svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ประธานศาลฎีกา"ออกระเบียบกำหนดระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี มีผลบังคับใช้

23 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ" ประธานศาลฎีกา  ออก ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566  ประกาศลง" ราชกิจจาฯ" มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม นี้

24 มกราคม 2566  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มกราคม "ราชกิจจาฯ" เผยแพร่  ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566  ลงนามโดย  "นายโชติวัฒน์  เหลืองประเสริฐ" ประธานศาลฎีกา  ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2566  

 

โดยที่พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการพิจารณาเรื่องในขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจตามแต่ลักษณะ สภาพ หรือประเภทคดี รวมทั้งปริมาณงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยให้ประกาศและเผยแพร่ในรูปแบบที่ประชาชนสามารถ เข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย และให้แจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าในการดำเนินการ

 

ตลอดจนกำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด โดยจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ วิธีการอื่นใดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถทราบหรือตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมได้ รวมถึงจัดให้มี ผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเพื่อรับเรื่องในกรณีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อนอันเนื่องมาจาก ความล่าช้า

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับ มาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕ ประธานศาลฎีกาจึงวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ดังต่อไปนี้

"ประธานศาลฎีกา"ออกระเบียบกำหนดระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี มีผลบังคับใช้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนด ระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๖

 

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

 

ข้อ ๓ การกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมให้เป็นไป ตามระเบียบนี้ เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น

 

ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการคดี ให้จำแนกลักษณะหรือประเภทคดี ในศาลชั้นต้นออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ 

 

"ประธานศาลฎีกา"ออกระเบียบกำหนดระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี มีผลบังคับใช้

"ประธานศาลฎีกา"ออกระเบียบกำหนดระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี มีผลบังคับใช้

( ๑ ) คดีจัดการพิเศษ หมายถึง คดีลักษณะที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนและมีแนวโน้มที่จะ พิจารณาให้เสร็จได้ภายในนัดเดียวหรือในวันหนึ่งสามารถพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จได้หลายคดีหรือสามารถ ส่งเอกสารแทนการสืบพยานได้ หรือคดีประเภทอื่นที่ผู้รับผิดชอบในราชการของศาลเห็นสมควร ให้ดำเนินการอย่างคดีจัดการพิเศษ (ก) คดีแพ่ง

๑) คดีมโนสาเร่ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก หรือคดีผู้บริโภค ไม่ว่าจำเลยจะยื่นคำให้การ หรือไม่ก็ตาม

๒) คดีไม่มีข้อพิพาท เช่น ร้องขอจัดการมรดก ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นต้น ไม่ว่าจะมีผู้คัดค้านหรือไม่ก็ตาม

๓) คดีจำเลยขาดนัด

๔) คดีสาขา เช่น ขอกันส่วน ร้องขัดทรัพย์ ขอเฉลี่ยทรัพย์ ขอรับชำระหนี้ บุริมสิทธิ เป็นต้น

๕) คดีสืบพยานประเด็น

(ข) คดีอาญา

๑) คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ หรือต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพ

๒) คดีไต่สวนมูลฟ้อง

๓) คดีสาขา เช่น ร้องขอคืนของกลาง ผู้ประกันขอลดค่าปรับ เป็นต้น

๔) คดีสืบพยานประเด็น

(๒) คดีสามัญ หมายถึง คดีซึ่งต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปและไม่สามารถ นั่งพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว คดีที่ศาลสูงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานและ พิพากษาคดีใหม่ คดีอาญาจำเลยถอนค าให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธหรือคดีประเภทอื่น ที่ผู้รับผิดชอบในราชการของศาลเห็นสมควรให้ดำเนินการอย่างคดีสามัญ

(๓) คดีสามัญพิเศษ หมายถึง คดีสามัญที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ไม่สามารถนัดสืบพยาน ต่อเนื่องกันไปจนเสร็จ จำเป็นต้องกำหนดวันนัดสืบพยานต่อเนื่องเป็นช่วง ช่วงละ ๒ ถึง ๔ วัน เช่น คดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก มีการกระทำความผิดหลายกรรม ต้องใช้พยานหลักฐานจำนวนมาก คดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบในราชการของศาล

"ประธานศาลฎีกา"ออกระเบียบกำหนดระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี มีผลบังคับใช้

ข้อ ๕ กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น

( ๑ ) คดีจัดการพิเศษ ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน นับแต่วันรับฟ้อง

( ๒ ) คดีสามัญและคดีสามัญพิเศษ ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันรับฟ้อง สำหรับคดีอาญาที่จำเลยคนใดคนหนึ่งต้องขังระหว่างพิจารณา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดี ให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน นับแต่วันออกหมายขังระหว่างพิจารณา ส่วนคดีแพ่งและคดีอาญาที่อยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวงไม่ว่าจะเป็นคดีประเภทใด ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดี ให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน นับแต่วันรับฟ้อง

ข้อ ๖ กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคำร้อง คำขอระหว่างการพิจารณาในศาลชั้นต้น

( ๑ ) คำร้องขอปล่อยชั่วคราวและการออกหมายปล่อย ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ได้รับคำร้อง

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม>>>>

 

ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566

"ประธานศาลฎีกา"ออกระเบียบกำหนดระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี มีผลบังคับใช้
"ประธานศาลฎีกา"ออกระเบียบกำหนดระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี มีผลบังคับใช้

 

 

logoline