svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

พลิกปูม ปลด"พัชรวาท" รอมติ "ยกโทษ" 4 ปี ใครเตะถ่วงคำสั่ง"ก.ตร." ก่อนติดโผครม.

29 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กลายเป็นประเด็น สำหรับหนึ่งในว่าที่รองนายกฯ และรัฐมนตรีป้ายแดง "พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ" ที่ถูกหยิบยกเรื่องคุณสมบัติมาพิจารณา เนื่องจากถูกสั่งปลดจากราชการ หลัง ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดตามมาตรา 157 กรณีสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551

ภายหลัง ป.ป.ช.ชี้มูลดังกล่าว นายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552  ลงวันที่  19 ตุลาคม 2552 ปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากราชการ

ต่อมา คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. พิจารณาอุทธรณ์ของ"พล.ต.อ.พัชรวาท" ในการประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 17/2552 เห็นว่ายังรับฟังไม่ได้ว่า พล.ต.อ.พัชรวาท กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีมติให้สั่งยกโทษแก่ "พล.ต.อ.พัชรวาท"

พลิกปูม ปลด\"พัชรวาท\" รอมติ \"ยกโทษ\" 4 ปี ใครเตะถ่วงคำสั่ง\"ก.ตร.\" ก่อนติดโผครม.

จากนั้น สำนักงาน ก.ตร. ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ตช 0012.31/305 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 แจ้งนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ตร. เพื่อให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษ"ปลดออกจากราชการ" ตามมติ ก.ตร. 

จากนั้น สำนักงาน ก.ตร. ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ตช 0012.31/305 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 แจ้งนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ตร. เพื่อให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษ"ปลดออกจากราชการ" ตามมติ ก.ตร. 

แต่ได้รับการชี้แจงว่า การยกเลิกคำสั่งลงโทษมีปัญหา ข้อกฎหมายที่ต้องหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาเสียก่อน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีภาได้แจ้งความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกามายังนายกรัฐมนตรีหลายครั้ง 

พลิกปูม ปลด\"พัชรวาท\" รอมติ \"ยกโทษ\" 4 ปี ใครเตะถ่วงคำสั่ง\"ก.ตร.\" ก่อนติดโผครม.

"กฤษฎีกา" ได้พิจารณาจนเรื่องเสร็จที่ 703/2553 ได้แจ้งให้ทราบว่า ประเด็นที่ ก.ตร. โต้แย้งว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ใช้ อำนาจไต่ สวนและชี้มูลความผิด"พล.ต.อ.พัชรวาท" เกินอำนาจตามกฎหมาย เป็นข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลอันควรได้รับการพิจารณา 

นายกรัฐมนตรีจึงอาจทำได้ 2 ทาง คือ

1.หากเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของ ก.ตร. นายกรัฐมนตรีก็ชอบที่จะสั่งการตามมติของ ก.ตร.  

2.ถ้านายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย ก็อาจทำบันทึกโต้แย้งมติของ ก.ตร. เพื่อให้พิจารณา ทบทวนใหม่ 

อย่างไรก็ดี ภายหลังได้รับแจ้งความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว นายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์) ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแนะข้างต้น

จนกระทั่ง "พลตำรวจเอก พัชรวาท"เห็นว่า การกระทำของนายกรัฐมนตรี เป็นการจงใจละเลยต่อหน้าที่ตามที่ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองกลาง 

ต่อมาศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษา วินิจฉัยว่า หากนับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกฯ อภิสิทธิ์) ได้รับแจ้งมติ ก.ตร. ครั้งแรก คือ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553  จนถึงวันที่ได้รับแจ้งผลการหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาครั้งหลังสุด คือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553

นับได้ว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแก่การพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนี้ของผู้ถูกฟัอง คดีจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร จึงพิพากษาให้นายกรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่ได้รับแจ้งมติของ ก.ตร. ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด  

แต่ปรากฎว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ศึกษาคำพิพากษาของศาลปกครองกลางแล้ว เห็นว่าเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความรอบคอบ สมควรหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อช่วยวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง (อีกครั้ง)

หลังจากนั้น จึงได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เพื่อพิจารณาสั่งให้ งดอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง รวมทั้งมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี มีหนังสือหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นปัญหาดังกล่าว

