svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ปรากฏการณ์ "น้องหยก"แนะพี่เลี้ยง เร่งหาสถานที่เรียน เลิกหาประโยชน์

คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต "ผศ.ดร.สุริยะใส" สะท้อนปรากฏการณ์ "น้องหยก" แนะพี่เลี้ยงเร่งหาที่เรียน เตือนกองเชียร์ อย่าหาประโยชน์ในทางการเมือง ชี้เยาวชนสนใจการเมืองเป็นเรื่องดีแต่ไม่ควรมองฝ่ายเห็นต่างเป็นศัตรู

"ต้องไม่ให้ความเร่าร้อนที่บริสุทธิ์ใจของน้องกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของพวกมี Hidden agenda และสุดท้าย น้องจะกลายเป็นเหยื่อ"

ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา ให้ความเห็น"เนชั่นทีวี"

18 มิถุนายน 2566 "ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา" คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต,และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นผ่าน"เนชั่นออนไลน์"  ต่อกรณีโรงเรียนเตรียมอุดมพัฒนาการออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ยืนยัน "น้องหยก"ไม่มีสภาพการเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เนื่องจากการมอบตัวไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการมอบตัวตามประกาศการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2566

"คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต" ให้ความเห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นที่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองในลักษณะเหยื่อสองปีก โรงเรียนกับนักเรียน เนื่องจากเหตุการณ์ลักษณะนี้เคยมีตั้งแต่สมัยเด็กเยาวชนเคลื่อนไหว กลุ่มนร.เลว เราเคยเห็นเด็กเยาวชนอายุต่ำกว่า 14 -15  ปี เคลื่อนไหวเยอะแยะไปหมด ความคิดการเมืองลามไปถึงโรงเรียน ม.ปลาย ม.ต้น ไม่ได้หยุดแค่มหาวิทยาลัยเหมือนในอดีต ซึ่งคิดว่า เป็นอาการตื่นตะลึงของผู้บริหารโรงเรียนก็ได้ ว่าจะรับมือจัดการอย่างไร

ปรากฏการณ์ \"น้องหยก\"แนะพี่เลี้ยง เร่งหาสถานที่เรียน เลิกหาประโยชน์

ความคิดแบบนี้ไม่ได้มาแบบเงียบๆเฉย ๆ แต่มีแอ๊คชั่นด้วยทั้งทรงผม การแต่งกาย ป้ายผ้า กิจกรรม ชัดขึ้น มีแอ๊คชั่นตามมา โรงเรียนช่วงสามสีปีมานี้ สถาบันระดับโรงเรียนตะลึงกับอากัปกริยาแบบนี้ของนร.มากและตั้งรับอาจไม่เข้าที่เข้าทาง แต่เห็นอาการผ่อนปรนอะลุ่มอล่วยระดับรมต.ต่อเนื่องมา

"แต่ในเคส"น้องหยก"เป็นการเร่งเร้า อาจล้ำหน้าอารมณ์มวลชน กระทั่งคนเห็นด้วยในโรงเรียนอาจสะดุด เห็นด้วยในหลักการแต่วิธีการอาจไม่ใช่ หลักการที่บางครั้งดูแหลมคม แต่การเคลื่อนไหวรองรับกลายเป็นปัญหา อย่างวันนี้เท่าที่ติดตามดูเหมือนกองเชียร์กลับมาตั้งคำถามมาไม่เห็นด้วยกับ"น้องหยก"ชัดเจน

"ผมไม่ไปพูด"น้องหยก" ผิดอะไร แต่ต้องดูปรากฏ การณ์"น้องหยก"จะเห็นมากกว่าเด็กหญิงที่ชื่อ"หยก" กระบวนการ ชุดความคิดทางการเมือง กองเชียร์ พี่เลี้ยงผมว่าต้องระวัง ต้องไม่ให้ความเร่าร้อนที่บริสุทธิ์ใจของน้องกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของพวกมี Hidden agenda และสุดท้าย น้องจะกลายเป็นเหยื่อ" ผศ.ดร.สุริยะใส กล่าว

"ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา" คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

"นักวิชาการนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต " เสนอว่า เรื่องที่คิดเฉพาะหน้าที่สุด ต้องหาที่เรียนให้น้องให้ได้ กองเชียร์ คนอาสาเป็นพี่เลี้ยงผู้ปกครอง"น้องหยก"กรณีผู้ปกครองตัวจริง(พ่อ แม่ )ไม่รู้อยู่ไหน ต้องหาวิธี หาโรงเรียนให้เขาเรียนให้ได้ และมีเพื่อน ให้เขามีเพื่อน มีโรงเรียน อย่าไปคิดว่าต้องชนะคะคานเพราะว่าเรื่องนี้ไม่มีใครชนะ แพ้ทั้งคู่"

