svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล "ยาแรง" หรือแค่ "น้ำท่วมทุ่ง"

เหตุการณ์สนั่นเมืองนครปฐม เมื่อนายตำรวจทางหลวง ถูกลูกน้องกำนันนก ปลิดชีพภายในบ้านพักของกำนัน ต่อหน้าต่อตาเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกหลายนายที่ได้รับเทียบเชิญให้มาร่วมงานเลี้ยงประจำเดือนของกำนันรายนี้

ดูเป็นภาพสะท้อนสังคมไทย ความสัมพันธ์ของคนมีสี และ “ผู้มีอิทธิพล” เป็นของคู่กัน อีกทั้งสภาพการณ์ความสัมพันธ์แบบนี้ ที่ทำให้ตั้งข้อสังเกตไปถึงการเอื้อประโยชน์อะไรตามหรือไม่นั้น ไม่ได้ลดลงไปแม้แต่น้อย  

ยิ่งเมื่อเกิดเหตุนำมาซึ่งความสูญเสีย มักจะตามด้วย ฝ่ายกำกับนโนบาย ออกคำสั่ง หรือ มาตรการ จัดการ เด็ดขาด จนเกิดคำถาม “วัวหายแล้วล้อมคอก” หรือไม่ 
พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล \"ยาแรง\" หรือแค่ \"น้ำท่วมทุ่ง\"
“ต้องลงไปตรวจสอบว่า คนแบบนี้เป็นกำนัน เป็นหัวหน้า เป็นผู้นำชุมชนได้อย่างไร และหากประชาชนทำตามสไตล์คนเหล่านี้ ประเทศจะเป็นอย่างไร หลังจากนี้จะต้องมีการขึ้นบัญชี สอบประวัติ และพฤติกรรม หากพบมีพฤติกรรมเช่นนี้คงมาเป็นผู้นำมวลชนไม่ได้ และมีที่เดียวที่จะอยู่ ซึ่งสมัยก่อนสังกัดกระทรวงมหาดไทย แต่ขณะนี้ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม ให้ส่งไปปลายทางนั้น ซึ่งน่าจะยินดีรับคนเหล่านี้”   

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.มหาดไทย กล่าวในงานมอบนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 
พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล \"ยาแรง\" หรือแค่ \"น้ำท่วมทุ่ง\"
ไม่เพียงเท่านั้น อนุทิน ยังชายตาไปถึงคนที่ยืนอยู่ข้างเคียง ชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย ให้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการ นำนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลไปดำเนินการให้เห็นผล

จะคิดไปในมุมไหนอย่างไร เอาว่านาทีนี้ รมว.มหาดไทย คนใหม่ อนุทิน ชาญวีรกูล รับลูกกระแสข่าวดัง ออกนโยบายจัดการปัญหามาเฟีย ผู้มีอิทธิพล แบบทันควัน

นี่ก็อาจเป็นการบันทึกรอบล่าสุด สำหรับนโยบายการจัดการต่อกลุ่มคนสีเทา ซึ่งรวมไปถึงความพยายามปราบปรามผู้มีอิทธิพล ที่ประกาศออกมาโดยทันที หลังมีเหตุการณ์สั่นสะเทือนประเทศและวงการสีกากี
พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล \"ยาแรง\" หรือแค่ \"น้ำท่วมทุ่ง\"

ดูจะไม่ต่างกับเหตุการณ์ในอดีตที่เวลามีประเด็นปัญหา ผู้มีอิทธิพล ปัญหาอาชญากรรมไม่ได้ลดลง ฝ่ายกำกับนโยบาย มักจะออกมาประกาศมาตรการเข้มข้นจริงจังไว้ก่อน

“ด้านความปลอดภัย รัฐบาลจะทำงานร่วมกับประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อดำเนินการ ปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย…”   
พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล \"ยาแรง\" หรือแค่ \"น้ำท่วมทุ่ง\"
ข้อความในนโยบายรัฐบาล หน้า 11 จาก 43 หน้า ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะแถลงต่อที่ประชุมรัฐสภา ในวันที่ 11 กันยายน 2566 ปรากฏ เกี่ยวกับนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดให้หมดไป