ต่อมานายกรัฐมนตรี  มีคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2557 เห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสั่งให้งดอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง และให้สำนักนายกรัฐมนตรี หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 

ต่อมา คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 มีความเห็นว่า เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองกลางจึงถึงที่สุด นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับในคำพิพากษา ตามที่ได้รับแจ้งมติของ ก.ตร. ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่หลังจากนั้น ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ทำรัฐประหาร รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ 

กระทั่ง วันที่ 23 กรกฎาคม 2557 จึงได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์คําสั่ง คสช. ฉบับที่ 93/2557 เรื่องยกโทษปลดออกจากราชการ "พล.ต.อ.พัชรวาท" ตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ลงนามโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ในช่วงนั้น มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค.2557

ข้อสังเกต 

คดีนี้เป็นคดีปกครอง ที่มติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)  พิจารณาอุทธรณ์ลงวันที่  17 กุมภาพันธ์ 2553 เห็นแล้วว่า "พล.ต.อ.พัชรวาท" ไม่มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีมติให้สั่งยกโทษ แต่กลับต้องรอถึง 4 ปี จึงมีการดำเนินการตามคำสั่งยกเลิกการลงโทษ

ปรากฎว่า นายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น กลับมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี หารือข้อกฎหมายมายังคณะกรรมการกฤษฎีกาถึง 3 ครั้ง รวมทั้งยังหารือไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องหารืออีก

ขณะที่ศาลปกครอง เห็นว่านับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแก่การพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนี้ของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร จึงพิพากษาให้นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแจ้งจาก ก.ตร. ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด 

สาระสำคัญ ที่ได้จากคดีนี้คือ การที่หน่วยงานของรัฐไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นต้องหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่กลับดึงเรื่องหรือปฏิบัติราชการในเรื่องนั้นไว้นานจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น อาจเป็นพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิด "ความรับผิดทางปกครอง" ได้เช่นกัน

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย

ทั้งนี้ "นายวิษณุ  เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ว่า กรณีมีการยื่นเรื่องขอให้ตรวจสอบเกี่ยวกับสมบัติบุคคลที่ถูกเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ซึ่งเคยถูก"ปลดออกจากราชการ" โดยเมื่อมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้"ยกโทษ"ปลดออกจากราชการนั้นแล้ว ก็เท่ากับการปลดนั้นหมดไป โดย"ไม่เคยมี" 

เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าคุณสมบัติผ่านไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า "ไม่ทราบ ผมตอบคำถามที่คุณถาม ส่วนข้ออื่นผมไม่รู้ แต่ยังมีอีกเยอะในเรื่องของคุณสมบัติ"


"เคยถูกสั่งให้ปลด แต่ตอนหลังได้มีคำสั่ง คสช. ยกเลิก ก็เหมือนว่าคำสั่งปลดไม่เคยมี"

"วิษณุ เครืองาม"  รองนายกฯด้านกฎหมายกล่าวย้ำ   

ลำดับเหตุการณ์ตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 

1. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566   มีหนังสือ ถึง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นการร้องขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี เนื่องจากทราบว่า มี"พล.ต.อ.พัชรวาท" จะได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกฯและรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

2. เนื้อหาหนังสือ ระบุว่า "พล.ต.อ.พัชรวาท" เคยถูกนายกฯอภิสิทธิ์ ขณะนั้น มีคำสั่งสำนักนายกฯ ลงโทษปลดออกจากราชการ ตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ปี 2552 

3. ต่อมา "พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา" มาเป็นนายกฯ หลังการยึดอำนาจ ได้มีคำสั่งคสช. ยกโทษปลดออกราชการ ให้"พล.ต.อ.พัชรวาท 

พลิกปูม ปลด\"พัชรวาท\" รอมติ \"ยกโทษ\" 4 ปี ใครเตะถ่วงคำสั่ง\"ก.ตร.\" ก่อนติดโผครม.

4. หนังสือได้อ้าง รัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 160  รัฐมนตรีต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 98  และมาตรา 98 ( 8 ) เคยถูกสั่งให้พ้นราชการเพราะประพฤติมิชอบในวงราชการ จึงเห็นควรให้ เลขาธิการนายกฯได้นำข้อมูลนี้ใช้ประกอบการพิจารณาก่อนนำรายชื่อบุคคลให้นายกฯ เสนอโปรดเกล้าฯ 

 

logoline