svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ย้อนรอย “ไพบูลย์โมเดล” ยุบพรรคตัวเอง ย้ายซบ "พรรคพลังประชารัฐ"

26 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ย้อนรอย “ไพบูลย์โมเดล” กรณี “ไพบูลย์ นิติตะวัน” ยุบพรรคตัวเอง เข้า “พรรคพลังประชารัฐ” เมื่อปี 2562 ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ ?

กรณีที่มีข่าวสะพัด สูตรจัดตั้งรัฐบาลเวอร์ชั่นพิสดารขึ้นมา โดย “บิ๊กป้อม” อาจประกาศวางมือ และมีการยุบ “พรรคพลังประชารัฐ” แล้ว ส.ส. ทั้ง 40 คน ก็ไปย้ายไปซบ “พรรคเพื่อไทย” พลิกขั้วทางการเมือง เพื่อไม่ให้ถูกครหาว่า ผิดสัจจะที่ให้ไว้กับประชาชน นั้น

แม้ในความเป็นจริงแล้ว สูตรจัดตั้งรัฐบาลเวอร์ชั่นพิสดารนี้ จะเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะจะสร้างตราบาปให้กับ “พรรคเพื่อไทย” แต่ด้วยกลวิธีการดังกล่าว เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ที่รู้จักในชื่อ “ไพบูลย์โมเดล” ประกอบกับความขัดแย้งระหว่าง “พรรคก้าวไกล” กับ “พรรคเพื่อไทย” ในศึกชิงเก้าอี้ประธานสภา ทำให้กลวิธี “ไพบูลย์โมเดล” ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีก โดย Nation Online ของย้อนรอยทบทวนความทรงจำ ดังต่อไปนี้

ย้อนรอย “ไพบูลย์โมเดล” ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ ?

3 ตุลาคม 2561

“ไพบูลย์ นิติตะวัน” ก่อตั้ง “พรรคประชาชนปฏิรูป” โดยตัวเองเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อลงเลือกตั้ง ปี 2562 ลงสมัครเป็น “ปาร์ตี้ลิสต์” อันดับที่ 1 ของพรรค

ย้อนรอย “ไพบูลย์โมเดล” ยุบพรรคประชาชนปฏิรูป ย้ายซบพลังประชารัฐ

24 มีนาคม 2562

ระบบการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งปี 2562 เป็นแบบบัตรเลือกตั้งใบเดียว โดย “พรรคประชาชนปฏิรูป” ได้คะแนนเสียงเพียง 4.5 หมื่นคะแนน ได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ปัดเศษ 1 คน เข้าสภา นั่น ก็คือ “ไพบูลย์ นิติตะวัน” นั่นเอง

26 สิงหาคม 2562

กรรมการบริหาร “พรรคประชาชนปฏิรูป” มีมติขอยกเลิกกิจการพรรคการเมือง (ยุบพรรค)

6 กันยายน 2562

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กกต. “พรรคประชาชนปฏิรูป” สิ้นสภาพพรรคการเมือง

9 กันยายน 2562

ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุไว้ว่า หาก ส.ส. ลาออกจากพรรค จะสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. ลง แต่ในกรณีที่ถูกขับออกจากพรรค ต้องหาพรรคสังกัดให้ได้ภายใน 60 วัน โดย “ไพบูลย์ นิติตะวัน” ย้ายเข้าสังกัด “พรรคพลังประชารัฐ” ได้ตามเวลาที่กำหนด ทำให้กลวิธีนี้ถูกเรียกขานว่า “ไพบูลย์โมเดล” นับจากนั้นมา

ย้อนรอย “ไพบูลย์โมเดล” ยุบพรรคประชาชนปฏิรูป ย้ายซบพลังประชารัฐ

3 มีนาคม 2564

กรณี “ไพบูลย์ นิติตะวัน” ยุบพรรคตัวเอง แล้วย้ายไปสังกัด “พรรคพลังประชารัฐ” ถูกตั้งคำถามว่า ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการห้ามควบรวมกิจการพรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา “ไพบูลย์” ก็ต่อสู้ในประเด็นนี้ว่า กรณีนี้ไม่ใช่การควบรวมพรรคการเมือง แต่เป็นการขอยกเลิกกิจการพรรคการเมือง  

ต่อมา 60 ส.ส. ฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องต่อ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า “ไพบูลย์” ต้องสิ้นสมาชิกภาพ ส.ส. หรือไม่ จากการกระทำดังกล่าว

20 ตุลาคม 2564

โดย “ศาลรัฐธรรมนูญ” วินิจฉัยว่า สถานะสมาชิกภาพ ส.ส. ของ “ไพบูลย์” ไม่ได้สิ้นสุดลง เพราะหลังจากกรรมการบริหารพรรคประชาชนปฏิรูป มีมติขอยกเลิกกิจการพรรคการเมือง “ไพบูลย์” ก็สามารถเข้าสังกัด “พรรคพลังประชารัฐ” ได้ตามเวลาที่กฎหมายกำหนด (สรุปก็คือ “ไพบูลย์โมเดล” เป็นสิ่งที่ทำได้ นั่นเอง)

ย้อนรอย “ไพบูลย์โมเดล” ยุบพรรคประชาชนปฏิรูป ย้ายซบพลังประชารัฐ

logoline