- อันดับ 12 ร้อยละ 1.36 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และเป็นคนพูดจริงทำจริง
- ร้อยละ 3.36 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายเศรษฐา ทวีสิน และไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก จำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า
จังหวัดปัตตานี
- อันดับ 1 ร้อยละ 45 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- อันดับ 2 ร้อยละ 18.20 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)
- อันดับ 3 ร้อยละ 15.71 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
- อันดับ 4 ร้อยละ 8.73 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
- อันดับ 5 ร้อยละ 7.23 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
จังหวัดยะลา
- อันดับ 1 ร้อยละ 19.38 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)
- อันดับ 3 ร้อยละ 16.26 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
- อันดับ 4 ร้อยละ 12.46 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
- อันดับ 5 ร้อยละ 11.42 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
จังหวัดนราธิวาส
- อันดับ 1 ร้อยละ 18.54 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- อันดับ 2 ร้อยละ 18.05 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
- อันดับ 3 ร้อยละ 16.10 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)
- อันดับ 4 ร้อยละ 12.20 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
- อันดับ 5 ร้อยละ 9.76 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
สำหรับพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า
- อันดับ 1 ร้อยละ 22.64 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 2 ร้อยละ 19.64 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 3 ร้อยละ 15.27 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 4 ร้อยละ 12.91 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
- อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
- อันดับ 7 ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
- อันดับ 8 ร้อยละ 3.18 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
- อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
- อันดับ 10 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- ร้อยละ 1.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยภักดี พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลังและพรรคสร้างอนาคตไทย
เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก จำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า
จังหวัดปัตตานี
- อันดับ 1 ร้อยละ 27.68 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 2 ร้อยละ 17.46 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 3 ร้อยละ 16.71 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 4 ร้อยละ 14.46 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 5 ร้อยละ 8.23 ระบุว่าเป็นพรรคก้าวไกล
จังหวัดยะลา
- อันดับ 1 ร้อยละ 20.07 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 3 ร้อยละ 17.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 4 ร้อยละ 13.84 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
- อันดับ 5 ร้อยละ 11.76 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
จังหวัดนราธิวาส
- อันดับ 1 ร้อยละ 22.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 20.49 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 3 ร้อยละ 12.20 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 4 ร้อยละ 11.71 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 5 ร้อยละ 10.98 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
ด้านพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า
- อันดับ 1 ร้อยละ 20.64 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 19.91 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 3 ร้อยละ 14.73 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 4 ร้อยละ 13.55 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
- อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
- อันดับ 7 ร้อยละ 4.73 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
- อันดับ 8 ร้อยละ 4.36 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
- อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
- อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 11
- ร้อยละ 1.36 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.17 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจใหม่
เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก จำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า
จังหวัดปัตตานี
- อันดับ 1 ร้อยละ 23.19 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 2 ร้อยละ 19.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 3 ร้อยละ 16.71 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 4 ร้อยละ 14.71 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 5 ร้อยละ 8.98 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
จังหวัดยะลา
- อันดับ 1 ร้อยละ 20.76 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 3 ร้อยละ 16.61 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 4 ร้อยละ 13.49 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
- อันดับ 5 ร้อยละ 13.15 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
จังหวัดนราธิวาส
- อันดับ 1 ร้อยละ 21.95 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 17.56 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ
- อันดับ 3 ร้อยละ 12.68 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 4 ร้อยละ 11.46 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 5 ร้อยละ 10.49 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.46 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปัตตานี ร้อยละ 26.27 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดยะลา และร้อยละ 37.27 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ตัวอย่าง ร้อยละ 48.73 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.27 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 15.64 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 23.54 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.73 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 22.54 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 18.55 อายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.82 นับถือศาสนาพุทธ และร้อยละ 62.18 นับถือศาสนาอิสลาม ตัวอย่าง ร้อยละ 29.64 สถานภาพโสด ร้อยละ 68.63 สมรส และร้อยละ 1.73 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.82 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.73 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.45 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 32.82 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.18 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.91 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.27 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.37 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.36 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.18 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.82 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.09 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.45 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.18 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาทและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 10.36 ไม่ระบุรายได้