21 พฤษภาคม 2568 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เดินหน้ายกระดับการให้สิทธิผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ป่วยด้วย "โรคไต" ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้ประกันตนเป็นอันมาก และยังเป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับการดูแลรักษาไปตลอดชีวิต ทาง สปส. ได้ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ป่วยด้วยโรคไตทุกระยะสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ทั้งนี้ สถานการณ์ผู้ประกันตนป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีทั้งหมด 84,750 ราย โดย 64,515 ราย ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ 20,235 ราย ล้างไตผ่านช่องท้อง
นายคารม กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม พร้อมดูแลผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่เจ็บป่วยด้วยโรคไตทุกระยะสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ กรณีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถรับสิทธิกรณีการบำบัดทดแทนไต ดังนี้
สำนักงานประกันสังคม พร้อมดูแลผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่เจ็บป่วยด้วยโรคไตทุกระยะสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
สำหรับผู้ประกันตนที่ประสงค์จะใช้สิทธิบำบัดทดแทนไต จะต้องยื่นขอรับการอนุมัติก่อนที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ โดยเตรียมเอกสารประกอบ ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีบำบัดทดแทนไตและปลูกถ่ายอวัยวะ หรือการดูแลหลังผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะและรับยากดภูมิคุ้มกันกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-18) สำเนาเวชระเบียนในส่วนที่เกี่ยวข้อง ใบรับรองแพทย์กรณีผู้ประกันตนขอรับการบำบัดทดแทนไต หนังสือรับรองจากอายุรแพทย์โรคไต สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีผู้ประกันตนต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย ต้องมีสำเนาหนังสือเดินทาง Passport หรือหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ใบอนุญาตทำงานถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สามารถยื่นขอผ่านสถานพยาบาลที่ลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม โดยตรวจสอบรายชื่อได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สำนักงานประกันสังคมหรือสายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง