svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66

31 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักเลือกตั้งเตรียมตัวให้พร้อม! ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. และจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ในการเลือกตั้ง 66

31 มกราคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

และประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก 

โดยในส่วน ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๖ ระบุ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ

๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๖”

ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดแล้ว ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งภายในสามวัน

โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำนวนราษฎร ในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน แล้วประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง อย่างน้อยสามรูป แบบเพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมือง และประชาชนในจังหวัด เป็นเวลาสิบวัน นับแต่วันปิดประกาศ ซึ่งแต่ละรูปแบบ
ต้องประกอบด้วย 
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66
 

(๑) รายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือตำบล หรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขต

(๒) จำนวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และผลต่างของจำนวนราษฎร ในแต่ละเขตเลือกตั้ง
จากจำนวนเฉลี่ยราษฎร ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัดนั้น ทั้งนี้ ผลต่างของจำนวน
ราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ไม่ควรเกินร้อยละสิบของจำนวนเฉลี่ย ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน ในจังหวัดนั้น เว้นแต่เป็นกรณีมีความจ าเป็นเพื่อให้ราษฎรในชุมชนเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันสามารถเดินทางได้โดยสะดวก

(๓) เหตุผลประกอบการเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้ง

(๔) แผนที่แสดงรายละเอียดของพื้นที่ ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตเลือกตั้ง ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ปิดไว้ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และให้เผยแพร่ในเว็บไซต์ ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ ด้วย

ในกรณีพรรคการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลใดต้องการรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่ปิดประกาศไว้ ให้ขอคัดสำเนา จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด โดยเสียค่าใช้จ่ายเอง ตามวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำหนด
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66
 

ข้อ ๔ ภายในสามวันนับแต่สิ้นสุดระยะเวลา การรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองแล ประชาชนในจังหวัดตามข้อ ๓ ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพรรคการเมือง และประชาชนในจังหวัด ประกอบการพิจารณา เสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัด  แล้วรวบรวมสรุปความเห็น และข้อเสนอแนะของพรรคการเมือง และประชาชนในจังหวัด พร้อมผลการพิจารณา ข้อเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัด อย่างน้อยสามรูปแบบ เรียงตามลำดับความเหมาะสม เสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันถัดไป

ข้อ ๕ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรายงานตามข้อ ๔ และได้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้ง ในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ ๖ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใช้บังคับ  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะต้องมีรายละเอียด เกี่ยวกับอำเภอ หรือเขตพื้นที่ ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งในคราวนั้น โดยให้ถือเขตเลือกตั้งที่มีการประกาศกำหนดไว้ตามข้อ ๕

ส่วน ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔

ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ

ในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จากเดิมจำนวนสามร้อยห้าสิบคน เป็นจำนวนสี่ร้อยคน กำหนดให้แต่ละเขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน จังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ไม่เกินหนึ่งคน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัด ออกเป็นเขตเลือกตั้ง มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมี

ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทำให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้ง ของแต่ละจังหวัด ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดไว้แต่เดิมเปลี่ยนแปลงไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖ และมาตรา ๒๒๔ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔ มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๖ มาตรา ๒๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบข้อ ๓ ของประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ประกอบกับประกาศสำนักทะเบียนกลาง

เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ อันถือได้ว่าเป็นประกาศในปีสุดท้าย
ก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศให้ทราบ เกี่ยวกับจำนวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้ง เพื่อเป็น
การเตรียมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้น ดังนี้

๑. จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ มีจ านวน ๖๖,๐๙๐,๔๗๕ คน
๒. จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย ๑๖๕,๒๒๖ คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน
๓. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด มีดังนี้

 

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส.เขต เลือกตั้ง 66

logoline