svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สมการใหม่ "ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ"ไม่ใช่ของ"ก้าวไกล" เท่ากับ พ่ายแพ้

26 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ข้อเสนอลดความขัดแย้งระหว่าง"ก้าวไกล"กับ "เพื่อไทย"ในการแย่งชิง"ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ" แวดวงทางการเมืองหรือแม้แต่นักวิชาการ กล่าวถึง "อาจารย์วันนอร์" แต่นั่นเท่ากับว่า "ก้าวไกล" พ่ายแพ้

สถานการณ์เจรจาต่อรองของสองพรรคการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ ระหว่าง "พรรคเพื่อไทย " กับ "พรรคก้าวไกล" ที่มีความประสงค์เดียวกัน "เก้าอี้ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ"  หรือตำแหน่ง"ประธานสภา"  จนแวดวงภายใน หรือ แม้แต่นักวิชาการเสนอว่า เพื่อผ่าทางตัน ควรมี"บุคคลที่สาม"เข้ามาทำหน้าที่  

และหนึ่งในตัวเลือก ถูกมองไปที่ "วันมูหะหมัด นอร์ มะทา"  อดีตประธานสภา หัวหน้าพรรคประชาชาติ แต่ทว่าก็มีปัญหาที่ต้องนำมาพิจารณา คือ 

1."อาจารย์วันนอร์" สูงวัยเกินไปหรือไม่ ที่จะต้องรับศึกหนักในสภาที่มีแต่ความขัดแย้ง แตกแยก แตกต่าง ในวัย 79 ปี  ตอนเป็นประธานสภาสมัยแรก อ.วันนอร์ อายุ 55 ปี 

"นายวันมูหะหมัด นอร์ มะทา"  อดีตประธานสภา ว่าที่ส.ส.จากพรรคประชาชาติ 

2. หาก"ประธานสภา" เป็นชื่ออื่นที่ไม่ใช่คนจาก"พรรคก้าวไกล" ย่อมถือว่า "ก้าวไกล"พ่ายแพ้อยู่ดี เพราะ 

"ก้าวไกล"ต้องการคนของตัวเองเป็น "ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ"  เท่านั้น เพื่อผลักดันวาระของตัวเองให้เข้าสู่การพิจารณาของสภา ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายชุดแรกอีก 45 ฉบับ 

จึงมีชื่อ"ชัยธวัช ตุลาธน " ถามทำไมต้องเป็น"ชัยธวัช" เพราะเป็นเพื่อนสนิทของ"ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ตั้งแต่สมัยมัธยม รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเรียน เคยร่วมกิจกรรมการเมืองบนท้องถนนด้วยกัน ตั้งสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน และร่วมงานการเมือง ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่มาด้วยกัน ฉะนั้นจึงเท่ากับเป็นตัวแทน"ธนาธร" ในมิติของฝ่ายนิติบัญญัติ

อย่างไรก็ดี การได้ "บุคคลที่สาม" มาเป็นประธานสภา อาจแก้ปัญหารอยร้าวของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะกับพรรคเพื่อไทยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า "พรรคก้าวไกล"จะผลักดันวาระของตัวเองได้ 100% เหมือนให้คนของตัวเองนั่งประธานสภา 

 

"อาจารย์วันนอร์" แท้ที่จริงแล้ว "ก้าวไกล" คุมได้หรือไม่ และลึกๆ แล้วเป็นฝ่ายไหนกันแน่  ฝ่ายไหนอาจจะตอบยาก แต่ถ้าให้เลือกสายสัมพันธ์ระหว่าง"ก้าวไกล" กับ "เพื่อไทย" ต้องยอมรับว่า ใกล้ชิดเพื่อไทยมากกว่า เพราะเคยอยู่"พรรคไทยรักไทย" เคยร่วมงานกับ"ทักษิณ ชินวัตร " เคยเป็นถึงรองนายกฯ และเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในยุค"ทักษิณ" 

สมการใหม่ "ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ"ไม่ใช่ของ"ก้าวไกล" เท่ากับ พ่ายแพ้