"ผศ.ดร.สุริยะใส" กล่าวว่า  เรื่องนี้เอาเข้าจริงเป็นปลายเหตุ เป็นเหยื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีใครผิดถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ได้โทษ"น้องหยก" ขณะเดียวกันไม่ได้โทษผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งเขาพยายามเต็มที่แล้ว เพียงแต่ว่าในบริบท กองเชียร์ ผู้สนับสนุนแอบเชียร์ เหมือนเชียร์มวยต้องระวัง สังคมเสียหาย แล้วจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ เป็นตัวแบบให้โรงเรียนกับเด็กอื่นๆเป็นปัญหาได้  

ปรากฏการณ์ \"น้องหยก\"แนะพี่เลี้ยง เร่งหาสถานที่เรียน เลิกหาประโยชน์

"เรื่องนี้ไม่ใช่ไม่เคยเกิด เกิดมาแล้วแต่ไม่เป็นข่าว แต่มีวิธีจัดการถ้าเราคุยกับเด็กอาจจะจบแต่มีตัวละครสามสี่ห้าจะไม่จบ จะจบยากด้วย เพราะมีตัวละครไม่เกี่ยวกับ"น้องหยก"อาศัยเป็นพี่เลี้ยง พวกน้องหยกเป็นใครไม่รู้ต้องระวัง"

"ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา" คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

นักวิชาการจากม.รังสิต กล่าวว่า โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย ผปค.ส่งบุตรหลานไปเรียน เขาต้องมั่นใจว่าจะเซฟสวัสดิภาพ ลูกหลาน และเป็นพื้นที่ปลอดภัย แม้วันที่พ่อแม่ไปทำงานและมารับกลับบ้าน ถ้าโรงเรียนไม่เป็นพื้นที่ปลอดภัยต่อไป ตนเป็นห่วง เด็กในโรงเรียนที่ไม่เกี่ยวกับ"น้องหยก" จะอยู่อย่างไร 

เมื่อถามว่า ความพยายามพรรคก้าวไกลออกนโยบายตั้ง"สภาเยาวชน" เป็นการขยายแนวความคิดทางการเมือง "ผศ.ดร.สุริยะใส" กล่าวว่า การที่ทำให้เด็กเยาวชน สนใจการเมืองเป็นเรื่องที่ถูก ไม่เสียหาย แต่ต้องเป็นการเมืองที่ต้องรับผิดชอบต่อภาพใหญ่ ต่อส่วนรวมด้วย ไม่ใช่การเมืองที่ต้องการเอาชนะคะคาน หรือการเมืองถูกวาดภาพคนนั้นคนนี้เป็นศัตรู เราอยู่ฝ่ายนี้ต้องชนะ นั่นคือศัตรูของเรา เป็นการเมืองชี้เป้า การเมืองแขวนป้าย พวกอนุรักษ์ พวกเผด็จการ ล้าหล้ง

"การเมืองแขวนป้ายทำลายความเป็นการเมือง ความเป็นการเมืองต้องไม่แขวนป้าย ต้องทำให้การเมืองเป็นเรื่องพหุสังคม อยู่ได้ทุกกลุ่ม หลากหลายความคิดแต่อยู่กันได้ ถ้าเด็กคิดไม่เหมือนกัน จะไม่ยกพวกตีกัน มีการแสดงออกเป็นเหตุเป็นผล ผมว่ารับได้นะ ผมว่าครูสมัยนี้ปรับไปเยอะ คนเป็น ครู อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเห็นบรรยากาศแบบนี้อยู่ ผมสอนนักศึกษาปีหนึ่งปีสองอายุสิบเจ็ดสิบแปดก็เจอมาแล้ว ต้องคุยกับเขา และเวลาคุยกับเขาต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดีเหมือนกันมีมุมคุยกันได้เหมือนกันระวังคนฉกฉวยแทรกแซง กลุ่มการเมืองหวังผลประโยชน์เด็กทางการเมือง ผมว่าต้องตักเตือนไม่เป็นประโยชน์ในระยะยาว 

"ผศ.ดร.สุริยะใส" อดีตแกนนำเคลื่อนไหวมวลชนทางการเมือง ยังบอกว่า โดยข้อเท็จจริงการส่งเสริมเด็กเยาวชน สนใจการเมือง ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดีงามให้เด็กสนใจปัญหาบ้านเมือง ปัญหาส่วนรวม แต่ที่เป็นอยู่ บางครั้งกลายเป็นการเมืองของการวาดภาพ ใครเป็นศัตรู ใครเป็นมิตร ใครเป็นเขาเป็นเรา เผด็จการประชาธิปไตยซึ่งบางทีมันไม่รู้คืออะไร ใส่เสื้อสีนั้น สัญลักษณ์นี้เป็นพวกกัน ถ้าอีกแบบเป็นพวกตรงข้ามอย่างนั้นน่ากลัว 

ปรากฏการณ์ \"น้องหยก\"แนะพี่เลี้ยง เร่งหาสถานที่เรียน เลิกหาประโยชน์