svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สถาบันวัคซีนฯ ชี้แจงแท่งย้วยสีขาว (white clot) ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด mRNA

สถาบันวัคซีนแห่งชาติยืนยันการพบ "แท่งย้วยสีขาว (white clot)" ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด mRNA หลังมีดรามาจนสังคมเกิดความสับสน พร้อมอธิบายข้อมูลที่แท้จริง ขอประชาชนเลือกรับข่าวสาร จากแหล่งข้อมูลวิชาการที่น่าเชื่อถือ

เป็นดรามาที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างมาก กรณีที่มีการนำเสนอข้อมูลว่า มีการพบ "แท่งย้วยสีขาว (white clot)" คล้ายหนวดปลาหมึก ที่ไม่เคยพบมาก่อน ตามหลอดเลือด ในผู้ที่ได้รับ "วัคซีนโควิด mRNA" ทั้งในผู้ที่เสียชีวิตและยังไม่เสียชีวิต จนทำให้ผู้คนในสังคมพากันตื่นตระหนกว่า "เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่" 
สถาบันวัคซีนฯ ชี้แจงแท่งย้วยสีขาว (white clot) ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด mRNA

ทำให้ข่าวผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จึงกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง เนื่องจากมีผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากแพทย์ และหน่วยงานทางการแพทย์ ออกมาให้ข้อมูลโต้แย้งกันในเรื่องนี้ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม และเกิดความสับสนอย่างมาก

เนื่องจากแม้จะไม่มีผลวิจัยว่า สิ่งที่นำมาเปิดเผย เป็นความจริงหรือไม่ แต่กระแสความหวาดกลัวต่อ "วัคซีนโควิด mRNA" ในสังคมก็ได้เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมาก ยังคงตั้งคำถามถึงความปลอดภัย ของวัคซีนโควิด ที่มีการนำมาฉีดให้กับประชาชน เนื่องจากมีผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่มีสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป หลังได้รับวัคซีนดังกล่าว
 

ล่าสุด สถาบันวัคซีนแห่งชาติ National Vaccine Institute ได้ออกเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA โดยระบุว่า 

จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 และระบุว่าสามารถพบสิ่งแปลกปลอมนี้ ได้ใน ผู้ที่ยังมีชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในวงกว้าง สถาบันวัคซีนแห่งชาติและภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญไม่ได้นิ่งนอนใจกับประเด็นกังวลดังกล่าว จึงได้ประสานไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อมูลดังนี้

รูปสิ่งแปลกปลอมที่อ้างถึงไม่ใช่ความผิดปกติของเลือดที่เกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA แต่อย่างใด เป็นเพียงการตกตะกอนของโปรตีนส่วนประกอบของเลือดที่เกิดขึ้นภายหลังการตาย (ลิ่มเลือดภายหลังการตาย, postmortem blood clot) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ตามธรรมชาติที่พบได้เป็นปกติในผู้เสียชีวิต และพบมาตั้งแต่ก่อนมีการระบาดหรือมีการใช้วัคซีนโควิด 19 
สถาบันวัคซีนฯ ชี้แจงแท่งย้วยสีขาว (white clot) ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด mRNA
สถาบันวัคซีนฯ ชี้แจงแท่งย้วยสีขาว (white clot) ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด mRNA
สถาบันวัคซีนฯ ชี้แจงแท่งย้วยสีขาว (white clot) ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด mRNA
 

โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก เมื่อมีการเสียชีวิต ระบบหมุนเวียนของเลือด รวมทั้งระบบอื่น ๆ ในร่างกายจะหยุดทำงาน จากนั้นเม็ดเลือดแดง จะมีการตกตะกอนตามแรงโน้มถ่วงของโลกไป ก่อนแยกออกมาจากน้ำเลือด (Plasma) ซึ่งในน้ำเลือดยังมีโปรตีน ที่ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด (Fibrinogen) คงเหลืออยู่และเกิดการแข็งตัวขึ้นตามธรรมชาติ เป็นโปรตีนเส้นใย (Fibrin clot) ทำให้เกิดเป็นลิ่มโปรตีนสีขาวลักษณะดังกล่าว

สำหรับข้อมูลที่ระบุว่า สามารถพบ White clot นี้ในเลือดของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยนั้น สามารถอธิบายด้วยหลักการทางโลหิตวิทยา เรื่องกระบวนการแข็งตัวของเลือด ได้เช่นกัน โดยสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อมีการเจาะเลือดออกมานอกร่างกาย หากไม่มีการเติมสารกันเลือดแข็ง (Anticoagulants) และตั้งทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เลือดจะมีการแข็งตัวแยกชั้นออกมา เป็นชั้นลิ่มเลือด (Thrombus หรือ Clot blood) และชั้นน้ำเหลือง (Serum) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ 

อย่างไรก็ตาม หากนำเลือดที่ไม่ได้เติมสารกันเลือดแข็ง มาปั่นแยกด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอนความเร็วสูง (Centifuge) แยกส่วนประกอบของเลือด ในขณะที่การแข็งตัวของเลือดยังเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ (Partial clot) จะสามารถพบโปรตีนเส้นใย ที่ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด (Fibrin clot) ที่มีความคล้ายกับ Whiteclot ข้างต้นได้ เป็นเหตุการณ์ที่พบเป็นปกติ ปรากฎการณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด

ทั้งนี้ ทั่วโลกมีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วกว่า 13,000 ล้านโดส และมีการติดตามและเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์อย่างเป็นระบบในแต่ละประเทศ? ปัจจุบันหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก ยังคงแนะนำให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด 19

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ขอให้ประชาชนเลือกรับข่าวสาร จากแหล่งข้อมูลวิชาการที่เป็นทางการ และมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีช่องทางในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล ที่มีการเผยแพร่ทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand)3 ชัวร์ก่อนแชร์" และ FactCheck Explorer' เป็นต้น ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านช่องทางเหล่านี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
21 กุมภาพันธ์ 2567

เอกสารอ้างอิง
1. A prospective randomised clinical study on evaluation of platelet-rich fibrin versus zinc
oxide eugenol in the management of alveolar osteitis - Scientific Figure on ResearchGate.
Available from: https://www.researchgate.net/fgure/A-Different-layers-of-centrifuged-
blood-B-Platelet-Rich-Fibrin-PRF fig2 319411472 [accessed 21 Feb, 2024]
2. https://www.who.int/thailand/th/news/detail/06-02-2567-update-on-covid-19-in-thailand-
-7-february-2024
3. https://www.antifakenewscenter.com/
4.https://www.facebook.com/SureAndShare/?locale=th TH
5.https://toolbox.google.com/factcheck/explorer/search/Richard%20Hirschman;hleen