ที่สำคัญ "พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง" อดีตเลขาธิการ ศอ.บต. ในยุค"รัฐบาลยิ่งลักษณ์"ว่ากันว่าเป็นสายตรงคนแดนไกล ทั้งพี่ทั้งน้อง คงทำให้"พรรคก้าวไกล"คิดหนัก หากจะผลักดันหัวหน้าพรรคประชาชาติเป็นประธานสภา 

หากหวยออกที่"อาจารย์วันนอร์" เท่ากับ"พรรคก้าวไกล"พ่ายแพ้นั่นเอง

 

คราวนี้ มาตรวจคุณสมบัติบุคคลที่ถูกกล่าวถึงจะได้รับการเสนอชื่อชิงเก้าอี้ประธานสภา

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว  หัวหน้าพรรคเพื่อไทย 

-อายุ 62 ปี 

-เป็น ส.ส.มาแล้ว 6 สมัย (ตั้งแต่ปี 2544) และเป็น ส.ส.เขตมาตลอด (นัยของ ส.ส.เขต คือสัมผัสประชาชน มาทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรจริงๆ ไม่ใช่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ตามหลักการของรัฐธรรมนูญแล้ว เป็นบัญชีฝ่ายบริหารที่ให้ประชาชนเลือกเข้าไปเป็นรัฐบาล) 

-เคยเป็น รมช.สาธารณสุข

-เคยเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 

-เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส.มากที่สุดในสภาชุดที่แล้ว 

-เคยเป็นดาวเด่นสภา ตามการตั้งฉายาของสื่อมวลชนสายรัฐสภา เมื่อปี 2552 

ชัยธวัช ตุลาธน  เลขาธิการพรรคก้าวไกล

ส่วนว่าที่ประธานสภาที่มีข่าวว่า ฟากฝั่งก้าวไกลจะเสนอ คือ "ชัยธวัช ตุลาธน" เลขาธิการพรรคก้าวไกล ขึ้นนั่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัตินั้น 

-อายุ 44 ปี

-ยังไม่เคยเป็น ส.ส. (กำลังจะได้เป็นรอบนี้ เพราะอยู่ลำดับที่ 2 ในบัญชีปาร์ตี้ลิสต์พรรคก้าวไกล) 

-เคยเป็นรองเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ 

-เป็นเลขาธิการพรรคก้าวไกล 

-มีบุคลิกมือประสานสิบทิศ

-ได้รับความไว้วางใจ คุมยุทธศาสตร์เลือกตั้งจนประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้พรรคก้าวไกลเบียดชนะเพื่อไทย ได้ ส.ส.มาเป็นอันดับ 1 

-ไม่มีประสบการณ์ในสภาผู้แทนราษฎร 

-เคยเป็นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย 

-ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน และเป็นบรรณาธิการ วารสารฟ้าเดียวกัน 

สมการใหม่ "ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ"ไม่ใช่ของ"ก้าวไกล" เท่ากับ พ่ายแพ้

ล่าสุด ท่ามกลางการชิงเก้าอี้ประธานสภา จนปัญหาเริ่มบานปลาย มีข้อเสนอผ่าทางตันให้ใช้บริการ "อ.วันนอร์" หัวหน้าพรรคอันดับ 3 ของว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคประชาชาติ) มานั่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสงบศึกทั้งสองฝ่าย 

ไปดูคุณสมบัติอาจารย์วันนอร์ 

-อายุ 79 ปี 

-เป็น ส.ส.มาแล้ว 10 สมัย  (ไม่นับเลือกตั้งปี 66) เคยเป็นประธานสภามาแล้ว 1 ครั้ง เมื่อปี 2539 ถึงปี 2543 

-เคยเป็นรองนายกฯ และเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง 

-สังกัดมาแล้วหลายพรรค ทั้งกิจสังคม ประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่ ไทยรักไทย ประชาชาติ จึงมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก มีความอาวุโสในสภาน้องๆ ประธานฯชวน และถือว่ามีบารมี

 

logoline