หรือหากย้อนกลับไปสมัย คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ขณะนั้น  ก็ใช้ประกาศิตของมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทําลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  

เนื้อหาตอนหนึ่งเขียนไว้อย่างน่าเกรงขาม ว่า "ด้วยปรากฏว่าได้มีบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์กระทําความผิดอาญาบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทําลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการข่มเหง ขู่เข็ญ รังแก หรือแสดงตน อันเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืน หรือ ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะเกรงภัยจะเกิดแก่ตน นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีบุคคลที่ดํารงชีพด้วยการกระทําผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด เป็นเจ้ามือพนัน มีพฤติการณ์ซ่องสุมอาวุธ"
พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล \"ยาแรง\" หรือแค่ \"น้ำท่วมทุ่ง\"
"เพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์ต่าง ๆ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย การที่จะนําตัวผู้กระทําความผิดมาดําเนินคดีจึงมีความยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดความเสี่ยงภัยต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จึงจําเป็นต้องกําหนดกระบวนการในการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดอาญาที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นพิเศษ เพื่อเป็นมาตรการเสริมกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราม  การกระทําความผิดอาญา รวมทั้งคุ้มครองความสงบเรียบร้อย"

โดยเฉพาะ ข้อ 3 การให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอำนาจหน้าที่ ตามวงเล็บสอง สามารถ จับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการต่อไป แม้เป็นคำสั่งตามมาตรา 44 ที่สามารถให้เจ้าหน้าที่ จัดการผู้มีอิทธิพล คนร้าย ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยถูกยกเลิกไปแล้ว  

แต่ก็เป็นภาพสะท้อนประการหนึ่งต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ในบรรยากาศบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ใช้กฎหมายตามกระบวนการปกติ จัดการทุรชน อย่างเช่น เหตุการณ์บ้านกำนันดัง ที่มีนายตำรวจอยู่ในที่เกิดเหตุ หลายสิบนาย แต่น่าอัศจรรย์ ลูกน้องกำนันที่สังหารตำรวจกลับสามารถหลบหนีไปได้ 
พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล \"ยาแรง\" หรือแค่ \"น้ำท่วมทุ่ง\"
หรือในยุคสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่อยู่ในบรรยากาศรัฐบาลประชาธิปไตย ก็เคยออกมาตรการปราบปรามผู้มีอิทธิพล และยาเสพติด เมื่อปี 2546 ถึงกับประกาศทำสงครามยาเสพติด จนมีเหตุคดี ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ  สั่นสะเทือนกระบวนการยุติธรรม กระฉ่อนไปถึงองค์การสหประชาชาติต้องหันมาเพ่งเล็ง นโยบายปราบปรามยาเสพติด ของไทยในช่วงนั้น

เหตุการณ์ลูกน้องกำนัน ยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อหน้าต่อตาเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มหนึ่งในงานเลี้ยงฉลองที่บ้านกำนัน จึงเป็นการกระตุกนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลให้กลับมาฉายหนังวนซ้ำไปซ้ำมา เหมือนอย่างที่ อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทยคนใหม่ ประกาศขึงขังจริงจังต่อการขึ้นบัญชีดำคนที่มาทำหน้าที่เป็นผู้นำท้องถิ่น อย่างกำนันผู้ใหญ่บ้าน 

ซึ่งไม่รู้ว่านี่จะเป็นมาตรการไฟไหม้ฟางหรือไม่ 
พลิกนโยบายปราบผู้มีอิทธิพล \"ยาแรง\" หรือแค่ \"น้ำท่วมทุ่ง\"
เอกสารแถลงนโยบายรัฐบาล

https://politics.nationtv.tv/politic/378929249

………………....

คำสั่งคสช. มาตรา 44 กวาดล้างผู้มีอิทธิพล https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/074/1.PDF