svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"แคดเมียม" ธาตุอันตราย สะสมในร่างกายมาก ๆ เป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต

04 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ล้อเล่นด้วยไม่ได้ "แคดเมียม" ธาตุมีพิษที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ ส่งผลให้เกิดเป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต "Nation STORY" พาไปทำความรู้จักธาตุสุดอันตรายชนิดนี้ อันตรายแค่ไหน ถึงขนาดต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติในจุดที่พบ เข้าสู่ร่างกายแล้วส่งผลอย่างไร

เป็นข่าวที่สร้างความตื่นตระหนก ให้กับผู้ประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง กรณีการพบกากแร่ "แคดเมียม" ซึ่งเป็นธาตุอันตราย ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากกากแร่ดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็ง ประมาณ 15,000 ตัน ภายในโกดังบริษัทแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร โดยกากแร่แคดเมียมดังกล่าว ถูกนำมาจากจังหวัดตาก

กรณีดังกล่าว ทำให้ นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เตรียมที่จะออกคำสั่งประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ โดยห้ามบุคคลหรือสิ่งอื่นใด เข้าไปภายตัวอาคาร รวมถึงห้ามมีการหล่อหลอมแคดเมียมโดยเด็ดขาด และให้ทางอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ออกคำสั่งขนย้ายกากแร่แคดเมียมทั้งหมด ออกจากจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อส่งกลับไปยังบริษัทต้นทางที่จังหวัดตาก ภายใน 7 วันนับจากนี้ พร้อมสั่งตรวจสอบการขนย้ายกากแร่แคดเมียมเข้ามาอยู่ที่โรงงานในจังหวัดสมุทรสาครได้อย่างไร 
\"แคดเมียม\" ธาตุอันตราย สะสมในร่างกายมาก ๆ เป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต

Nation STORY จะพาไปรู้จักความอันตรายของ "แคดเมียม" ว่า มีความอันตรายขนาดไหน ถึงขนาดต้องมีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ธาตุชนิดนี้สามารถแพร่เข้าสู่ร่างกาย ผู้คนในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงได้อย่างไรบ้าง และมีความอันตรายอย่างไร....
\"แคดเมียม\" ธาตุอันตราย สะสมในร่างกายมาก ๆ เป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต
 

"แคคเมียม" คืออะไร อันตรายแค่ไหน? 

คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล อธิบายว่า "แคคเมียม" จะพบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ดังนั้นในการทำเหมืองสังกะสี จะได้แคดเมียมเป็นผลตามมาด้วย แคดเมียมจะพบได้ในอาหาร ในน้ำ ในเหมือง และในส่วนน้ำทิ้ง หรือน้ำเสีย หรือกลุ่มผู้สูบบุหรี่

นอกจากนี้ทั่วๆ ไป พบแคดเมียมใช้ผสมในสีที่ผสมที่ใช้กับบ้านหรืออาคาร ความร้อนที่ 321 องศาเซลเซียส จะเกิดเป็นควัน ทำให้มีการกระจายไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ เมื่อร่างกายสูดดมสารแคดเมียม จะเก็บสะสมไว้ในตับ และส่วนของหมวกไต (renal cortex) สารแคดเมียมมี half life ในร่างกายมนุษย์ถึง 30 ปี

นอกจากนี้จะพบสารแคดเมียมได้ในปอด และมีความเสี่ยงเกิดอันตรายส่วนของไต ทำให้หน้าที่การกรองของไต (GFR) ลดลง แคดเมียมอาจได้รับโดยการกินอาหารทะเล ที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม นอกจากนี้จะได้รับควันของสารดังกล่าวจากการสูดดมในเหมือง หรือสิ่งแวดล้อม ในประเทศญี่ปุ่น โดยมีโรงงานปล่อยสารแคดเมียม มากับน้ำเสียของโรงงาน และปล่อยลงในโรงข้าว ทำให้เกิดการปนเปื้อนของแคดเมียมในเมล็ดข้าว และอาหาร
\"แคดเมียม\" ธาตุอันตราย สะสมในร่างกายมาก ๆ เป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต
 

โดยพบว่า ผู้ป่วยมากกว่าพันคน เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างทรมาน โดยบริเวณ แขน ขา สะโพก และบริเวณฟัน จะพบมีวงแหวนสีเหลืองติดกับเหงือก เรียกว่า วงแหวนแคดเมียม และจะมีอาการปวดร้าวสะสมนานถึง 20-30 ปี และเมื่อร่างกายเดินไม่ไหว ก็จะเกิดการกดกระดูกสันหลัง เรียกว่าโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease) (ชื่อโรคคุ้น ๆ เหมือนได้ยินมาจากที่ไหน?)

