากนี้ สำนักข่าวเอพี ยังเคยรายงานถึงความสัมพันธ์ของ "ทักษิณ" และ "สมเด็จฮุน เซน" ที่เรียกว่าใกล้ชิดกันเป็นพิเศษ ถึงขั้นที่ต่างฝ่ายเรียกอีกฝ่ายว่า "godbrother" (พี่ชาย/น้องชายอุปถัมภ์)
หากให้ยิ่งตอกย้ำความสัมพันธ์แน่นแฟ้นของทั้งคู่ที่ดูชัดเจน คือ ช่วงปี 2552 ที่ "ทักษิณ" ยังคงลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ โดย "สมเด็จฮุน เซน" ได้แต่งตั้ง "ทักษิณ" ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชา ด้านเศรษฐกิจ พร้อมประกาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของกัมพูชา
ซึ่งระหว่าง "สมเด็จฮุน เซน" ให้สัมภาษณ์ยังได้นำเอกสารที่รัฐบาลไทยส่งมาให้กัมพูชา ในการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนยื่นให้ "ทักษิณ" ระหว่างออกรายการเทปบันทึกภาพ ก่อนที่จะพูดให้ความมั่นสัญญาใจกับ "ทักษิณ" ว่าจะไม่มีการส่งตัวกลับไทยอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุผล 3 ข้อ คือ
ทว่า คล้อยหลังจากนั้นไม่นาน "ทักษิณ" ก็ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนี้
แต่ความผูกพันไม่ได้มีเพียงเท่านั้นทางด้านธุรกิจเอง ซึ่งในปี 2551 โดย "พล.อ.เตีย บัญ" รมว.กลาโหม กัมพูชา ออกมายืนยันถึงกระแสข่าวที่มีการรายงานในไทย ว่า "ทักษิณ" เตรียมเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อ.เกาะกง นั้น เป็นความจริง และทำธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ แต่อยู่ระหว่างการศึกษา
ทั้งหมดเป็นภาพรวมเชิงความสัมพันธ์ที่ทั้งคู่มีต่อกันในช่วงที่ต่างฝ่ายนั่งเป็นผู้นำในการบริหารประเทศที่นำมาเล่าพอสังเขป
มารู้จัก "สมเด็จฮุน เซน" เขาเป็นใคร
หลายคนสงสัย "สมเด็จฮุน เซน" คือใครและมีบทบาทสำคัญอย่างไร
"สมเด็จฮุน เซน" หรือชื่อเดิมคือ "ฮุน โบนาล" หรือ "ฮุน นาล" ก่อนจะมาเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น "ฮุน เซน" เกิดในครอบครัวตระกูลเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว และค่อนข้างมีฐานะนับว่าเป็นเศรษฐีที่ดินใน จ.กำปงจาม กระทั่งช่วงหนึ่งของครอบครัว ทำให้ชีวิตพลิกผันจากเคยร่ำรวยจำเป็นต้องขายทรัพย์สินที่มีอยู่ออกไป
กระทั่งเข้าสู่ช่วงสงครามโค่นล้มอำนาจ "เจ้านโรดม สีหนุ" เมื่อปี 2513 ทำให้ "สมเด็จฮุน เซน" ในวัย 18 ปีเวลานั้นได้เข้าร่วมกับเขมรแดง จนในปี 2518 เขาได้รับบาดเจ็บจากการรบ จนทำให้ตาซ้ายบอดสนิทเวลาต่อมา แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มทำให้เขามีบทบาทต่อกองทัพกัมพูชา
ก่อนที่ช่วงปี 2522 นับเป็นเวลาสำคัญที่ "สมเด็จฮุน เซน" ได้นำกำลังที่รวบรวมเข้าร่วมกับเวียดนาม เพื่อโค่นล้มเขมรแดง ภายใต้การนำของ "นายพลพอล พต" จนได้รับชัยชนะ และจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เขากลายเป็นผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลอย่างมากในกัมพูชา และเขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ จนถึง 2529 และอีกสมัยในปี 2530-2533
ชีวิตบนถนนการเมือง
"สมเด็จฮุน เซน" ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ ในปี 2528 โดยสภาเลือกเขาเข้ามาต่อจากอดีตนายกฯ ที่เสียชีวิตไป กระทั่งเขาได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพปารีสในปี 2534 ทำให้หลังจากนั้นอีก 2 ปี คือในปี 2536 จึงเกิดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก และ "สมเด็จฮุน เซน" ได้ดำรงตำแหน่งนายกฯอีกครั้ง โดยเป็นร่วมกับ "นโรดม รณฤทธิ์" เป็นรัฐบาลผสมชุดแรก
กระทั่งปี 2540 เขาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการโค่นอำนาจ "นโรดม รณฤทธิ์" ส่งผลให้เขาได้กลายเป็นนายกฯ เพียงหนึ่งเดียวเวลาต่อมา และจากนั้นเขาได้พาพรรคประชาชนกัมพูชา ชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอด แม้บางช่วงจะเป็นรัฐบาลผสม
โดยในการเลือกตั้งปี 2561 "สมเด็จฮุน เซน" ได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จโดยครอบครองเสียงข้างมากในสภา ทำให้เขาได้กลายเป็นนายกฯ ติดต่อกันถึง 6 สมัย
ชีวิตครอบครัว
"สมเด็จฮุน เซน" ได้สมรสกับ สมเด็จกิตติวุฒิบัณฑิต บุน รานี โดยมีบุตรชาย 4 คน บุตรสาว 2 คน และบุตรสาวบุญธรรม 1 คน ได้แก่