13 กุมภาพันธ์ 2567 อีกไม่ถึงสัปดาห์ก็จะได้เห็น "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ภายหลังเดินทางกลับเข้าประเทศ ก่อนจะถูกนำตัวเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ นานเกินกว่า 120 วัน ก็จะได้รับการพักโทษ ซึ่งทางครอบครัวก็มีการจัดเตรียมสถานที่ คือ "บ้านจันทร์ส่องหล้า" ไว้รองรับ ทว่า เกิดคำถามใครที่จะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวนั้น
โดย "นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ" ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเมือง ได้อธิบายถึงขั้นตอนการพิจารณาพักโทษ ว่า เป็นการพิจารณาของคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษ ซึ่งจะมีการประชุมกันทุกเดือน
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวนั้น มีรองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน และมีกรรมการรวมทั้งสิ้น 19 คน โดยเป็นผู้แทนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อธิบดีกรมคุมประพฤติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งช่าติ (สตช.) สำนักงานกิจการยุติธรรม กรมการปกครอง กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
สำหรับการพิจารณาพักการโทษนั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มแรก : พักการลงโทษกรณีปกติ
จะมีผู้เข้าเกณฑ์เดือนละประมาณ 700-1,000 คน เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยรายชื่อผู้ได้รับการพักโทษแล้ว จะเสนอรายงานถึงรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีไม่ต้องพิจารณาอนุมัติ
กลุ่มที่สอง : พักการลงโทษกรณีพิเศษ แยกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
โดยนักโทษที่ได้รับการพักโทษกลุ่มนี้ คณะอนุกรรมการจะต้องเสนอรายชื่อให้ รมว.ยุติธรรม ลงนามอนุมัติ โดยในแต่ละเดือนมีจำนวนน้อยกว่าการพักโทษกรณีปกติ แต่ไม่ใช่มีแค่คนเดียว รวมถึงครั้งนี้ก็เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การประชุมของคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาพักการลงโทษนั้น จะประชุมกันเดือนละ 1 ครั้ง โดยจะพิจารณา 4 เรื่องด้วยกัน คือ
อนึ่ง มีรายงานว่า ประธานคณะอนุกรรมการชุดนี้ เป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่รับผิดชอบกลุ่มงานด้านพัฒนาพฤตินิสัย เป็นรองปลัดหญิง ซึ่งจากการตรวจสอบรายชื่อรองปลัดกระทรวงยุติธรรมในปัจจุบัน ซึ่งมี 4 คน มีรองปลัดหญิงเพียงคนเดียว คือ "นางจิรภา สินธุนาวา"
อย่างไรก็ตาม เว็ปไซด์ของกรมราชทัณฑ์ ได้อธิบการถึงเรื่องการพักโทษไว้ ดังนั้น
การพักการลงโทษ หมายถึง การปลดปล่อยออกไปก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลภายใต้เงื่อนไข คุมประพฤติที่กำหนด การพักการลงโทษมิใช่สิทธิของผู้ต้องขัง แต่เป็นประโยชน์ที่ทางราชการให้แก่นักโทษเด็ดขาด ที่มีความประพฤติดี มีความก้าวหน้าทางการศึกษา ทำงานเกิดผลดีแก่เรือนจำหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
คุณสมบัติผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ
เมื่ออยู่ในเกณฑ์พักการลงโทษจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานเรือนจำได้ประกาศรายชื่อให้ทราบทั่วกันแล้วว่า มีผู้ใดบ้างอยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับการพักการลงโทษ นักโทษเด็ดขาดจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
การปฏิบัติตนระหว่างการคุมประพฤติอย่างไร
ช่วงระหว่างการคุมประพฤติ จะมีเจ้าพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัครคุมประพฤติไปเยี่ยม ที่บ้านของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัว เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เมื่อมีปัญหา โดยที่ผู้ถูกคุมประพฤติจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไข 8 ข้อ ที่กำหนดไว้หากประพฤติผิดเงื่อนไข จะถูกนำตัวกลับมาคุมขังไว้ในเรือนจำตามเดิม และจะถูกลงโทษทางวินัยด้วย
สำหรับเงื่อนไข 8 ข้อ ประกอบด้วย
ถ้าผู้ได้รับการปล่อยตัว ประพฤติตนตามเงื่อนไขด้วยดีตลอด ก็จะได้รับใบบริสุทธิ์และพ้นโทษไปตามคำพิพากษา เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบต่อไป
นักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก จะต้องนำเอกสารมาประกอบการพิจารณาสืบเสาะข้อเท็จจริงก่อนปล่อยตัว ดังนี้
อย่างไรก็ตาม กรณีนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่มีผู้อุปการะและที่อยู่แน่นอน เรือนจำจะดำเนินการประสานงานกับประชาสงเคราะห์จังหวัด องค์กรกุศลของภาครัฐและภาคเอกชน วัด และมูลนิธิต่างๆ ในท้องถิ่น ให้ความช่วยเหลือในด้านที่พัก และการประกอบอาชีพ