svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"เนชั่นโพล" ไขปมคาใจ “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ใครวิน? 

19 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ควันหลง การแถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภาที่ผ่านมา "เนชั่นโพล" ทำการสำรวจการทำหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล เพื่อไทย และฝ่ายค้าน แล้วก็มาถึงประเด็นไฮไลต์ คือ ก้าวไกล กับเพื่อไทย ใครได้คะแนนไปมากกว่ากันจากศึกแถลงนโยบาย 

"ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น" ผู้อำนวยการเนชั่นโพล วิเคราะห์ว่า ภาพรวมของผลสำรวจที่ออกมา สรุปได้แบบนี้...

-ประชาชนที่เลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย จะมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเศรษฐา มากกว่ากลุ่มอื่น 

-ประชาชนที่เลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล มีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเศรษฐา ต่ำที่สุด

\"เนชั่นโพล\" ไขปมคาใจ “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ใครวิน? 

 เมื่อเจาะลงไปเป็นตัวเลขรายประเด็น จะยิ่งพบความน่าสนใจ 

-แฟนคลับก้าวไกล ซึ่งหมายถึงคนที่เลือกพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้ง14 พ.ค.66 ให้คะแนนความเชื่อมั่นการแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา เพียงแค่ 0.2% เชื่อมั่นมากแค่ 5.07% 

-แฟนคลับก้าวไกลให้น้ำหนักไปที่ "ไม่เชื่อมั่น" สูงถึง 47.63% (ไม่ค่อยเชื่อมั่น 28.04% + ไม่เชื่อมั่นเลย 19.59%) สูงกว่าเชื่อมั่นปานกลาง 47.11% เสียอีก (กลุ่มที่ยังไว้หน้า) 

-ด้านแฟนคลับเพื่อไทย จาก 100% ที่เคยเลือกพรรคการเมืองนี้ในการเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 ปรากฏว่า เมื่อผ่านการแถลงนโยบายไปแล้ว มีความเชื่อมั่นมากที่สุดเพียง 12.30% เชื่อมั่นมาก 25.98% รวมเป็น 38.28% แปลความได้ว่า ความเชื่อมั่นที่มีต่อพรรคเพื่อไทยหลังตั้ง “รัฐบาลข้ามขั้ว” มีภาวะถดถอยลงพอสมควร มิฉะนั้นคะแนนเชื่อมั่นจะต้องมากเกิน 50% เป็นอย่างน้อย  

แถมยังมีกลุ่มที่ไม่ค่อยเชื่อมั่น 18.63% และไม่เชื่อมั่นเลย 9.84% รวมเป็น  28.47% ด้วย ส่วนที่เหลือ 33.25% เป็นกลุ่มเชื่อมั่นปานกลาง 

-ตรงกันข้ามกับพรรคก้าวไกล แม้จะพลาดการเป็นรัฐบาล ต้องทำหน้าที่ฝ่ายค้าน แต่ก็ยังได้คะแนนความเชื่อมั่นจากแฟนคลับตัวเองมากถึง 70.05% 

\"เนชั่นโพล\" ไขปมคาใจ “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ใครวิน? 

"ที่น่าตกใจคือ กลุ่มที่เคยเลือกพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 กลับให้คะแนนความเชื่อมั่นกับการทำงานของพรรคก้าวไกลในฐานะฝ่ายค้าน มากถึง 44% "

ภาวะถดถอยของพรรคเพื่อไทย หลังตั้ง "รัฐบาลข้ามขั้ว" แม้คะแนนนิยมและคะแนนความเชื่อมั่นจะยังคงเป็นปัญหา แต่ก็ถือว่าดีขึ้นกว่าช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปิดผลสำรวจของ D-vote กับมหาวิทยาลัยศรีปทุม หรือ SPU 

\"เนชั่นโพล\" ไขปมคาใจ “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ใครวิน? 

ครั้งนั้นเป็นการสำรวจในหัวข้อ "หากมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในวันนี้ คุณจะเลือกพรรคใด" โดยสำรวจระหว่างวันที่ 21 - 24 สิงหาคม จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ ภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,253 ตัวอย่าง 

ผลสำรวจพบว่า 

พรรคก้าวไกล คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.39
พรรคเพื่อไทย คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 62.24

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นศรีปทุม-ดีโหวต อธิบายว่า การที่พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของคะแนนนิยมเฉลี่ยมากที่สุดนั้น เกิดจากการที่ได้มีโอกาสสลับกันเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และเป็นที่สนใจของประชาชนจำนวนมาก โดยคะแนนนิยมที่ลดลงของพรรคเพื่อไทยร้อยละ 51.32 ได้ไหลไปหาพรรคก้าวไกล / ในขณะที่ร้อยละ 10.92 ไหลไปหาพรรคอื่นๆ 

\"เนชั่นโพล\" ไขปมคาใจ “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ใครวิน? 

จากผลสำรวจของ D-vote ที่จับมือกับมหาวิทยาลัยศรีปทุมในครั้งนั้น เทียบกับ "เนชั่นโพล" ณ วันนี้ ต้องถือว่าคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทย "ดีขึ้น" หรือจะเรียกว่า "ถดถอยน้อยลง" ก็คงได้ สาเหตุน่าจะมาจาก

-ภาวะผู้นำและความเชื่อมั่นที่ประชาชนมอบให้นายกฯเศรษฐา 

-การลงพื้นที่อย่างรวดเร็ว ถี่ยิบ และกระจายหลายพื้นที่อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของนายกฯเศรษฐา 

-การเร่งคลอดนโยบายประชานิยมทันทีของรัฐบาล ในการประชุม ครม.นัดแรก โดยเฉพาะการลดราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันดีเซล และไฟฟ้า ซึ่งทำจริงตามที่ประกาศ 

-จุดพลิกผันที่สำคัญน่าจะอยู่ที่นโยบาย "แจกเงินหมื่น" ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ ถ้าสำเร็จ คะแนนนิยมอาจจะดึขึ้นอีก แต่ถ้าล้มเหลว หรือมีปัญหา ก็เสี่ยงวูบได้เหมือนกัน

\"เนชั่นโพล\" ไขปมคาใจ “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ใครวิน? 

logoline