svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เทียบหลักเกณฑ์การจ่าย "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" เปลี่ยนอะไรบ้าง เช็กที่นี่!

กระแสความไม่เห็นด้วย จากหลายฝ่าย หลังมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว

หลังจากที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 โดยมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566

ซึ่งมีการระบุคุณสมบัติผู้มีสิทธิที่จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ ไว้ 4 ข้อ และต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และหากผู้สูงอายุที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพด้วยความสุจริต ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระงับสิทธิ แต่ยกเว้นไม่ต้องเรียกเงินคืน

เรื่องนี้ทำให้เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยและคัดค้าน เนื่องจากมองว่า เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ควรเป็นสวัสดิการที่รัฐพึงจัดหาให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีทุกคนอยู่แล้ว และรัฐควรรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ

 

หากดูจากเนื้อหาของ “หลักเกณฑ์ใหม่” ตามที่ได้มีการประกาศบังคับใช้ออกมานี้ จะพบว่าระเบียบดังกล่าวมีการระบุว่า มีเนื้อหาเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ เป็นจ่ายเงินให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ

โดยมีการระบุถึงคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท

  1.  มีสัญชาติไทย
  2.  มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3.  มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  4.  เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

 

เมื่อเทียบกับเกณฑ์เดิมของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 จะพบว่าในรายละเอียดการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท  ในข้อที่ 1-3 ที่ระบุว่าต้องมีสัญชาติไทย, มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. และต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป  และลงทะเบียนขอรับเบี้ยจาก อปท. ตามลำดับเหมือนกัน

แต่ในรายละเอียดของข้อ 4 กลับมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน คือ

โดยหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ของปี 2566 ระบุว่า "เป็นผู้มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด"

ส่วนหลักเกณฑ์ข้อ 4 ของปี 2552 ระบุว่า "ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548"

ขณะที่ในหมวด 5 ข้อ 14 ยังระบุว่า สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบนี้ สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้

  1. ตาย
  2. ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6
  3. แจ้งสละสิทธิการขอรับเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ทั้งนี้กรณีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าว สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนสั่งระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สำหรับบุคคลดังกล่าว

ทั้งนี้หากผู้สูงอายุ ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยความสุจริต ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนรายงานผู้บริหารท้องถิ่นทราบ เพื่อระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุต่อไป โดยยกเว้นการเรียกเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน

ในระเบียบฉบับใหม่ ยังมีการระบุไว้ในบทเฉพาะกาล ข้อ 17 ระบุว่า บรรดาผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป

การดำเนินการใดที่ดำเนินอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระเบียบฉบับนี้ ให้ถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยระเบียบนี้แล้ว

เทียบหลักเกณฑ์การจ่าย \"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\" เปลี่ยนอะไรบ้าง เช็กที่นี่!

ส่วนการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ภาครัฐจะโอนเงินให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน เป็นการจ่ายรายเดือนแบบขั้นบันได ดังนี้

  1. อายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
  2. อายุ 70-79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
  3. อายุ 80-89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
  4. อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด (14 ส.ค.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ชี้แจงในเรื่องนี้ว่า เป็นการปรับเกณฑ์เพื่อใช้งบกับคนที่ลำบาก สร้างความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว และยังต้องมีการออกระเบียบกำหนดรายละเอียดจากนี้อีก โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

"โดยการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ส.ค 2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา มีสาระหลักเพิ่มเติม คือ เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ ดังนั้น จะต้องมีการออกระเบียบกำหนดรายละเอียดจากนี้อีก โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพอยู่ก่อนวันที่ระเบียบใช้บังคับ จะยังมีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไป"

เทียบหลักเกณฑ์การจ่าย \"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\" เปลี่ยนอะไรบ้าง เช็กที่นี่! เทียบหลักเกณฑ์การจ่าย \"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\" เปลี่ยนอะไรบ้าง เช็กที่นี่! เทียบหลักเกณฑ์การจ่าย \"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\" เปลี่ยนอะไรบ้าง เช็กที่นี่! เทียบหลักเกณฑ์การจ่าย \"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\" เปลี่ยนอะไรบ้าง เช็กที่นี่! เทียบหลักเกณฑ์การจ่าย \"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\" เปลี่ยนอะไรบ้าง เช็กที่นี่!