"ให้มันจบที่หนูเถอะนะคะการฝึกแบบนี้ เราฝึกเพื่อความแข็งแรง ไม่ใช่ฝึกให้กลายเป็นคนป่วย" ข้อความจาก "ส.ต.ต.หญิง" ตำรวจสังกัด ฝอ.4 บก.อก.บช.น. โพสต์บอกลา เผยสาเหตุอนาคตดับสลาย ตลอดระยะเวลาการเป็นตำรวจ 1 ปี ได้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นคนป่วยจิตเวช เป็นโรคซึมเศร้าจากการฝึก โดนครูฝึกทำโทษ พูดทำร้ายจิตใจทุกวัน ต้องเวรยืนเวรทุกคืนไม่ได้นอน ไม่เคยได้พักรักษาอาการบาดเจ็บจากการฝึกตามที่หมอสั่ง
อย่างไรก็ตาม ตำรวจหญิงรายนี้ ถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลตำรวจเรียบร้อยแล้ว และมีคุณแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
ตำรวจเป็นอาชีพที่ได้รับแรงกดดันสูงในหลายๆ ด้าน ต้องให้บริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ถูกตั้งความหวังจากสังคมว่าต้องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกที่ดี ทำให้ต้องรับแรงกดดันหลายด้าน จนทำให้เกิดภาวะเครียด และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ง่าย
ข้อมูลจากสำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแต่งชาติ ได้เก็บสถิติตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มีนาคม 2567) พบว่ามีตำรวจกระทำอัตวินิบาตกรรม 168 นาย ดังนี้
แบ่งตามสาเหตุหลัก ตั้งแต่ 2562-2567 ดังนี้
แบ่งตามระดับชั้น ดังนี้
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานกำลังพล จะมีการเก็บรวบรวมสถิติทุกสิ้นเดือนนั้นๆ อาจทำให้ข้อมูลปัจจุบันคลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย ซึ่งจากการสืบค้นข่าวเฉพาะเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา พบว่ามีตำรวจฆ่าตัวตาย 3 นาย ได้แก่
รักษาราชการแทน ผบ.ตร. รุดเยี่ยม "ส.ต.ท." หญิง
ด้าน พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฎิบัติหน้าที่ พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจจำนวน 5 นาย โดยมี พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่ (สบ 8) พล.ต.ท.ไพบูลย์ เจียมอนุกูลกิจ นายแพทย์ (สบ 8)โรงพยาบาลตำรวจ พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล ศรีสง่า โฆษกโรงพยาบาลตำรวจ พร้อมทีมแพทย์พยาบาล ให้การต้อนรับ
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ กล่าวขอบคุณ ทีมแพทย์ พยาบาล ของโรงพยาบาลตำรวจ ที่ไม่เคยทอดทิ้งข้าราชการตำรวจ ที่เจ็บป่วย และได้รับบาดเจ็บ ให้การดูแลรักษาเป็นอย่างดี ขอส่งกำลังใจให้ข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บรักษาตัวอยู่ทั่วประเทศ ให้หายจากอาการบาดเจ็บโดยเร็ว กลับมาปฎิบัติหน้าที่ข้าราชการตำรวจที่ดีให้กับประชาชน
รพ.ตำรวจ เผย สถิติปี 2566 ตำรวจมีภาวะซึมเศร้ารุนแรง 301 นาย
พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่ (สบ 8) กล่าวว่า ที่ผ่านมาโรงพยาบาลตำรวจให้ทีมแพทย์ พยาบาลดูแลเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฎิบัติหน้าที่ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เจ็บป่วยอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เจ็บป่วย ด้วยภาวะซึมเศร้า โรงพยาบาลตำรวจ มีเพจ "Depress We Care "ซึมเศร้าเราใส่ใจ และเพจ "Because We Care" ซึ่งทีมแพทย์ พยาบาล ทีมจิตแพทย์ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด พร้อมสหวิชาชีพ จะให้คำปรึกษาดูแลอย่างใกล้ชิด
จากสถิติการตรวจสุขภาพจิตประจำปีของข้าราชการตำรวจ ปีงบประมาณ 2565-2566 สำรวจ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า
ทั้งนี้ หากโรงพยาบาลตำรวจพบข้าราชการตำรวจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ จะโทรศัพท์พูดคุยให้คำปรึกษา รวมถึงติดตามอาการ และส่งต่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยในปีงบประมาณ 2566 มีการให้คำปรึกษาจำนวน 1,366 คน เหลือติดตามต่อเนื่อง 219 คน
อีกทัั้งได้จัดทำคู่มือการดูแลสุขภาวะทางจิตใจของข้าราชการตำรวจ รวมไปถึงอบรมโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจ และครอบครัว และอบรม "โครงการครูแม่ไก่" (จิตแพทย์น้อย) โดยอบรมเชิงบรรยายและเชิงปฏิบัติการแก่ข้าราชการตำรวจ ในการดูแลรักษาสุขภาพจิต ไม่ให้เกิดภาวะเครียดหรือซึมเศร้า และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ตรวจประเมินสุขภาพจิตให้กับข้าราชการตำรวจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีโครงการปรับปรุงห้องตรวจจิตเวชและยาเสพติด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทีมแพทย์และผู้ป่วยด้วย
หากข้าราชการตำรวจหรือครอบครัวรวมไปถึงประชาชนประสบภาวะเครียดหรือซึมเศร้าหรือ สามารถติดต่อ โรงพยาบาลตำรวจได้หลายช่องทาง ผ่านทางเพจ "Depress We Care” และเพจ “Because We Care“ อีกทั้งสายด่วน 081-932-0000 ที่พร้อมจะให้คำปรึกษา รวมถึงการป้องกันและรักษาในเบื้องต้นตลอด 24 ชั่วโมง