svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

26 เม.ย. นี้ เกิดปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ" ครั้งแรกของปี 67

22 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย 26 เม.ย. นี้ คนกรุงเตรียมไร้เงา เกิดปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ" ครั้งแรกของปี 2567 ชี้ อาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

22 เมษายน 2567 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า 26 เม.ย.นี้ ชาวกรุงเตรียมไร้เงา "ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ" ครั้งแรกของปี 67

ดวงอาทิตย์จะโคจรจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกของปี เวลาประมาณ 12:16 น. ในเวลาดังกล่าว หากสังเกตวัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี และอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย เริ่มจากพื้นที่ภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา จากนั้นไล่ลำดับขึ้นเหนือมาเรื่อยๆ ก่อนจะสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567  

26 เม.ย. นี้ เกิดปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ" ครั้งแรกของปี 67
สำหรับ กรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเหนือศีรษะพอดีในวันที่ 26 เมษายน 2567 เวลาประมาณ 12:16 น. ขณะดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกหากสังเกตวัตถุกลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาของวัตถุจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดีไม่มีเงาทอดออกมา ทั้งนี้ วันดังกล่าวจะเป็นวันที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสม ฯลฯ จึงอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุดของปี   

26 เม.ย. นี้ เกิดปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ" ครั้งแรกของปี 67
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ระหว่างแนวละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่บริเวณต่างๆ ของไทย 2 ครั้ง/ปี คือช่วงเมษายน-พฤษภาคม และกรกฎาคม-กันยายน โดยมีคาบการโคจรพาดผ่านแตกต่างกันไป แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจึงเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะไม่พร้อมกัน

สำหรับดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งต่อไป จะตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลาประมาณ 12:22 น. 

ดูข้อมูลการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทยเพิ่มเติมได้ที่ NARIT

ขอบคุณข้อมูลจาก :
เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพ :
shutterstock

 

logoline