อาการที่ได้รับสารแคดเมียมจากการกิน จะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ปวดท้อง และปอด โดยไตและตับจะถูกทำลาย ถ้าหากหายใจควันเข้าไปในปอด ก็จะมีอาการเจ็บคอ หายใจสั่น มีเสมหะเป็นเลือด น้ำหนักลด โลหิตจาง การหายใจจะลำบากมากขึ้น สุดท้ายก็จะไตวาย
\"แคดเมียม\" ธาตุอันตราย สะสมในร่างกายมาก ๆ เป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต

การแพร่ของ "แคดเมียม" เข้าสู่ร่างกายมนุษย์

แคดเมียม เป็นโลหะหนักที่ส่วนใหญ่จะพบปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามบริเวณที่มีการทำเหมืองแร่ โรงงานถลุงแร่ การผลิตปุ๋ย และแหล่งที่ทิ้งขยะ จากแบตเตอรี่ และเครื่องไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคต่างๆ แคดเมียมอาจแพร่กระจายในรูปแบบของฝุ่น ไอระเหย หรือละลายอยู่ในน้ำกระจายไปตามแหล่งน้ำต่างๆ ถูกดูดซับเข้าไปในพืชและสัตว์น้ำ คนได้รับแคดเมียมได้หลายทาง ทั้งจากทางอาหารจำพวกสัตว์น้ำ เครื่องในสัตว์ พืชผลทางการเกษตรและผักต่างๆ โดยเฉพาะแคดเมียมที่สะสมอยู่ในใบยาสูบ เป็นผลให้การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่นำแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์

แคดเมียมที่เข้าสู่ร่างกายทั้งโดยผ่านทางระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร จะเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตจับกับโปรตีน albumin ถูกส่งไปที่ตับ ทำให้มีอาการอักเสบที่ตับ บางส่วนของแคดเมียมจะจับตัวกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่ง (metallothionein) เข้าไปสะสมในตับและไต และถูกขับออกทางปัสสาวะ ขบวนการขับแคดเมียมออกจากไตเกิดขึ้นช้ามากใช้เวลาถึงประมาณ 20 ปี ถึงสามารถขับแคดเมียมออกได้ครึ่งหนึ่งของแคดเมียมที่มีการสะสมอยู่ในไตออกได้ ทำให้มีอาการกรวยไตอักเสบ

ผู้ที่ได้รับแคดเมียมเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่างๆ เช่นมะเร็งปอด ไต ต่อมลูกหมาก และตับอ่อน มีรายงานผู้ป่วยที่กินข้าวที่เพาะปลูกจากแหล่งที่ดินมีการปนเปื้อนแคดเมียม จะมีอาการของโรคกระดูกพรุน และกระดูกมีการเจริญที่ผิดปกติ
\"แคดเมียม\" ธาตุอันตราย สะสมในร่างกายมาก ๆ เป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต

ผลกระทบที่เข้าสู่ร่างกาย

เมื่อมีการสะสม "แคดเมียม" ในระยะยาว จะมีผลกระทบต่อร่างกายดังนี้

1. หากมีการสะสมมากเกินไปในร่างกายจะทำให้คน หรือสัตว์ที่ได้รับสารแคดเมียม มีโอกาสเป็นหมันได้
2. แคดเมียมยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและต่อมลูกหมาก
3. เมื่อแคดเมียมได้เข้าสู่ร่างกายอาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
4. การสูดดมแคดเมียมและไปสะสมในร่างกายจะทำให้เกิดการเจ็บปวดที่กระดูก และทำให้เกิดกระดูกผุ ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นโรคอิไตอิไต
5. แคดเมียมสามารถสะสมได้ในร่างกายโดยเฉพาะที่ไต อีกทั้งยังทำลายระบบประสาท เช่น ระบบประสาทการดมกลิ่น และเลือดจาง 

การรับสาร "แคดเมียม" ในระยะสั้นนั้นจะมีอาการดังต่อไปนี้

1. การจับไข้
2. มีอาการหนาวๆร้อนๆ
3. ปวดศีรษะ
4. อาเจียน

ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้นาน 20 ชั่วโมง ก็จะเกิดอาการแน่นหน้าอก ไอรุนแรง และน้ำลายฟูมปากตามมา ซึ่งผู้ที่มีโอกาสได้รับสารส่วนใหญ่ จะเป็นคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ มอเตอรไซด์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการเชื่อมเหล็ก ที่มีแคดเมียมเป็นองค์ประกอบ 
\"แคดเมียม\" ธาตุอันตราย สะสมในร่างกายมาก ๆ เป็นโรคอิไตอิไต และถึงแก่ชีวิต

logoline