4 สิงหาคม 2567 ข่าวเศร้างวงการทีวีและผู้ที่ร่วมส่งกำลังใจ กับกรณีการเสียชีวิตลงอย่างไม่คาดฝันของ ดร.มนัส ตั้งสุข หรือ "อั๋น" พิธีกรและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ดีเด่นแห่งปี หลังจากที่เกิดดอาการวูบและล้มศีรษะฟาดพื้น หัวแตก ถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉิน แพทย์ตรวจพบว่า มีเลือดคั่งในสมอง สมองบวม เนื่องจากตอนล้มฟาด ศรีษะส่วนก้านสมอง ได้รับความกระทบกระเทือนหนัก
สำหรับเหตุสำคัญของการสูญเสียในครั้งนี้ ทางเพจเฟซบุ๊ก "ดาราภาพยนตร์" ระบุว่า สาเหตุจาก "ความดันโลหิตสูง"
"เนชั่นทีวี" จะพาไปทำความรู้จัก "โรคความดันโลหิตสูง" โรคร้ายที่ถือเป็นภัยเงียบ พรากชีวิตผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ชื่อดัง รวมถึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ที่ทุกคนมีโอกาสเกิดโรคนี้ขึ้นได้ หากละเลย ไม่ใส่ใจการดูแลสุขภาพ โรคนี้จะมีความน่ากลัวอย่างไรมาดูกัน
สำหรับ "โรคความดันโลหิตสูง" จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญมาก โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติ เรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2542 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ทั้งนี้ เพจหมอพร้อม เคยออกมาเตือน และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ 👨⚕️👩⚕️ “รู้เท่าทันภัยเงียบ โรคความดันโลหิตสูง” เนื่องใน "วันความดันโลหิตสูงโลก" นั่นเอง 🌡
ขณะที่โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ชี้‼️ โรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่พบได้มากที่สุด และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลก เสียชีวิตก่อนวัยอันควร👧🏿🧑👵👴
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคที่สำคัญมาก โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2542 ว่า
ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่รักษาให้ถูกต้อง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดในสมองแตก โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคไตวาย หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยปัจจุบันสำรวจพบว่า คนไทยประมาณร้อยละ 20 เป็นโรคความดันโลหิตสูง คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูง มักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจาก ไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้ว จึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างชัดเจน เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้
จากการที่ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นและลงได้ เช่นนี้ ทำให้การวินิจฉัยโรคด้วยตัวผู้ป่วยเองอาจทำได้ลำบาก ผู้ป่วยจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือไม่
ระดับความรุนแรง
การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนั่งพัก วัดด้วยเทคนิคที่ถูกต้องและควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ
อาการของผู้ป่วย
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ
ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีด้วยกันคือ
จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจวายถึงร้อยละ 60-75 เสียชีวิตจากหลอดเลือดในสมองอุดตันหรือแตกร้อยละ 20-30 และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรังร้อยละ 5-10
ภาวะแทรกซ้อน
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากร
โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ในกลุ่มประชากรอายุ 30-79 ปี มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1,300 พันล้านคน และมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้นแต่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ และยังพบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยในปี 2562-2563 พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง 13 ล้านคน และในจำนวนนี้มีมากถึง 7 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานและไม่ได้รับการดูแลรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้น อาจแสดงอาการต่างๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีความดันโลหิตสูง
ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท
ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท
ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท
การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ
โดยใช้หลัก 3อ. 2ส. คือ
ขอขอบคุณที่มา: กรมควบคุมโรค
อีกหนึ่งข้อแนะนำที่มาคณะแพทย์ โรงพยาบาลศิครินทร์ ได้เผยแพร่บทความดีๆ ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบต่อหลอดเลือดและหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจของเรา ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจะเป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้
อาการความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้
หากปล่อยไว้นาน ไม่รักษา! อาจส่งผลเสียต่อร่างกายดังนี้
เราสามารถเช็กว่า เป็นความดันโลหิตสูงได้หรือไม่ ด้วยวิธีการวัดความดันโลหิต หากมีค่าความดันซิสโตลี (ค่าความดันตัวบน) มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) หรือ ค่าความดันไดแอสโตลี (ค่าความดันตัวล่าง) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) โดยวัดในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะพัก นั่นหมายถึงคุณกำลังมีอาการของโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง เพชฌฆาตเงียบทำลายหัวใจ
1. โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะแรงกดดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ (140/90 มิลลิเมตรปรอท)
2. ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ ดังนั้นถ้าป้องกันความดันโลหิตสูง ก็สามารถป้องกันอันตรายจากโรคหัวใจได้
3. ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจได้สั้นลง เลือดกำเดาไหล
4. นอกจากโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น หากเป็นโรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคอ้วน ก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน
5. สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการ ลดกินเกลือ (โซเดียม) เพิ่มการรับประทานผักผลไม้(รสหวานน้อย) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลง งดสูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
ระดับความดันโลหิตปกติควรอยู่ที่เท่าไร?
ความดันโลหิตที่ “เหมาะสม” ของคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป
อยู่ที่ 120-129 มม.ปรอท สำหรับตัวบน และ 80-84 มม.ปรอท สำหรับตัวล่าง
วิธีการวัดความดันด้วยตนเองที่บ้าน
ค่าบนเครื่องวัดความดัน หมายถึงอะไร?
1. Systolic blood pressure (SBP) ตัวบน คือ ความดันของเลือดสูงสุดขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว
2. Diastolic blood pressure (DBP) ตัวล่าง คือ ความดันเลือดที่ต่ำสุดขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว
ความดันโลหิตเกณฑ์ปกติ คือ 120/80 (mm/Hg)
ความดันโลหิตค่อนข้างสูง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 121-139/80-89 (mm/Hg)
ความดันโลหิตสูงมาก คือ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 (mm/Hg) และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 (mm/Hg)
ความดันโลหิตระดับอันตราย 160/100 (mm/Hg)
**ความดันโลหิตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนเช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรืออัมพาต อัมพฤกษ์
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา การรักษาความดันโลหิตถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดตามมา
โดยหากทราบว่า ตนเองเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความดันโลหิตสูง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
ขอขอบคุณที่มา รพ.ศิครินทร์