svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

12 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มาลองดูกันว่า “นโยบายประชานิยม” ของแต่ละพรรคการเมือง หากทำได้จริง จะต้องใช้ “งบประมาณ” ปีละเท่าไหร่กันบ้าง

เหลือเวลาอีกเพียงเดือนกว่าๆ สำหรับศึกเลือกตั้งปี 2566 โดยแต่ละพรรคต่างก็งัดนโยบายเด็ดออกมาเรียกเสียงซี้ดซ้าดจากประชาชน โดยเฉพาะในแง่ของ “ประชานิยม” ก็ต้องบอกว่า เป็นไปในลักษณะบลัฟกันอย่างสะบั้นหั่นแหลก

โดยหากเรานำ "นโยบายประชานิยม" ของแต่ละพรรค มาคำนวณหาจำนวนเงินงบประมาณ ตัวเลขที่ได้ก็จะเป็นไปในลักษณะนี้

บัตรประชารัฐ / บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พลัส

อันดับแรกขอพูดถึงนโยบายที่ต่อยอดมาจาก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ที่มี 2 พรรคการเมือง บลัฟกันอย่างดุเดือด โดย “พรรคพลังประชารัฐ” เป็นฝ่ายเปิดเกมก่อน ประกาศนโยบาย “บัตรประชารัฐ” เพิ่มวงเงินให้กับผู้ได้สิทธิถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” เป็น 700 บาท ต่อเดือน

ซึ่งหากคำนวณจากฐานผู้ถือบัตร “สวัสดิการแห่งรัฐ” ในปัจจุบัน จำนวน 14.59 ล้านคน ก็เท่ากับว่า จะต้องใช้งบประมาณกับนโยบายนี้ 1.22 แสนล้านบาท ต่อปี

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

ต่อมา “บิ๊กตู่” แห่ง “พรรครวมไทยสร้างชาติ” ก็ประกาศนโยบาย “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พลัส” เพิ่มวงเงินให้กับผู้ได้สิทธิถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็น 1,000 บาท ต่อเดือน

โดยในส่วนของ “พรรครวมไทยสร้างชาติ” ได้มีการอัพเลเวลเพิ่มเติม ให้ “บัตรสวัสดิการ พลัส” สามารถกู้ฉุกเฉินได้ 10,000 บาท ถ้าไม่มีเงินชำระคืน ให้นำเงินจากบัตรสวัสดิการ พลัส (ที่เพิ่มเป็นเดือนละ 1,000 บาท) มาผ่อนชำระได้ เช่น ผ่อนเดือนละ 500 บาท เป็นต้น พอผ่อนหนี้หมด ก็กู้ใหม่ได้อีก

ซึ่งหากคำนวณจากฐานผู้ถือบัตร “สวัสดิการแห่งรัฐ” ในปัจจุบัน จำนวน 14.59 ล้านคน ก็เท่ากับว่า จะต้องใช้งบประมาณกับนโยบายนี้ 1.75 แสนล้านบาท ต่อปี

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

นโยบายบำนาญประชาชน

อันที่จริงแล้ว “นโยบายบำนาญประชาชน” หรือ “การเพิ่มวงเงินให้เบี้ยผู้สูงอายุ” เป็น 3,000 บาท ต่อเดือน มีหลายพรรคการเมืองที่นำเสนอนโยบายและตัวเลขในเรตนี้ แต่ถ้าพูดถึงคนแรกๆ ที่ออกมาประกาศ ก็ต้องยกเครดิตให้ “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” แห่ง “พรรคไทยสร้างไทย”

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

ซึ่งหากคำนวณจากฐานผู้สูงอายุในปัจจุบัน ประมาณ 10 ล้านคน ก็เท่ากับว่า จะต้องใช้งบประมาณกับนโยบายนี้ 3.6 แสนล้านบาท ต่อปี

แต่ถ้าเอาตัวเลขเป๊ะๆ โดยอิงฐานจำนวนผู้สูงอายุในปี 2565 ตัวเลขก็จะอยู่ที่ 12.11 ล้านคน ต้องงบประมาณกับนโยบายนี้ 4.35 แสนล้านบาท

ส่วนนโยบายเบี้ยผู้สูงอายุของ “พรรคพลังประชารัฐ” ได้เพิ่มกิมมิคด้วยสูตรขั้นบันได ดังนี้

อายุ 60 ขึ้นไป 3,000 บาทต่อเดือน

อายุ 70 ขึ้นไป 4,000 บาทต่อเดือน

อายุ 80 ขึ้นไป 5,000 บาทต่อเดือน

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

เติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท

แล้วก็มาถึงนโยบายที่กำลังสร้างความฮือฮาในเวลานี้ นั่นก็คือ “เติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท” ให้กับประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ให้กับประเทศ ของ “พรรคเพื่อไทย”

ซึ่งหากคำนวณจากฐานผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไปในประเทศไทย  ก็อยู่ที่ประมาณ 55 ล้านคน เท่ากับว่าจะต้องใช้งบประมาณกับนโยบายนี้ 5.5 แสนล้านบาท ต่อปี

ส่วนแนวทางอื่นๆ ที่น่าสนใจ ก็อาทิเช่น การอัดฉีดเศรษฐกิจฐานราก 1 ล้านล้านบาท ของ “พรรคประชาธิปัตย์” แต่เนื่องจากเป็นแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบผ่านหลายนโยบายและหลายโครงการ ซึ่งมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงไม่ได้นำเข้ามารวมไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ราคา “ประชานิยม” กับ “งบประมาณ” ที่ต้องจ่าย

logoline