svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คลอดแล้ว"ระเบียบราชทัณฑ์ฉบับใหม่"เปิดช่องกักขังผู้ต้องขังนอกเรือนจำ

06 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คนละเรื่องเดียวกัน! คลอดแล้ว"ระเบียบราชทัณฑ์ฉบับใหม่" ว่าด้วยการปฏิบัติต่อ"ผู้ถูกกักกัน" เปิดช่องเมื่อเข้าเรือนจำ เปิดให้ร้องทุกข์ถวายฎีกา นำตัวไปพักรักษานอกเรือนจำ มีผลบังคับใช้แล้ว

6 มิถุนายน 2566 "เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2566 ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจว่า  โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมระเบียบกรมราชทัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ต่อผู้ถูกกักกัน ให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2510 อธิบดีกรมราชทัณฑ์ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2566" 

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ.2565 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน 

ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “สถานกักกัน” หมายความว่า สถานกักกัน หรือเขตกักกัน ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำหรับควบคุมผู้ถูกกักกัน

“ผู้ถูกกักกัน” หมายความว่า ผู้ซึ่งถูกศาลพิพากษาให้กักกัน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2510 

“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์ รักษาการตามระเบียบนี้ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามระเบียบนี้
คลอดแล้ว\"ระเบียบราชทัณฑ์ฉบับใหม่\"เปิดช่องกักขังผู้ต้องขังนอกเรือนจำ
คลอดแล้ว\"ระเบียบราชทัณฑ์ฉบับใหม่\"เปิดช่องกักขังผู้ต้องขังนอกเรือนจำ
คลอดแล้ว\"ระเบียบราชทัณฑ์ฉบับใหม่\"เปิดช่องกักขังผู้ต้องขังนอกเรือนจำ  


 

ก่อนหน้านี้  เมื่อวันที่ 31 มี.ค."นายสมศักดิ์ เทพสุทิน" แกนนำพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี "รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล" นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุผลที่พรรคเพื่อไทย ต้อนรับกลุ่มสามมิตรอย่างอบอุ่น อาจเป็นเพราะช่วยแก้กฎกระทรวง เพื่อรองรับ "นายทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ต้องติดคุกในเรือนจำ ว่า ที่ "รศ.ดร.ธนพร" ออกมาให้สัมภาษณ์ในรายการหนึ่งว่า หาก"นายทักษิณ" กลับมาติดคุกจริง ก็มีโอกาสได้รับการดูแลเป็นอย่างดี 

เพราะปี 2560 มีการตราพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ที่มีการกำหนดสถานที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ ให้เป็นสถานที่คุมขังตามกฎกระทรวง ที่ออกมาเมื่อปี 2563 ซึ่งมี "นายสมศักดิ์" เป็นคนลงนามนั้น ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า "รศ.ดร.ธนพร" เข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
 

"นายสมศักดิ์" กล่าวอีกว่า คำสัมภาษณ์มีความพยายามจะเชื่อมโยงให้เห็นว่า เป็นคนออกกฎกระทรวง ที่รองรับ "นายทักษิณ" ให้ไม่ต้องติดคุกในเรือนจำ แต่อาจใช้สถานคุมขังอื่นตามกฎกระทรวง เช่น บ้านพัก หรือ โรงพยาบาล แต่ข้อเท็จจริง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ปี 2560 เริ่มร่างเมื่อปี 2558 เพื่อปฏิรูปงานราชทัณฑ์ ด้วยการยกเลิก พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ปี 2479 ซึ่งใช้มา 80 ปี โดยขณะนั้น ยังไม่ได้ดำรงตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม เนื่องจากเข้ามาเมื่อปี 2562 

ส่วนการออกกฎกระทรวงใหม่ ก็เป็นขั้นตอนสืบเนื่องจากการออก พ.ร.บ.ฯ เมื่อประกาศใช้ ปี 2560 ส่วนราชการเจ้าของกฎหมาย ก็ต้องยกร่างกฎกระทรวงใหม่ โดยได้เริ่มยกร่างมาตั้งแต่ พ.ร.บ.ยังไม่ประกาศใช้ ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 3 ปี จากกรมราชทัณฑ์ ไปกระทรวง ส่งเข้า ครม. ส่งไปให้กฤษฎีกาตรวจร่าง แล้วถึงส่งคืนมาให้ รมว.ยุติธรรม ลงนาม ในปี 2563
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

"นายสมศักดิ์" กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการกำหนดสถานที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำนั้น เจตนาของกฎหมาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ต้องขังบางประเภท ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเรือนจำ อันเป็นเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม และทางด้านการปกครองเรือนจำเป็นสำคัญ เช่น ผู้ต้องโทษระยะสั้น ผู้ใกล้จะพ้นโทษ ผู้ป่วย แต่ไม่ใช่นักโทษเข้าใหม่แต่อย่างใด

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมด ได้เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2560 ก่อนที่ตนจะเข้ามารับตำแหน่ง ดังนั้นที่ "รศ.ดร.ธนพร" อธิบายความเชื่อมโยง ก็เป็นการสร้างความเข้าใจที่คาดเคลื่อน รวมถึง "นายทักษิณ ก็เพิ่งประกาศว่า จะกลับประเทศไทย ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ที่กล่าวหาว่า มีการดีไซน์เรื่องนี้ ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อรองรับนายทักษิณ

"เรื่องนี้ เป็นการกล่าวหา แบบไม่ตรงเหตุและผล ซึ่งปกติ ผมจะไม่ค่อยออกมาตอบโต้ แต่ด้วยเป็นการสร้างความเข้าใจที่ผิด ให้แก่ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ที่มีความตั้งใจแก้กฎหมาย โดยเรื่องนี้ แค่ดูปี พ.ศ. ที่ออก พ.ร.บ. ก็ไม่ใช่ยุคผมเป็นรัฐมนตรีแล้ว"

ดังนั้น จะมาชี้นำว่า เป็นคนช่วยแก้กฎหมาย เพื่อรองรับนายทักษิณ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งการแก้ไขกฎหมาย ไม่สามารถทำตามอำเภอใจของรัฐมนตรีได้ เพราะจะมีกลไกการตรวจสอบ ตั้งแต่การยกร่าง ครม. กฤษฎีกา และสภา

การนำเรื่องมาผูกโยงเองแบบนี้ ทำให้พี่น้องประชาชน เข้าใจนายสมศักดิ์ผิด ซึ่งตลอดเวลาที่นั่งเก้าอี้ รมว.ยุติธรรม ทำแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์กับประชาชน จนผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ยกให้กระทรวงยุติธรรมในยุคตน จากเกรดซี มาเป็นเกรดเอ เพราะมีหลายโครงการ ที่ได้ช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง
 

logoline