svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อุตุฯ เตือน 24 จังหวัด รวมถึง กทม.- ปริมณฑล รับมือ "พายุฤดูร้อน" พัดถล่ม

26 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับ 8 แจ้งเตือน 24 จังหวัดทั่วไทย รวมถึง กทม.และปริมณฑล รับมือ "พายุฤดูร้อน" พัดถล่ม ทั้ง "ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง"

26 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา โดย นางสาวกรรวี  สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 8 (43/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567) ระบุว่า  

บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน 
 

ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ 


จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหาย ที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
อุตุฯ เตือน 24 จังหวัด รวมถึง กทม.- ปริมณฑล รับมือ \"พายุฤดูร้อน\" พัดถล่ม
 

โดยจะมีผลกระทบดังนี้

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย และชัยภูมิ
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.
อุตุฯ เตือน 24 จังหวัด รวมถึง กทม.- ปริมณฑล รับมือ \"พายุฤดูร้อน\" พัดถล่ม
 

อากาศ 7 วัน ข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม พ.ศ. 2567 คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.พ. 67 และ 1 - 2 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.พ. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหล้วในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

ในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. 67 ลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. – 2 มี.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดช่วง 

โดยในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.พ. 67 และ 1- 2 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในระยะแรก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหาย ที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
อุตุฯ เตือน 24 จังหวัด รวมถึง กทม.- ปริมณฑล รับมือ \"พายุฤดูร้อน\" พัดถล่ม  

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ 

ภาคเหนือ

  • อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
  • โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • อุณหภูมิต่ำสุด 13-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. 


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย และชัยภูมิ
  • อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 


ภาคกลาง

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 


ภาคตะวันออก

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ 
  • กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร   


ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15–30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 


ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 


กรุงเทพและปริมณฑล

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

อุตุฯ เตือน 24 จังหวัด รวมถึง กทม.- ปริมณฑล รับมือ \"พายุฤดูร้อน\" พัดถล่ม

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 26 กุมภาพันธ์ 2567

logoline