svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"จอน อึ๊งภากรณ์" ผู้ก่อตั้ง "iLaw" จากไปอย่างสงบในวัย 77 ปี

"จอน อึ๊งภากรณ์" อดีต สว. นักวิชาการคนดัง ผู้ก่อตั้ง "iLaw" จากไปอย่างสงบในวัย 77 ปี ประวัติ เป็นบุตรชายคนโต "ป๋วย อึ๊งภากรณ์"

13 พฤษภาคม 2568 เพจเฟซบุ๊ก "iLaw" โพสต์แจ้งข่าว "จอน อึ๊งภากรณ์" ผู้ก่อตั้ง iLaw เสียชีวิตที่บ้านพัก เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา พร้อมระบุว่า 

 

 

\"จอน อึ๊งภากรณ์\" ผู้ก่อตั้ง \"iLaw\" จากไปอย่างสงบในวัย 77 ปี

อาลัย "จอน อึ๊งภากรณ์" ผู้มีความฝันอยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเขียนกฎหมายที่จะนำมาใช้กับพวกเขาได้โดยตรง จึงก่อตั้ง iLaw ขึ้นเมื่อปี 2552 และยืนยันให้ iLaw ต้องทำงานต่อต้านการรัฐประหาร ส่งเสริมประชาธิปไตย จนมาถึงในวันนี้

 

 

\"จอน อึ๊งภากรณ์\" ผู้ก่อตั้ง \"iLaw\" จากไปอย่างสงบในวัย 77 ปี

.

ประวัติ "จอน อึ๊งภากรณ์"

 


- จอน อึ๊งภากรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2490 เป็นบุตรชายคนโตของป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ มาการ์เร็ต อึ๊งภากรณ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Sussex ประเทศอังกฤษ

- หลังจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จอน อึ๊งภากรณ์ ได้มาเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ให้กับนักศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล 5 ปี ซึ่งนับเป็นอาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรงที่สนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาอย่างดียิ่ง

 

- ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 บรรยากาศในสังคมการเมืองไทยเข้าสู่ช่วงอึมครึมที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขาต้องไปอยู่ประเทศอังกฤษกับบิดา ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และในช่วงนั้นเองตัวเขา บิดา น้องชาย และคนไทยในอังกฤษกลุ่มหนึ่ง ได้ทำหนังสือ “มิตรไทย” เพื่อเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ในประเทศไทยให้กับคนไทยในต่างแดนและประชาคมโลก รวมทั้งให้การติดต่อช่วยเหลือกับนักศึกษาที่หลบหนีภัยการเมือง

 

- หลังจากนั้นชีวิตได้หวนกลับมายังประเทศไทยอีกครั้งในตำแหน่งผู้อำนวยการมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) คนแรก ในสมัยเดียวกับที่ นายภูมิธรรม เวชชยชัย เป็นรองผู้อำนวยการ และใช้เวลาในมอส.เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีส่วนร่วมทำงานกับชุมชนและชนบทเป็นเวลากว่า 10 ปี

 


- ปี 2523 จอน อึ๊งภากรณ์ ได้ก่อตั้งโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม (ภายหลังจัดตั้งเป็นมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม) เพื่อสร้างบัณฑิตอาสาสมัคร ให้ช่วยเหลือคนยากจนในชนบท และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งขึ้นใหม่ ให้มีการบริหารจัดการที่ดี และช่วยเหลือด้านเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ และมีส่วนในการประสานภาคประชาสังคมเข้าด้วยกัน

 

- ปี 2534 ก่อตั้งมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ริเริ่มการให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และครอบครัวของผู้ป่วย เพื่อต่อสู้เรื่องปัญหาการรังเกียจและเข้าใจผู้ป่วยเหล่านี้ผิด และพยายามให้ความรู้ในเรื่องสิทธิผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

 


- กระทั่งมีความพยายามที่จะละเมิดสิทธิ์ผู้ติดเชื้อด้วยการกักบริเวณ ทำให้จอนและเอ็นจีโอจำนวนมากประท้วงแนวคิดดังกล่าว และยกเรื่องเอดส์กับปัญหาสิทธิมนุษยชน เป็นจุดยืนในการทำงานเรื่อยมา และต่อมาเขาได้ร่วมก่อตั้งและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ในปี 2534-2543

 

- ปี 2543 จอน อึ๊งภากรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร, เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา และเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการหลักประกันทางสังคม ของวุฒิสภา


- ปี 2547 เขาและกลุ่มเพื่อนได้ร่วมกันก่อตั้งหนังสือพิมพ์ออนไลน์ "ประชาไท" และยังร่วมก่อตั้งองค์กรภาคประชาสังคมอีกหลายองค์กรด้วยเช่น ไอลอว์ (iLaw) หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ในปี 2552

 

- ความคิดเรื่องการทำหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นนานแล้ว ถ้าถามว่ามีเหตุการณ์อะไรที่เป็นแรงผลักดันให้สนใจที่จะทำสื่อ เป็นเหตุการณ์ชัดๆคงไม่มี แต่เป็นความรู้สึกจากสถานการณ์ภาพรวมว่าสื่อมวลชนบ้านเราไม่เป็นอิสระ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ บรรยากาศของสื่อมันกลับไปคล้ายยุคเผด็จการทหาร

 

- ปี 2548 จอนได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี 2548

- ปี 2550 จอนเคยเข้าร่วมเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการออกกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งขึ้นมาจากคณะรัฐประหาร คมช. เพราะเห็นว่าการเร่งรีบเกินกว่าเหตุและกฎหมายหลายฉบับที่ได้มีความพยายามผลักดันในเวลานั้นเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

 

- ซึ่งในความเป็นจริงแล้วควรเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณากฎหมายต่างๆ และทำให้เขาถูกดำเนินคดีตามมาร่วมกับบุคคลอื่น ๆ ที่รู้จักกันว่าคือ “คดีปีนสภา

 

 


ภาพและข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก "iLaw" และ "wikipedia"